-
ชื่อเรื่องภาษาไทยความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Satisfaction of Clients to Wards Phawo Subdistrict Administrative Organization, Mae Sot District, Tak Province in Fiscal Year 2023
- ผู้วิจัยนางสาวภาวิดา เถ้าปาลี
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุกัญญาณัฐ อบสิณ
- ที่ปรึกษา 2รศ.สยาม ดำปรีดา
- วันสำเร็จการศึกษา14/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50850
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 27
บทคัดย่อภาษาไทย
ในการศึกษาการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2) ศึกษารูปแบบการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ในตำบลตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 9 หมู่บ้าน จำนวน 7,335 คน โดยผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ จากสูตรคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสัมภาษณ์ เพื่อนำไปใช้สัมภาษณ์สำหรับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา 2) ผู้นำท้องที่ 3) ผู้นำท้องถิ่น 4) ประชาชน 5) เยาวชน รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยภาพรวมระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.56, S.D. = 0.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านช่องทางการให้บริการ (x̅ = 4.58, S.D. = 0.61) รองลงมาคือ ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ (x̅= 4.56, S.D. = 0.56) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (x̅= 4.56, S.D. = 0.46) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (x̅ =4.55, S.D. = 0.59) ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ
2. ความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยภาพรวมระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.57, S.D. = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปิยวาจา คือ พูดจาไพเราะอ่อนหวาน (x̅= 4.59, S.D. = 0.51) รองลงมาคือ สมานัตตตา คือ มีความสม่ำเสมอ ประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย (x̅= 4.58, S.D. = 0.69) อัตถจริยา คือ ช่วยเหลือ ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ (x̅= 4.57, S.D. = 0.69) และทาน คือ การให้ (x̅= 4.54, S.D. = 0.68) ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ
3. แนวทางในการพัฒนาการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พบว่า 1) ด้านทาน : การให้ มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการแก่ผู้มารับบริการอันได้แก่ น้ำดื่ม เก้าอี้พักคอย ห้องน้ำที่สะอาดและสถานที่จอดรถเพียงพอต่อการให้บริการ เจ้าหน้าที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ ให้บริการด้วยความเต็มใจ รวดเร็ว เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละและดูแลเอาใจใส่แก่ผู้มารับบริการ 2) ด้านปิยวาจา : พูดจาไพเราะอ่อนหวาน การให้บริการกับประชาชนทำหน้าที่ตอบคำถามและให้คำแนะนำด้วยถ้อยคำที่สุภาพ นุ่มนวล อบอุ่นและเป็นกันเอง รู้จักการใช้ศิลปะหรือวาทศิลป์ในการพูดคุย คอยแนะนำและให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการรับบริการ ทักทายและพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ สุภาพ อ่อนหวาน อ่อนโยนอยู่เสมอ 3) อัตถจริยา : ช่วยเหลือ ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ เจ้าหน้าที่มีจิตสำนึกในการให้บริการแก่ผู้มารับบริการอย่างเต็มความสามารถ รวดเร็วและถูกต้อง การดูแลเอาใจใส่ เสนอตนเองในการช่วยเหลือผู้มารับบริการโดยไม่ต้องร้องขอ และขวนขวายที่จะให้การช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการในการติดต่อ 4) สมานัตตตา : มีความสม่ำเสมอ ประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย เจ้าหน้าที่ประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย สร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนผู้มารับบริการอย่างสม่ำเสมอ แต่งกายที่ถูกกาลเทศะ สุภาพและเหมาะสมกับสถานที่ทำงาน แก้ไขปัญหาและตัดสินด้วยความยุติธรรม ไม่เอนเอียง ปฏิบัติต่อผู้มารับบริการด้วยความเป็นกันเอง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this study were: 1) to study the satisfaction of clients towards Phawo Subdistrict Administrative Organization, Mae Sot District, Tak Province, 2) to study the model for the service according to Sangahavatthu (principles of service) at Phawo Subdistrict Administrative Organization, Mae Sot District, Tak Province, and 3) to study the problems, obstacles, and guidelines for the service development of Phawo Subdistrict Administrative Organization, Mae Sot District, Tak Province. This research applied the Mixed Methods Research consisting of Quantitative Research by collecting the data from 380 people from 7,335 people with the table of Taro Yamane, and Qualitative Research by collecting the data from 15 key informants consisting of 1) the Buddhist experts, 2) the local administration officers, 3) the local leaders, 4) the people, and 5) the youth with the open ended question interviews.
The research results were as follows:
1. Overall, the satisfaction of the clients towards Phawo Subdistrict Administrative Organization, Mae Sot District, Tak Province in the fiscal year 2023 was at the highest level (x̅= 4.56, S.D. = 0.35). When considering each aspect, it found that the service channels was at the highest level (x̅= 4.58, S.D. = 0.61). Then, it was the service process and methods (x̅= 4.56, S.D. = 0.56), the service officers (x̅= 4.56, S.D. = 0.46), and the facilities (x̅ = 4.55, S.D. = 0.59).
2. The satisfaction towards the model for the service according to Sangahavatthu at Phawo Subdistrict Administrative Organization, Mae Sot District, Tak Province in the fiscal year 2023 was at the highest level (x̅= 4.57, S.D. = 0.45). When considering each aspect, it found that the Piyavàcà: kindly speech was at the highest level (x̅= 4.59, S.D. = 0.51). Then, it was the Samànattatà: equality consisting in impartiality, participation and behaving oneself properly in all circumstances (x̅= 4.58, S.D. = 0.69), the Atthacariyà: useful conduct (x̅= 4.57, S.D. = 0.69), and the Dàna: giving (x̅= 4.54, S.D. = 0.68).
3. The guidelines for the service development of Phawo Subdistrict Administrative Organization, Mae Sot District, Tak Province found that 1) the Dàna: giving was that the organization should provide the facilities for the clients such as the drinking water, chairs, the toilets, and car park sufficient to the service, and the officers could help the problem solving correctly, serve with willingness and rapidity, and take care of the clients, 2) the Piyavàcà: kindly speech was that the officers should answer the questions, give the advice politely, give the knowledge useful to the service, and talk beautifully, 3) the Atthacariyà: useful conduct was that the officers should have the consciousness in the service to the clients rapidly and correctly, help the clients in the service, and attempt to the clients in the service, and 4) the Samànattatà: equality was that the officers should behave themselves consistently, always make the good relationship to the clients, dress properly, solve the problems and decide the problems with the justice, and perform to the clients with the informality.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|