-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในบริบทพุทธธรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลจอมแจ้ง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษQuality Development of Older Persons in the Buddhadhamma Context of Chom Chaeng Municipal Elderly School, Mae Taeng District, Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยนางอารีย์ ชัยขัน
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.อภิรมย์ สีดาคำ
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นพดณ ปัญญาวีรทัต
- วันสำเร็จการศึกษา11/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50905
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 76
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบริบทพุทธธรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลจอมแจ้ง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบริบทพุทธธรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลจอมแจ้ง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบริบทพุทธธรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลจอมแจ้ง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลตำบลจอมแจ้ง ผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุ พระสังฆาธิการ ผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านแม่ขะจาน จำนวน 19 รูปหรือคน ดังนี้ 1) ตัวแทนผู้บริหารเทศบาลตำบลจอมแจ้ง จำนวน 3 คน 2) ตัวแทนนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 1 รูป 3) ตัวแทนนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 1 รูปหรือคน 4) ตัวแทนและผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านแม่ขะจาน ในเทศบาลตำบลจอมแจ้ง จำนวน 14 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบริบทพุทธธรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลจอมแจ้ง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางปัญญาล้วนแล้วแต่เกิดจากสภาพปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การคิด การเขียน การถาม การอ่าน การฟัง การดู และการลงมือปฏิบัติ เกิดแรงจูงใจสามารถ นำตนเองสู่การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เสริมสร้างความรู้ความคิดความเข้าใจ รู้จริง มีความมุ่งหวังด้านสุขภาพ ศาสนา ภูมิปัญญา อาชีพ กิจกรรมตามอัธยาศัยตามหลักภาวนา 4 อันได้แก่ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา
2. กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบริบทพุทธธรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลจอมแจ้ง เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมาก การอบรมให้ความรู้เป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุเป็นการพัฒนาตนเองให้มีความสมบูรณ์ทั้ง 4 ด้าน ทางด้านร่างกาย ให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีงาม การเตรียมตัวด้านสุขภาพจิต โดยการทำจิตใจให้สงบด้วยการสวดมนต์ การเดินจงกรม นั่งวิปัสสนากรรมฐาน นั่งสมาธิ ทำบุญ ฟังเทศน์ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความพึงพอใจในชีวิตดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ และเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีได้
3. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบริบทพุทธธรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลจอมแจ้ง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ควรเน้นให้ผู้สูงอายุ มีส่วนร่วมในการดำเนินการมีการจัดกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำทุกสัปดาห์ส่งเสริมสุขภาพตามวัย หมั่นรักษาศีลห้าอยู่เป็นประจำ การปลูกฝังคุณธรรมด้านความสําคัญของการปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรม หลักสีลภาวนา ด้านจิตใจ หลักจิตภาวนา และด้านการ พัฒนาปัญญา ควรมีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนส่งผลให้ ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า โดยใช้สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้มากที่สุด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this Research are as follows: 1. Study the problem of improving the quality of life of the elderly in the Buddhist context of the Chom Chaeng Subdistrict Municipality School for the Elderly, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. 2. Study the process of improving the quality of life of the elderly in the Buddhist context of the Chom Chaeng Subdistrict Municipality School for the Elderly, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. 3. Propose guidelines for improving the quality of life of the elderly in the Buddhist context of the Chom Chaeng Subdistrict Municipality School for the Elderly, Mae Taeng District, Chiang Mai Province.
This research It is qualitative research. Important informants used in this study include: Executive of Chom Chaeng Subdistrict Municipality Director of the School for the Elderly monk Elderly at Ban Mae Khachan Elderly School, 19 persons As follows: 1. Representatives of Chom Chaeng Subdistrict Municipality administrators, 3 people. 2. one representative of a Buddhist scholar 3. one representatives of academics in the field of public administration. 4. representatives and senior citizens of Ban Mae Khachan School for the Elderly In Chom Chaeng Subdistrict Municipality, there are 14 people.
The research finding were as follow;
1. The level of development of the quality of life of the elderly in the Buddhist context of the Chom Chaeng Subdistrict Municipality School for the Elderly, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. It was found that physical health mental health social health and intellectual health are all caused by problems in improving the quality of life of the elderly. Strengthen knowledge, thoughts, understanding, true knowledge, and have aspirations for health, religion, wisdom, career, leisure activities, 4 principles of meditation, namely body meditation, moral meditation, mental meditation, and wisdom meditation.
2. The process of developing the quality of life of the elderly in the Buddhist context of the Chom Chaeng Subdistrict Municipality School for the Elderly. When entering the elderly age, there are many changes that occur. Training and knowledge are the means to enhance a good quality of life for the elderly to develop themselves to be complete in all four areas. Physically To create a good quality of life. Mental health preparation By calming the mind by chanting prayers, walking meditation, sitting in vipassana meditation, meditating, making merit, and listening to sermons on important Buddhist days. It will make the elderly feel satisfied with their lives and live with quality. and achieve a good quality of life.
3. Suggestions on ways to develop the quality of life of the elderly in the Buddhist context of the Chom Chaeng Subdistrict Municipality School for the Elderly, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. Emphasis should be placed on involving the elderly in organizing weekly recreational activities to promote health according to their age. You should keep the five precepts regularly. Cultivating morality in terms of the importance of cultivating morality and ethics, principles of Sila Bhavana, mental aspect, principles of Chitta Bhavana, and intellectual development. There should be application of local wisdom to promote the health of the elderly in the community, resulting in Elderly people feel valued By using the most used media and learning resources.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|