-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์องค์คุณความเป็นกัลยาณมิตรของพระอานนท์เถระที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Value Factor of Having Good Friend (Kalyāṇamittā) of Ānanda Thera in the Tipiṭaka
- ผู้วิจัยนายจีรวัตร ตอบกระโทก
- ที่ปรึกษา 1พระมหาอดิเดช สติวโร, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.อธิเทพ ผาทา
- วันสำเร็จการศึกษา30/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50864
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 43
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1)เพื่อศึกษาองค์คุณความเป็นกัลยาณมิตรในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2)เพื่อศึกษาความเป็นกัลยาณมิตรของพระอานนท์เถระในพระไตรปิฎก 3)เพื่อวิเคราะห์องค์คุณความเป็นกัลยาณมิตรของพระอานนท์เถระที่ปรากฎในพระไตรปิฎกโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสารคือการวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า กัลยาณมิตรนั้น ตามรูปศัพท์แล้วท่านหมายถึง เพื่อนที่ดี เพื่อนที่งาม หรือเพื่อนรักใคร่คุ้นเคยกันดี เพื่อนผู้มีความเยื่อใย มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ บุคคลผู้หวังดีต่อเรา ประกอบด้วยความรัก ความเมตตา เป็นผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล ปรารถนาดีต่อกันและเป็นที่ไว้วางใจแก่กันและกันคือ มีความเมตตาทั้งทางกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ซึ่งความหมายตามศัพท์ท่านมุ่งเอามิตรที่ดีเป็นบุคคลโดยเฉพาะ
อนึ่งยังมีความหมายที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาอีกว่า กัลยาณมิตรหมายถึง บุคคลที่มีความพรั่งพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม ความดีงาม เป็นผู้ห่างไกลกิเลสและตั้งตนอยู่อย่างเหมาะสมแห่งการเคารพ รวมทั้งยังเป็นผู้สร้างสรรค์ประโยชน์สุข และคุณธรรมดีงามต่างๆ ให้แก่บุคคลรอบข้างด้วยความเข้าใจจนเป็นแรงให้เหนี่ยวนำเกิดการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาไปสู่ประโยชน์และความสุขในระดับต่างๆ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ตลอดจนถึงสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลส่งเสริมการพัฒนาชีวิตก็เป็นดังกัลยาณมิตรเช่นกัน
กัลยาณมิตรประกอบด้วยองค์คุณหรือธรรม 7 ประการ เป็นองค์คุณของกัลยาณมิตรซึ่งเป็นคุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ ประกอบไปด้วย ปิโย (เป็นที่รักเป็นที่พอใจ) คะรุ (เป็นที่เคารพรัก) ภาวะนีโย (เป็นที่น่ายกย่อง สรรเสริญ) วัตตา (เป็นนักพูด) วะจะนักขะโม (เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ) คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา (เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้) และโน จัฏฐาเน นิโยชะเย (ไม่ชักนำในอฐานะ) ผู้ที่เป็นกัลยาณมิตรจำเป็นจะต้องมีองค์คุณกัลยาณมิตรทั้ง 7 ประการเหล่านี้เป็นพื้นฐาน ในที่นี้สามารถแบ่งองค์คุณกัลยาณมิตรของพระอานนท์เถระได้เป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับตามองเห็นมี 3 ด้าน ได้แก่ ปิโย, คะรุ และภาวะนีโย เป็นองค์คุณที่สรรพสัตว์สามารถสัมผัสถึงความเป็นที่รัก เป็นที่เคารพ และยกย่องของพระพุทธเจ้าได้ด้วยการมองเห็น 2) ระดับคำพูดมี 3 ด้าน ได้แก่ วัตตา, คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา และ โน จัฏฐาเน นิโยชะเย เป็นองค์คุณที่สรรพสัตว์สามารถรับรู้และเข้าใจถึงหลักธรรมอันลึกซึ้งได้จากพระดำรัสของพระพุทธองค์ และเป็นผู้มีความสามารถในการพูดเตือนสติและชักนำคนหลงผิดให้กลับตัวเป็นคนดีได้ และ 3) ระดับจิตใจ ได้แก่ วะจะนักขะโม เป็นองค์คุณสำคัญเพียงข้อเดียวที่เกิดในระดับจิตใจ ดังนั้น องค์คุณกัลยาณมิตรข้อนี้จึงมีความสำคัญ เพราะหากควบคุมตนเองได้ดีและมีกัลยณมิตรที่ครบองค์คุณ ย่อมสามารถสนับสนุนให้ตนมีองค์คุณข้ออื่นๆ คือเสมือนมีภูมิคุ้มกันที่ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย นับเป็นองค์คุณข้อสำคัญที่ควรฝึกฝน อบรม และทำให้เจริญในจิตใจของตนเองเป็นอย่างยิ่ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis was a qualitative research that has three objectives; 1) to study the value factor of having good friend (Kalyāṇamittā) in Theravada Buddhist Scriptures, 2) to study the having good friend of Ānanda Thera in the Tipiṭaka, and 3) to analyze the value factor of having good friend of Ānanda Thera in the Tipiṭaka. The research methodology was a documentary research by analysis.
The result of the study found that the term Kalyāṇamittā means having a good friend, a beautiful friend, friendship with a lovely, a generous friend, or friendliness, the person who is a will-wisher was accompanied by loving-kindness, one who is a beneficiary, love for others – having good wishes and trust each other that is to have loving-kindness in physical, verbal, and mental aspects in front and behind. The meaning of the term Kalyāṇamittā refers especially to a good friend.
By the way, the term Kalyāṇamittā in the Buddhist Scriptures means the person who is endowed with virtue, morality, and goodness. He also is far from defilements and setting himself in the proper right place for respect, and he is also a creator of advanced benefits and virtues for people around him with understanding which is an aspiration for change and development towards various levels of benefit and happiness without any expecting in return, including the supportive environment that promotes the life development is as a good friend as well.
Kalyāṇamittā consists of seven virtues which are the qualification of a good friend or true friend; 1) Piyo: lovable; endearing, 2) Garu: esteemable; respectable, 3) Bhāvanīyo: adorable; cultured; emulable, 4) Vattā: being a counselor, 5) Vacanakkhamo: being a patient listener, 6) Gambhīrañca kathaṁ kattā: able to deliver deep discourses, 7) No caṭṭhāne niyojaye: not leading to a useless end. Those who are good friends need to have these seven virtues as the basis. Here it can be divided into three levels of the virtues of Ānanda Thera’s Kalyāṇamittā, namely, 1) the visible level has three aspects; Piyo, Garu, and Bhāvanīyo, these are virtues that sentient beings can feel with loveable, respectable, and adorable Buddha by sight. 2) the verbal level has three aspects; Vattā, Gambhīrañca kathaṁ kattā, and No caṭṭhāne niyojaye, these are virtues that sentient beings can perceive and understand deep discourses from the words of the Buddha, and be able to give exhortations and lead the ignorant to be a good person. And 3) the mental level i.e., Vacanakkhamo is the only important virtue that arises in the mental level. Therefore, these virtues of the Kalyāṇamittā are important principles, if one has good self-control and has a completely good friend, he can also support oneself to have other virtues. As if there is better immunity as well, it is an important virtue that should be practiced, trained, and cultivated in one’s mind.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|