-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการตามแนวพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement according to Integrated Buddhist Principles of Mueang Yao Subdistrict Municipality, Hang Chat District, Lampang Province
- ผู้วิจัยพระมงคล มงฺคลปญฺโญ (คำน้อย)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.นพดณ ปัญญาวีรทัต
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ประเสริฐ ปอนถิ่น
- วันสำเร็จการศึกษา11/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50853
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 42
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลเมืองยาว 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลเมืองยาว โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. แนวทางการเสริมสร้างการบริหารจัดการตามหลักพุทธบูรณาการ ของเทศบาลตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปางโดยบูรณาการตามหลักพุทธธรรม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตในเขตเทศบาลตำบลเมืองยาว 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 381 คน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.22, S.D. = .212) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการบริหารจัดการตามแนวพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลเมืองยาว ในการวางแผน (Planning) อยู่ในระดับมาก (x̅= 4.33, S.D. = 0.404) การจัดองค์การ (Organizing) อยู่ในระดับมาก (x̅= 4.27, S.D. = 0.409) การสั่งการ (Commanding) อยู่ในระดับมาก (x̅= 4.25, S.D. = 0.354) การควบคุมงาน (Controlling) อยู่ในระดับมาก (x̅= 4.21, S.D. = 0.485) ส่วนการประสานงาน (Coordinating) อยู่ในระดับมาก (x̅= 4.06, S.D. = 0.485)
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองยาว ที่มีเพศ มีอายุ มีระดับการศึกษา มีอาชีพ และมีรายได้ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับการบริหารจัดการตามแนวพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลเมืองยาว โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางการเสริมสร้างการบริหารจัดการตามหลักพุทธบูรณาการ ของเทศบาลตำบล เมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง พบว่า การบริหารจัดการตามแนวพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลเมืองยาว พบว่าประเด็นที่มีผู้ให้ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือควรจัดไฟฟ้าส่องสว่างตามถนนหนทางให้มากยิ่งขึ้น ถนนเพื่อการเกษตรก็ควรเพิ่ม เทศบาลควรประชาสัมพันธ์เรื่องการก่อสร้างถนน จุดประปาหมูบ้านที่ต้องการเพิ่มเติมตามที่ร้องขอ และในบางครั้งก็ไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมประชาคมกับทางเทศบาล การพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักพละ 4 ได่แก่ ปัญญาพละ (กำลังปัญญา, กำลังความรู้) การมีสติในการแก้ปัญหา รู้เท่าทันเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้กระบวนการจัดการ Planning การวางแผน สอดคล้องกับการรู้กาล มีการวางแผนปฏิบัติงานให้เหมาะสม ด้านวิริยะพละ (กำลังแห่งความเพียร)ในการบริหารจัดเป็นแหล่งความรู้ในหลายระดับเน้นบุคลากรให้เข้ากับปัญหาได้อย่างชัดเจน การบริหารงานของเทศบาล เช่น การรู้งาน รู้ตน รู้งาน จักโครงการกิจกรรมต่างๆ ให้ต่อเนื่องตามความเหมาะสม ด้านอนวัชชพละ (กำลังสุจริต, ซื่อสัตย์สุจริต) ความซื่อสัตย์สุจริตสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์กร ปลุกจิตสำนึกให้มีความสุจริตไม่คิดคดโกงใคร ทั้งนี้ต้องยึดมั่น และประพฤติปฏิบัติดำรงตนอยู่ในหลักพุทธธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ด้านสังคหพละ (กำลังการสงเคราะห์, มีจิตอาสา) คือเน้นมีความเอาใจใส่และความเป็นอยู่ของบุคลากรด้วยความปรารถนาดีและเต็มใจช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เป็นต้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this Research were. 1. study the management level of Mueang Yao Subdistrict Municipality. 2. compare the opinions of the people towards the management of Mueang Yao Subdistrict Municipality. and 3. present guidelines for strengthening management according to integrated Buddhist principles. of Mueang Yao Subdistrict Municipality Hang Chat District, Lampang Province. This research study Conduct Mixed Methods Research. 1) Quantitative research Use a questionnaire to sample opinions of 381 people. and 2) qualitative research Use in-depth interviews with 10 key informants or people. Data were analyzed using descriptive content analysis.
The research findings were as following:
1. Management level of Mueang Yao Subdistrict Municipality Hang Chat District, Lampang Province, found that Overall, it is at a high level ( = 4.22, S.D. = 0.212). When considering each aspect, it was found that The level of management according to integrated Buddhist principles of Mueang Yao Subdistrict Municipality in planning (Planning) is at a high level ( = 4.33, S.D. = 0.040). Organization (Organizing) is at a high level ( = 4.27, S.D. = 0.409) Commanding is at a high level ( = 425, S.D. = 0.354). Controlling work is at a high level ( = 4.21, S.D. = 0.485). As for coordinate (Coordinating) is at a high level ( = 4.06, S.D. = 0.485)
2. Compare people's opinions towards the management of Mueang Yao Subdistrict Municipality. Hang Chat District, Lampang Province. Classified by personal factors, it was found that People in Mueang Yao Subdistrict Municipality have different genders, ages, educational levels, occupations, and incomes. There is an opinion on the level of management according to integrated Buddhist principles of Mueang Yao Subdistrict Municipality. Overall, they are not different. Therefore, the research hypothesis was rejected.
3. Guidelines for strengthening management according to integrated Buddhist principles of Mueang Yao Subdistrict Municipality Hang Chat District, Lampang Province. It was found that the management according to integrated Buddhist principles of Mueang Yao Subdistrict Municipality. It was found that the issues that had the most suggestions were That is, there should be more electric lighting along the roads. Roads for agriculture should be increased. The municipality should publicize road construction. Village water supply points that need additional additions as requested. And sometimes there is no opportunity to attend community meetings with the municipality. Development of management according to the bala 4. Paññābala (intellectual power, knowledge power) Consciousness in solving problems be aware of various events Using the planning management process. Corresponds to knowing the tenses Work operations are planned appropriately. Viriya-bala (Strength of perseverance) In management, it is organized as a source of knowledge at many levels, emphasizing personnel to clearly match the problems. Municipal administration such as knowing your work, knowing yourself, knowing your work, knowing various project activities. Continue as appropriate. Anavajja-bala (being honest, being honest) Honesty and honesty can be applied to work to create efficiency for the organization. Raise awareness to be honest and not think of cheating anyone. This must be adhered to. and conduct oneself in accordance with Buddhist principles, morality, and ethics. Saṅgaha-bala (Helping capacity, volunteer spirit) That is, emphasizing care and well-being of personnel with good will and willingness to help friends, etc.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|