-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาจิตตามแนวมรณัสสติ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Mental Development According to Maraṇassati-Sutta
- ผู้วิจัยพระณัฐนันท์ สุทฺธญาโณ (ธรรมรัตนานันท์)
- ที่ปรึกษา 1พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูสิริรัตนบัณฑิต, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา30/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50851
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 32
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของมรณัสสติสูตร 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาจิตในพระไตรปิฎก และ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาจิตตามแนวมรณัสสติสูตร วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา วิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า
โครงสร้างและเนื้อหาของมรณัสสติสูตรมี 3 ประการ 1) สติ มีสติระลึกรู้ว่า เราจะต้องตายอย่างแน่นอน 2) สังเวคะ ความสลดใจในชีวิตที่ผ่านมา 3) ญาณ ระลึกรู้ว่า ตนเองต้องตายแน่ หลักธรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องในมรณัสสติสูตร 4 ประการ คือ (1) อภิณหปัจจเวกขณะสูตร (2) กฎอิทัปปัจจยตา (3) โยนิโสนมสิการ (4) อสุภกรรมฐาน ทั้ง 4 หลักนี้เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือความดับทุกข์
การพัฒนาจิตในพระไตรปิฎก เป็นความดีงามที่เราทุกคนควรหมั่นฝึกฝนอบรมอยู่เสมอ คือถ้ายังประมาทอยู่จิตย่อมเป็นอกุศลธรรม กลับเวียนว่ายในสังสารวัฏ เกิดตายไม่รู้จบ หากแต่ปฏิบัติได้ถึงขั้นอรหันต์แล้วย่อมเป็นผู้ไม่กลับมาเวียนว่ายในสังสารวัฏอีก
การพัฒนาจิตตามแนวมรณัสสติสูตร เป็นการพัฒนาจิต จิตใจที่ตั้งมั่นในการปฏิบัติมรณสติกรรมฐาน เป็นจิตใจที่มีความสงบคลายจากความทุกข์และเข้าใจถึงหลักความจริงของชีวิตกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความตระหนักรู้ว่า ที่เกิดเช่นนั้นก็ล้วนเป็นกฎธรรมดาของชีวิต เราไม่ต้องไปดีใจ เสียใจ เพราะว่านั้น คือความจริงที่แสดงให้เรารับรู้ ทำความเข้าใจและรู้จักรักษาจิตใจไม่ให้เป็นทุกข์กับความแก่ความเจ็บ ความเจ็บและความตาย ที่เกิดขึ้นกับตน ยึดมั่นอยู่ในหลักการปฏิบัติมรณสติ คือ เอาสติน้อมระลึกถึงความตายอันมีแก่ตนและคนอื่น เป็นเครื่องเตือนจิตใจไม่ให้หลงประมาทในการสร้างความดี
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis has three objectives; 1) to study the structure and essence of the Maraṇassati-Sutta, 2) to study the mental development in the Tipiṭaka and 3) to analyze the mental development according to Maraṇassati-Sutta. This research is a content analysis and presentation of descriptive data and it is analyzed. The results of the study found that:
The structures of Maraṇassati-Sutta have three kinds; 1) Sati: mindfulness, be mindful that ‘I am subject to death certainly’, 2) Saṁvega: sense of urgency, sadness in the past life, and 3) Ñāṇa: knowledge, to remind that he will be certainly die. The four principles concerning the Maraṇassati-Sutta are 1) Abhiṇhapaccavek-khaṇa-Sutta: Discourse on things for frequent contemplation, 2) Idappaccayatā: the nature of specific conditionality, 3) Yonisomanasikāra: reasoned attention, and 4) Asubha- kammaṭṭhāna: reflection on impurity. These principles were the way to practice for achieving the goal of the cessation of suffering.
The development of the mind in the Tipiṭaka is a virtue that a person should always practice. If one is still careless, his mind will be unwholesome, and return to the cycle of life, infinity of birth and death. If one practiced until the state of Arahant, one would not be returning to the cycle of life.
The development of the mind according to Maraṇassati-Sutta was the mental development, the mental security for the reflection of death meditation. It was calm, free from suffering, and understanding the truth of life and change. It has realized that what the matter had arisen as the natural law of life, we do not have to rejoice and regret. Because that is the truth we have to realize, understand, and know how to keep our mind from suffering, aging, pain, and death that had arisen with us. So, holding the development of mindfulness of death is being mindful of reflection of death to oneself and others, it is a reminder not to be careless in doing good deeds.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|