โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    สันตินวัตกรรมการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPeace Innovation for Development Peaceful Ways in Early Childhood Caregivers
  • ผู้วิจัยนางสาวชฎาพร บุญหนา
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  • ที่ปรึกษา 2พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา14/06/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50955
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 14

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาบริบท และความต้องการจำเป็น     ในการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ศาสตร์สมัยใหม่และ  หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการสันตินวัตกรรมการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน  แบบแผนเชิงทดลอง แบ่งเป็น 3 ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 4 กลุ่ม รวม 20 ท่าน การทำสนทนากลุ่มเฉพาะเพื่อรับรองเครื่องมือและหลักสูตร จำนวน 7 ท่าน ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูล          เชิงปริมาณด้วยการทดลองกับกลุ่มผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 17 ท่าน ด้วยเครื่องมือแบบประเมินสมรรถนะการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ทดสอบก่อนและหลัง    การทดลอง ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสังเกตการณ์ การสะท้อนคิด ระยะที่ 3 การเก็บข้อมูล  เชิงคุณภาพ ด้วยการทำบันทึกรายงานตนเอง การสัมภาษณ์ การนำไปใช้ในการดูแลเด็กปฐมวัย  เชิงปริมาณด้วยสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ t-test สรุปผล    แบบพรรณนาโวหาร

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพแวดล้อมครอบครัวและบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป ปัญหาพ่อแม่วัยใสมีมากขึ้น ประกอบกับภาวะทางเศรษฐกิจทำให้พ่อแม่ต้องออกหารายได้เพื่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว การส่งเด็กปฐมวัยเข้าสู่ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับครอบครัว พี่เลี้ยงเด็กปฐมวัย         จึงมีความสำคัญในการบ่มเพาะและพัฒนาเด็กทั้งด้านกาย สติปัญญา และสังคม ปัญหาการดูแลเด็ก     ของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย พบว่า 1) ความรู้ในการดูแลและพัฒนาทักษะของเด็กปฐมวัยยังไม่เพียงพอ      2) ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับธรรมชาติของเด็กปฐมวัยซึ่งมีพัฒนาไม่เหมือนกันแม้จะอยู่ในวัยเดียวกัน 3) ขาดการบริหารจัดการอารมณ์ตนเองส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูแลเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยจึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาสันติวิถีของตนเอง ด้วยการพัฒนาสันติภายในของตนเอง การใช้ความรักในการดูแลเด็ก มีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย รู้เข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคน มีวิธีการสื่อสารกับเด็กและผู้ปกครองได้อย่างสันติ

2. แนวคิดศาสตร์สมัยใหม่ในการพัฒนาความรู้และทักษะของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบการเลี้ยงดูเด็กของพ่อ แม่ แนวคิดการสื่อสารพลังบวก การเรียนรู้แบบวัยผู้ใหญ่ และหลัก   พุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาสันติภายในของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย คือ หลักพรหมวิหาร 4 และ        อิทธิบาท 4 การบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่และพุทธสันติวิธีทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย การตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง การเข้าใจธรรมชาติและสันติวิถีในการดูแลเด็ก และการมีทักษะการสื่อสารด้วยเมตตาสร้างพลังสันติสุข

3. การสร้างสันตินวัตกรรมการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยด้วยการออกแบบหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีกรอบเนื้อหาที่บูรณาการจากการวิเคราะห์          ความต้องการจำเป็น ร่วมกับแนวคิดศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธี โดยมีเนื้อหาอบรมประกอบด้วย โดยมีเนื้อหาอบรมประกอบด้วย 1) ปลุกสติ ขยายพื้นที่ใจ 2) ปูฐานใจ สู่ฐานกาย      3) เปิดประตูความรู้ ธรรมชาติของเด็ก 4) เข้าใจพ่อแม่ ผู้ปกครองและสื่อสารอย่างสันติ 5) ติดปีกสันติวิถี ทดลองนำร่องกับกลุ่มตัวอย่าง 17 คน โดยการอบรม 2 วัน และติดตามผล 21 วัน ผลการทดลองพบว่า ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมอบรมมีคะแนนเฉลี่ย สมรรถนะการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยทั้งด้านการตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง การเข้าใจธรรมชาติและสันติวิถีการดูแลเด็ก และการมีทักษะการสื่อสารด้วยเมตตา หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ    ค่า t-test = 3.34 ที่ระดับ .05 สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยเกิดความตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง และนำสันติวิถีไปใช้ในการดูแลเด็กปฐมวัยได้อย่างมีความสุข

องค์ความรู้จากงานวิจัย คือ CARE’S โมเดล ประกอบด้วย มีสติรักตนเพื่อส่งต่อความรักให้เด็ก เข้าใจธรรมชาติเด็ก สื่อสารอย่างสันติทั้งต่อเด็ก ผู้ปกครอง และเพื่อนร่วมงาน นำพาเมล็ดพันธุ์แห่งสันติสู่เด็กอย่างมีความสุข

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation aims to achieve the following research objectives:   1) To study the context and necessary requirements for the development of peaceful practices among early childhood caregivers, 2) To analyze modern theoretical concepts and Buddhist peace principles that facilitate the development of peaceful practices among early childhood caregivers, and 3)To develop and present a process of peace innovation for the development of peaceful practices among early childhood caregivers. The research employs a mixed-methods design with an experimental approach, divided into three phases. In Phase 1, qualitative data was collected using in-depth interviews with four key informant groups, totaling 20 individuals, and conducting focus group discussions to validate the tools and curriculum, involving seven experts. In Phase 2, quantitative data was collected alongside qualitative data. The quantitative data was obtained through an experimental study with 17early childhood caregivers from                     a preschool development center. The assessment tools included a competency evaluation of peaceful practice development, with pre-experiment and post-experiment tests. Qualitative data was gathered through observations and reflective thinking. In Phase 3, qualitative data was collected through self-report journals, interviews, and the practical application of peaceful practices in early childhood care. Quantitative data analysis involved comparing pre- and post-experiment mean scores using t-test statistics. The findings were summarized using descriptive analysis.

From the study, the following results are found:

1) The changing family environment and social context, along with the increasing prevalence of young parents, coupled with economic conditions that require parents to seek income for family expenses, make it necessary for families to send young children to preschool development centers. Early childhood caregivers, therefore, play a crucial role in nurturing and developing children physically, intellectually, and socially. The issues found in the care of young children by early childhood caregivers include: 1) Insufficient knowledge in caring for and developing the skills of young children, 2) A lack of correct understanding regarding the nature of young children, whose development varies even among those of the same age, and              3) A lack of self-emotional management, which affects the quality of care provided to young children.Thus, early childhood caregivers need to develop their own peaceful practices by fostering inner peace, using love in child care, acquiring knowledge about early childhood development, understanding individual differences among children, and communicating peacefully with both children and their parents.

2) The modern concepts for developing the knowledge and skills of early childhood caregivers include parenting styles, the concept of positive communication, adult learning, and Buddhist peaceful mean that contribute to the internal peace development of early childhood caregivers, such as the Four Divine States (Brahmavihara) and the Four Bases of Success (Iddhipada). Integrating modern sciences with Buddhist peaceful methods provides a comprehensive approach to developing the peaceful practices of early childhood caregivers. This includes self-awareness, understanding the nature and peaceful ways of caring for children, and having communication skills that foster compassion and create a peaceful environment.

3) Creating a peaceful innovation for developing the peaceful practices of early childhood caregivers involves designing a participatory workshop curriculum that integrates the analysis of essential needs with modern scientific concepts and Buddhist peaceful methods. The training content includes: (1)Awakening mindfulness and expanding the heart space,  (2) Building a strong foundation of the heart leading to the body,  (3) Opening the door to understanding the nature of children,  (4) Understanding parents and caregivers and communicating peacefully, and  (5) Equipping with peaceful methods. A pilot test was conducted with 17 participants over a 2-day training followed by a 21-day follow-up. The results showed that early childhood caregivers who participated in the training had significantly higher average scores in their competence in developing peaceful practices, including self-awareness, understanding the nature and peaceful ways of caring for children, and communication skills with compassion, after the training than before, with a t-test value of  3.34 at the .05 level. This is consistent with qualitative research findings, where early childhood caregivers became more self-aware and were able to apply peaceful practices in caring for children happily.

The knowledge derived from this research is encapsulated in the "CARE’s Model," which comprises mindfulness and self-love to extend love to children, understanding the nature of children, peaceful communication with children, parents, and colleagues, and joyfully leading the seeds of peace to children.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ