-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาวิเคราะห์พุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษStudy and Analysis of Buddhist Communication Innovation that appear in the Dhammapadatthakatha
- ผู้วิจัยพระมหาวงศ์ศักดิ์ อาภากโร (กามขุนทด)
- ที่ปรึกษา 1ดร.กนกวรรณ กรุณาฤทธิโยธิน
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.บุญเลิศ โอฐสู
- วันสำเร็จการศึกษา31/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธนวัตกรรมการสื่อสาร
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50935
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 27
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารพุทธธรรมที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท 2) เพื่อศึกษารูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบทเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสาร คือศึกษาค้นคว้าและรวบรวมพุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การสื่อสารพุทธธรรมที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท เป็นการสื่อสารด้านหลักธรรม คติธรรมของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นคัมภีร์ที่พระอรรถกถาจารย์แต่งขึ้น เพื่ออธิบายหรือตีความคำหรือข้อความของคาถาธรรมบทให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 26 วรรครูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท เป็นการเล่าเรื่องทำนองนิทานประกอบ หลักธรรม คติธรรม ของพระพุทธเจ้า เรียกว่า นิทานธรรมบท นิทานทุกเรื่องในอรรถกถาธรรมบทประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้อารัมภบท วัตถุกถา คาถา เวยยากรณะ สโมธาน การเล่าเรื่องโดยใช้หลักการและวิธีการสื่อสารพุทธธรรมที่มีจุดมุ่งหมายช่วยเหลือเหล่าเวไนยสัตว์ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข โดยใช้รูปแบบการสื่อสารดังนี้วิธีสื่อสารมี 4 วิธี ได้แก่แบบสนทนา แบบบรรยาย แบบตอบปัญหาแบบวางกฎข้อบังคับลีลาการสื่อสารมี 4 ลีลาได้แก่สันทัสสนาสมาทปนา สมุตเตชนา สัมปหังสนากลวิธีและอุบายประกอบการสื่อสารมี 10 อย่างได้แก่ยกอุทาหรณ์และการเล่านิทานประกอบการเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา การใช้อุปกรณ์ในการสอน การทำเป็นตัวอย่าง การเล่นภาษาเล่นคำและใช้คำในความหมายใหม่ อุบายเลือกคนและการปฏิบัติรายบุคคล การรู้จักจังหวะและโอกาส ความยืดหยุ่นในการใช้วิธีการ การลงโทษและให้รางวัล กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
สำหรับรูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบทมีนิทานธรรมบทแต่ละเรื่องในอรรถกถาธรรมบทจะสอนหลักธรรม คติธรรมแตกต่างกัน พระพุทธเจ้าทรงเลือกใช้รูปแบบการสื่อสาร ทั้งวิธีสื่อสารลีลาการสื่อสารกลวิธีและอุบายประกอบการสื่อสาร ที่แตกต่างกัน มีการผสมผสานระหว่างวิธีสื่อสารลีลาการสื่อสารกลวิธีและอุบายประกอบการสื่อสาร ที่แตกต่างกันในแต่ละเรื่องยังมีการผสมผสานระหว่างวิธีการสื่อการ ระหว่างการใช้ลีลาการสื่อสารระหว่างการใช้กลวิธีและอุบายการสื่อสารที่แตกต่างกันและมีการผสมผสานในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับหลักธรรม คติธรรม นั้น ๆ เพราะเมื่อส่งสารออกไปยังผู้รับสารแล้วผู้รับสารสามารถรับสารนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัสดุประสงค์ของการสื่อสาร
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis There are 3 objectives: 1) to study the communication of Buddhist Dharma appearing in the Commentary on the Dhammapada; 2) to study the innovative Buddhist communication patterns appearing in the Commentary on the Dhammapada; 3) to analyze the innovative Buddhist communication patterns appearing in the Commentary on the Dhammapada. It is qualitative research. Using qualitative document research methods. That is, study, research and collect Buddhist communication innovations that appear in the Commentary on the Dhammapada.
Research results found that Communicating the Buddhist Dhamma as it appears in the Commentary on the Dhammapada It is a communication of moral principles. The Buddha's Dhamma, which is a scripture composed by his commentators. To explain or interpret the words or messages of the Dhammapada mantra to make it easier to understand. The categories are divided into 26 paragraphs. Innovative forms of Buddhist communication that appear in the Commentary on the Dhammapada. It is a story telling in the style of a fable with the principles and teachings of the Lord Buddha called Dhammapada tales. Every story in the Dhammapada Commentary consists of the following parts: preamble, dhuṭṭhakathā, verses, weyāyakaraṇa, samodānaStorytelling using the principles and methods of communicating the Buddhadharma that are available. The aim is to help animals live together peacefully. Using the following communication formats: There are four methods of communication: conversational, lecture, question-answer, and rule-making. There are 4 styles of communication: Sandassanà, Samàdapanà, Samuttejanà, and Sampaha§sanà. There are 10 communication techniques and strategies, including giving illustrations and telling stories. Comparing with parables Using equipment in teaching setting an example Playing with language, playing with words and using words in new meanings Strategy for selecting people and individual treatment Knowing timing and opportunity Flexibility in using methods punishment and reward Strategies for solving immediate problems
Analyze the forms of innovative Buddhist communication that appear in the Commentary on the Dhammapada. Each Dhammapada story in the Commentary on the Dhammapada teaches different dhamma principles and morals. The Buddha chose to use the form of communication. Both methods of communication communication style Communication strategies and strategies different There is a combination of communication methods. communication style Communication strategies and strategies different Each story also has a combination of communication methods. During the use of communication styles between using communication tactics and strategies that are different and are combined in a variety of formats to suit the principles, morals, and ethics because when the message is sent out to the receiver, the receiver can receive the message efficiently and achieve the intended purpose of communication
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|