โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม ของประชาชน : กรณีศึกษากลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSangkahawatthudhamma Integration for Public Participatory Water Management : A Case Study of the Huay Kaew Reservoir Water User Group at Mae Faek Subdistrict Sansai District Chiang Mai Province
  • ผู้วิจัยนายสมเดช วรรณก้อน
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.อภิรมย์ สีดาคำ
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ประเสริฐ ปอนถิ่น
  • วันสำเร็จการศึกษา11/05/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50899
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 104

บทคัดย่อภาษาไทย

           สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้  1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อเสนอแนวทางการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ กลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๒๒๑ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.969 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t -test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test แบบ One Way ANOVA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า

           1. ระดับการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว อยู่ในระดับมาก ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลการวิจัยที่ได้ ค่าเฉลี่ยการใช้หลักสังคหวัตถุของประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.07) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหลักสังคหวัตถุธรรมนเป็นหลักที่ส่งเสริมความสามัคคี ความร่วมมือ และความเอื้ออาทร เมื่อหลักธรรมนี้ถูกนำมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำประชาชนมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และให้ความร่วมมือกันบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และค่าเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 3.93 ) การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับมาก ซึ่งแสดงว่าประชาชนมีโอกาสแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ ตรวจสอบ และร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ สรุปการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว อยู่ในระดับมาก

          2. เปรียบเทียบความคิดเห็นกลุ่มผู้ใช้น้ำต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว พบว่า กลุ่มผู้ใช้น้ำที่มีเพศต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมของประชาชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ 0.05  ยอมรับสมมติฐานการวิจัย สำหรับกลุ่มผู้ใช้น้ำที่มีอายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ต่อเดือน และมีระยะเวลาในการเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมของประชาชนอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ไม่แตกต่างกัน จึงปฎิเสธสมมติฐานการวิจัย

          3. แนวทางการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มผุ้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ได้แก่ 1) พัฒนาเสริมสร้างศักยภาพและองค์ความรู้ด้านหลักสังคหวัตถุธรรมและหลักพุทธธรรม ให้แก่ประชาชนและกลุ่มผู้ใช้น้ำ ด้วยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างคุณธรรม การอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีในชุมชน 2) พัฒนาเสริมสร้างศักยภาพและองค์ความรู้ให้แก่สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำเน้นคนรุ่นใหม่เพื่อมาทดแทนคนรุ่นเก่าที่สูงวัย ด้วยการอบรมให้ความรู้และทักษะในการบริหารจัดการน้ำ นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาดำเนินงานในการบริหารจัดการน้ำ  3) ปรับปรุงระเบียบกฎเกณฑ์ในการใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ให้มีความเป็นปัจจุบันตามความคิดเห็นจากการทำประชาคมอย่างต่อเนื่อง และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ และปรับปรุงสมาชิกคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทนเพื่อพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการน้ำให้มีความมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป 4) พัฒนาระบบฐานข้อมูลทุกด้านของแหล่งน้ำให้ครอบคลุมและเป็นปัจจุบัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           This research Paper has the following study objectives: 1.To study the level of participatory water management among the people of the Huai Kaew Reservoir water user group, Mae Faek Subdistrict, San Sai District, Chiang Mai Province. 2.To compare the participation of the people of the group. Use water in participatory water management of the people of the Huai Kaew Reservoir water user group. Classified according to personal factors  3.To propose guidelines for integrating the principles of Sanghawatthutham for participatory water management of the people of the Huai Kaew Reservoir water user group. The research method is a combined method. The sample group used in the quantitative research was a group of water users of Huai Kaew Reservoir, Mae Faek Subdistrict, San Sai District, Chiang Mai Province, totaling 221 persons. The tool used to collect data was a questionnaire with a reliability value of 0.969 to analyze the data. By finding frequency, percentage, mean, standard deviation. Hypotheses were tested by t-test and F-test, One Way ANOVA. Qualitative research used in-depth interviews with 11 key informants. Data were analyzed using analytical techniques. Descriptive content.

           The research results found that

         1. Level of participatory water management among people who use water in Huai Kaew Reservoir. at a high level Results from the synthesis of research data obtained Average use of Sanghawatthu principles of water user groups Overall it is at a high level (𝑥̅= 4.07), which shows that the principles of Sangha Vatthu Dhamma are principles that promote unity, cooperation, and generosity. When this principle is used in water management, people have trust in each other. and cooperate to manage water effectively and the average level of public participation in water management is at a high level (𝑥̅= 3.93). Public participation is at a high level. This shows that people have the opportunity to express their opinions, make recommendations, inspect, and participate in decision-making regarding water management. Summary of participatory water management of people in the Huai Kaew Reservoir water user group. at a high level.

         2. Compare opinions of water user groups on public participation in participatory water management. Huai Kaew Reservoir Water User Group found that water user groups of different genders Participate in water management through public participation. They are statistically significantly different at the ๐.๐๕ level. The research hypothesis is accepted. For water users with age, education level, occupation, and monthly income and there are different periods of membership in water user groups. Participate in the participatory water management of the people of Huai Kaew Reservoir. no different Therefore, the research hypothesis was rejected.

        3. Guidelines for integrating Sanghavatthudhamma for public participatory water management of the people who use water in Huai Kaew Reservoir, including: 1) Develop and strengthen potential and knowledge in Sangha Vatthu Dhamma principles and Buddhist principles. to the public and water user groups By organizing workshops to build morality Living together harmoniously in the communit. 2) Develop and strengthen the potential and knowledge of water user group members, focusing on the new generation to replace the aging older generation. With training to provide knowledge and skills in water management. Bring innovation and modern technology into work in water management. 3) Improve rules and regulations for using water from Huai Kaew Reservoir. To be current according to opinions from continuous community work. and bring in modern technology to carry out systematic water management and regularly update water user group committee members By emphasizing the new generation of people to take their place in order to increase efficiency. in managing water to be stable and sustainable forever. 4) Develop a comprehensive and up-to-date database system for all aspects of water resources.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ