โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ตามหลักพุทธบูรณาการ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Development of a Model on Learning Management for the Enhancement of Life Skill of Elementary Education Grade 6 Students through the Integrated Buddhist Principles
  • ผู้วิจัยพระมหาเทวินทร์ วรปญฺโญ (ชิณบุตร)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาทวี มหาปญฺโญ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ตวงเพชร สมศรี
  • วันสำเร็จการศึกษา31/05/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50947
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 218

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักพุทธบูรณาการ และ 3) เพื่อทดลองและประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการเก็บข้อมูลระดับทักษะชีวิต กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียนที่ 1 ถึง 3 จำนวน 100 คน (Research 1: R1) ใช้แบบสอบถามมาตรวัดแบบลิเคิร์ท (Likert Scale) มีเกณฑ์ 5 ระดับ ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อพิจารณา ประเมินและรับรองคุณภาพรูปแบบที่พัฒนาขึ้น (Development 1: D1) ด้วยการสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เพื่อนำไปใช้ทดลองกับกลุ่มทดลองแบบเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียนที่ 1 จำนวน 35 คน (Research 2: R2) และประเมินผลการใช้รูปแบบ (Development 2: D2) ด้วยกระบวนการการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพนวัตกรรม E1/E2 = 75/75 พร้อมแบบประเมินทักษะชีวิต คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และติดตามผลการทดลองด้วยการสัมภาษณ์ผู้สอนจากการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มทดลองหลังจากใช้รูปแบบ 1 เดือน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

ระดับทักษะชีวิตกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน (R1) โดยมี 4 องค์ประกอบ 24 ตัวชี้วัด แบ่งเป็น 1) ด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น จำนวน 7 ตัวชี้วัด 2) ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จำนวน 5 ตัวชี้วัด 3) ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด จำนวน 6 ตัวชี้วัด และ 4) ทักษะด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น จำนวน 6 ตัวชี้วัด

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ตามหลักพุทธบูรณาการ (D1) ได้ MCU PTCA Model อธิบายได้ ดังนี้ M=Morality รู้หน้าที่ มีระเบียบวินัย ใฝ่ใจศีลธรรมจรรยา C=Concentration จิตใจจดจ่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างเอาใจใส่ U=Understanding มีความรู้ ความเข้าใจด้วยเหตุผลและปัญญา P=Prepare the content students and classroom เตรียมความพร้อมเนื้อหา ผู้เรียนและห้องเรียนดี T=Teaching Methods วิธีการจัดการเรียนการสอน C=Conclusion ขั้นตอนการสรุปผลงาน A=Assessment การประเมินผล ขณะที่ผลการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโดยรวม ทั้งด้านความถูกต้อง ด้านความมีประโยชน์ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง โดยมีค่าเฉลี่ย 4.77 รูปแบบอยู่ในระดับคุณภาพดีมากที่สุด เป็นนวัตกรรมที่เหมาะสมกับการใช้ในการพัฒนาทักษะชีวิต เหมาะสมเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

การทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มทดลอง (R2) มีระดับทักษะชีวิตทักษะชีวิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.86 และผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบความรู้ ก่อนและหลังการเรียนรู้ มีพัฒนาการระดับสูงมาก โดยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์อยู่ในช่วง 76-100 ขณะที่การประเมินผลการใช้รูปแบบ (D2) โดยเกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพของรูปแบบ มีคะแนนประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 9.47% ส่วนคะแนนประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 12.59% การสังเกตพฤติกรรมหลังการใช้รูปแบบกลุ่มทดลองมีพัฒนาการด้านทักษะชีวิตที่ดีขึ้นทั้ง 4 ด้าน อีกทั้งการนำหลักไตรสิกขา มาบูรณาการกับหลักการจัดการเรียนรู้ ยังช่วยพัฒนาผู้สอนและผู้เรียนให้ รู้หน้าที่ มีระเบียบวินัย มีศีลธรรม มีใจจดจ่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเอาใจใส่ ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียน มีความเข้าใจด้วยเหตุผลและปัญญา ให้ผู้เรียนมีการลงมือค้นคว้า วิเคราะห์ และอภิปรายผลร่วมกันได้ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิเคราะห์ ซึ่งช่วยพัฒนาทั้งด้านผลการเรียนและด้านทักษะชีวิตของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

In this dissertation, the objectives were purposely made: 1) to study the level of life skill of the elementary education grade 6 students, 2) to develop the model on learning management for the enhancement of life skill of the elementary education grade 6 students through the integrated Buddhist principles, and 3) to experiment and evaluate the result of the model on learning management for the enhancement of the elementary education grade 6 students through the Buddhist integrated principles. This research employed the research and development methodology (R&D) done by using the mixed methods of the quantitative research where data on life skill were collected through purposive sampling of the elementary education grade 6 students Classrooms 1-3, 100 in total, (Research 1: R1) the 5th levels of Likert Scale was used to measure, that has been verified by 3 experts, and the qualitative one was used to evaluate and certify the quality of developed model (Development 1: D 1) by means of group discussion where 7 expertise were taken part in and then it was applied to the given purposive sampling group, the elementary education grade 6 students, 35 in total, (Research 2: R2) in order to evaluate the result in the application of such a model (Development 2: D2) by means of the process in finding out the effectiveness of the model on learning management according to the criteria of the innovative effectiveness E1/E2= 75/75 where the evaluative form of life skill and relative gained score were included and the interview of teachers who observed the experimented groups’ behaviours after testing the first model for 1 month was also made and then the content analysis was done through the descriptive manners respectively.

The research results were found that:

As far as the life skill of given population, the elementary education grade 6 students, 100 in total, is concerned, its level is at the medium level in 4 sides, (R1) it consists of 24 indicators dividing into: 1) the realization and understanding the value of oneself and other consist of 7 indicators, 2) the analysis, making decision and creative solution of problems consist of 5 indicators, 3) the management of emotion and anxiety consist of 6 indicators, and 4) the skill in making good relationship with other consists of 6 indicators.

In developing the model on learning management for the enhancement of life skill of the elementary education grade 6 students through the integrated Buddhist principles, (D1) this research proposed the MCU PTCA Model; M means morality where students understand their duty following the regulation and morality, C means concentration where students’ mind is actively developed, U means understanding where students possess knowledge, intellectuality and wisdom, P means preparation of the content, students, and classroom where students are assigned to prepare the content for learning and its classroom, T means teaching methods where methods in learning and teaching are utilized, C means conclusion where its summing up is needed, A means assessment where evaluation of its assessment according to the given criteria in overall is required; it should be done by means of the correctness, advantage, appropriateness, and applicability, its average was at 4.77, the model was at highest level signifying the innovation suitable for the application to the development of life skill and thereby showing the suitability for translating into learning management accordingly.

In the model trialed from tested group (R2), the average on the level on life skill was increased up to 37.86 %, the result gained from the comparison of pre-testing and post-test of knowledge showed that students’ development was at high level where the relative gained score was of interval level 76-100. In the assessment of the proposed model on learning management gained from tested group (D2), while the model performance acceptance criteria Has a process efficiency score (E1) higher than the specified criteria of 9.47 %., the effective score of its results (E2) was at higher the required on 12.59 %, the observation of behaviours after using the model with the experimented group showed that the development of life skill of four aspects was increased. The application of threefold training integrated through the learning management helped teachers and learners in understanding their duty, disciplinary and morality where they concentrated in the development of learning and teaching resulting in making teachers and learners understand through reasons and wisdom whereby students were able to search, analyze and discuss the issues together motivating them to develop the analytical skills that bring about learning result and life skill to them effectively.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ