โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๒
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for Personnel Administration according to the 4 Principles of Cakka of Educational Institution Administrators under the office of Pathum Thani Primary Educational Service Area 2
  • ผู้วิจัยนางสาวรัตนาภรณ์ จันภิรมย์
  • ที่ปรึกษา 1พระสุรชัย สุรชโย, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา30/04/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50855
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 28

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 และ3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 313 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 รูป/คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1.สภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเพราะว่าผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับงานบริหารบุคคลของสถานศึกษาในด้านการจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน การวางแผนงานบุคล การประเมินการปฏิบัติงาน และการพัฒนาบุคคล ตามลำดับของการบริหาร

2. วิธีการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการบูรณาการการบริหารงานบุคคล คือ 1) การวางแผนงานบุคล 2) การจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน 3) การพัฒนาบุคคล 4) การประเมินการปฏิบัติงานกับหลักจักร 4 อันเป็นเหมือนวงล้อที่นำชีวิตไปสู่ความเจริญงอกงาม ดุจล้อรถที่หมุนนำรถไปสู่ที่หมาย มี 4 ประการ คือ 1) การอยู่ในท้องถิ่นที่เหมาะสม(ปฏิรูปเทสวาส) สถานที่เหมาะสม การอยู่ในท้องถิ่นที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่การที่รับผิดชอบ 2) การคบสัตบุรุษ (สัปปุริสูปัสสยะ) คุณภาพของบุคคล การคบสัตบุรุษผู้มีความรู้ความสามารถดี 3) การตั้งตนไว้ชอบ (อัตตสัมมาปณิธิ) ความประพฤติของบุคคลต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม การปฏิบัติของบุคคลในทางที่ดี4) ประสบการณ์ของบุคคล (ปุพเพกตปุญญตา) ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ก่อนเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษานำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารบุคคล 

3.แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร4มีแนวทางดังนี้1) การวางแผนงานบุคคล ผู้บริหารควรประชุมวางแผนกำหนดคุณสมบัติของบุคลากร ให้ตรงตามความต้องการของสถานศึกษา คัดเลือกบุคลากรที่มีคุณธรรม มีประสบการณ์ปฏิบัติงานตรง ผู้บริหารควรมีการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายในสถานศึกษากับความสามารถของบุคคล 2) การจัดเข้าปฏิบัติงานผู้บริหารควรมีการกำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจนกับผู้ที่รับคัดเลือกเข้ามามีความรู้ ความสามารถ ความถนัด ตรงตามสายงานในการปฏิบัติหน้าที่ 3) การพัฒนาบุคคล ผู้บริหารควรจัดให้บุคลากรได้เข้าอบรมประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาตนเอง และอบรมคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเสริมจุดแข็ง จุดด้อยของสถานศึกษาเพื่อที่จะนำมาพิจารณาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และ 4) การประเมินการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินงานบุคลากร ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              The objectives of this research are: 1) to study the state of personnel management of administrators, 2) to study methods of personnel administration according to the 4 principles of Cakka, and 3) to propose guidelines for personnel management according to the 4 principles of Cakka for educational institution administrators under the jurisdiction of the Office of Pathum Thani Primary Educational Service Area 2. It is an integrated research method. The quantitative research used questionnaires on a sample of 313 administrators and teachers. The data were analyzed using percentages, means, and standard deviations. The data of qualitative research were collected by interviews with 5 key-informants and analyzed using content analysis.

The results of research were found that:

1. The overall situation of personnel management of educational institution administrators is at a high level of practice because administrators must give importance to the personnel management work of educational institutions in terms of arranging personnel to work, personnel planning, performance evaluation and human development according to the administration order.

2. Methods for personnel management according to the 4 principles of Cakka of educational institution administrators are integration of personnel management, namely 1) personnel planning, 2) arranging personnel to work, 3) personnel development, and      4) evaluating work performance. They are like the wheels that lead life to success and like the wheels of a car turning and leading the car to its destination. There are 4 factors of Cakka: 1) Living in an appropriate locality (Patirupadesavasa), suitable place, residing in an appropriate locality for performing one's responsibilities. 2) Associating with honest people (Sappurisupassaya), quality of a person, associating with righteous people who have good knowledge and abilities. 3) Establishing oneself in the right manner (Atthasammapanidhi), a person's conduct must be based on morality and a good way. 4) A person's experience (Pubbekatapunnata), being a meritorious person has been established beforehand as a guideline for educational institution administrators to apply in personnel management.

3. Guidelines for personnel management according to the 4 principles of Cakka are as follows: 1) In Personnel planning, executives should arrange a meeting to plan and determine personnel qualifications to meet the needs of educational institutions, select personnel with morality and direct work experience, and should analyze the environment within the educational institution and the abilities of individuals. 2) In arranging personnel to work, administrators should clearly specify qualifications for those selected to have knowledge, abilities, and aptitudes that correspond to the line of work. 3) In Personal development, executives should arrange personnel to attend training, meeting, seminars, and exchange knowledge for self-development. and training in morality and ethics to strengthen strengths and weak points of the educational institution in order to take them into consideration for better development, and 4) In performance evaluation, executives should appoint a committee to evaluate personnel work, and operate correctly according to the performance evaluation rules with transparency and fairness.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ