-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์การบริหารขุมทรัพย์ในนิธิกัณฑสูตร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Properties Management in Nidhikaṇḍa-Sutta
- ผู้วิจัยนางอภัสนันท์ จิรสินธัญญรัฐ
- ที่ปรึกษา 1ดร. อธิเทพ ผาทา
- ที่ปรึกษา 2ดร. สุภาพรรณ เพิ่มพูล
- วันสำเร็จการศึกษา30/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50861
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 69
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การบริหารขุมทรัพย์ในนิธิกัณฑสูตร” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาในนิธิกัณฑสูตร 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารขุมทรัพย์ในนิธิกัณฑสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์การบริหารขุมทรัพย์ในนิธิกัณฑสูตร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วสรุป วิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยมี ดังนี้
โครงสร้างและเนื้อหาสาระสำคัญของนิธิกัณฑสูตร เป็นพระสูตรประเภทคาถา ประกอบด้วย 16 คาถา เป็นพระสูตรที่ทรงแสดงธรรมแก่กุฎุมพี ในเมืองกรุงสาวัตถี เพื่ออนุโมทนาวิธีการฝังขุมทรัพย์ของเขาด้วยการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ และเพื่อแสดงบุญสัมปทา คือ ทาน ศีล สัญญมะ ทมะ หลักธรรมเหล่านี้จัดเป็นบุญนิธิ เป็นขุมทรัพย์ภายใน ทรงเปรียบเทียบความมั่นคงของขุมทรัพย์ภายนอกและขุมทรัพย์ภายในว่ามีความมั่นคงต่างกัน ขุมทรัพย์ภายนอกไม่มีความมั่นคงสิ้นสุดแค่ลมหายใจ ส่วนขุมทรัพย์ภายในนั้น มีความมั่นคงสามารถติดตามตนตลอดไปแม้โลกหน้า และยังอำนวยผลอันน่าปรารถนา ได้แก่ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ สาวกบารมี ปัจเจกภูมิ และพุทธภูมิ
การบริหารขุมทรัพย์ในนิธิกัณฑสูตร ทรงสอนให้รู้จักบริหารขุมทรัพย์ภายในด้วยการนำหลักธรรม 4 อย่าง คือ ทาน ศีล สัญญมะ และทมะ มาปฏิบัติต่อบุคคลหรือสถานที่ที่สมควรบูชา ได้แก่ พระเจดีย์ พระสงฆ์ บิดามารดา บุคคลที่เกี่ยวข้อง และแขกที่มาเยี่ยมเยียน ผลของการปฏิบัติตามหลักธรรมดังกล่าว จักอำนวยผลอันน่าปรารถนาทุกประการ
การบริหารขุมทรัพย์ในนิธิกัณฑสูตร พระพุทธองค์ทรงสอนให้เห็นคุณค่าของทรัพย์ภายใน “อนุคามิกนิธิ” ที่เป็นหลักธรรมหรือบุญกุศล ซึ่งเป็นสิ่งที่จะติดตามตนไปตลอดแม้โลกหน้า จักอำนวยผลให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ ด้วยการบริหารขุมทรัพย์ที่เป็นธรรมจากเรื่องที่ทำได้ง่ายไปตามลำดับ ทานถือเป็นธรรมเบื้องต้นที่ทำได้ง่าย เป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่น การดำเนินชีวิตมีความระมัดระวังมิให้ละเมิดล่วงเกินศีล ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสงบสุข รู้จักสำรวมจิตมีสติคอยระวังมิให้จิตไปยึดเกาะเกี่ยวอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบกับอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดความชอบ ความชัง ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ ซึ่งเป็นกิเลส โลภ โกรธ หลง และรู้จักข่มจิตข่มใจไม่ให้อาสวะกิเลสที่นอนเนื่องยู่ภายในจิตใจแสดงตนออกมาสร้างปัญหาความเดือดร้อน ทั้งหมดนี้ถือเป็นบุญนิธิ เป็นบุญกุศลที่จะติดตามตัวเราไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis is entitled “An Analytical Study of the Properties Management in Nidhikaṇḍa-Sutta”, which has three objectives; 1) to study the structure and essences of Nidhikaṇḍa-Sutta, 2) to study the way of the properties management in Nidhikaṇḍa-Sutta, and 3) to analyze the properties management in Nidhikaṇḍa-Sutta. This study was a documentary research by studying the Theravada Buddhist Canon and related documents. The information was then summarized, analyzed, combined, and descriptively presented. The findings of this research were as follows:
The structure and essence of Nidhikaṇḍa-Sutta consisted of sixteen stanzas which the Lord Buddha preached to Kuṭumpi in Savatthi to rejoin him to the way of the collection of property by donation to the Buddhist Sangha and to show the accomplishment of merit, namely, charity, morality, restraint, and self-control. These principles were classified as internal property, He compared the differences in the stability of external and internal property. The external property was not stable and was not accompanied everywhere. Therefore, the internal property was always stable and also accompanied everywhere although, in the next life, it also was a desirable thing: human prosperity, heavenly prosperity, Nibbāna prosperity, the realm of Sāvaka, the realm of Paccekabuddha, and the realm of the Omniscient Buddha.
In the property management in Nidhikaṇḍa-Sutta, the Lord Buddha taught the way to apply the four internal properties; charity, morality, restraint, and self-control to practice or it should be put in the pagoda, monks, parents, person, and guests. Having good deeds will bring the all-desirable results.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|