โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี ตามหลักอิทธิบาท 4
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for Child Development Center Management under the Local Government Organization in Uthai Thani Province according to Iddhipada 4
  • ผู้วิจัยนางสาวปาริชาติ เอมอยู่
  • ที่ปรึกษา 1ดร.สุวัฒน์ แจ้งจิต
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ทนง ทศไกร
  • วันสำเร็จการศึกษา14/06/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50965
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 39

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารท้องถิ่น ผู้อำนวยการกองการศึกษา ครู และผู้ดูแลเด็ก ที่มีต่อแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 219 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1) สภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุทัยธานี ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามรายด้านพบว่า (1) ด้านคุณภาพของเด็กปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ (2) ครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแล และจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ (3) ด้านการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารท้องถิ่น ผู้อำนวยการกองการศึกษา ครู และผู้ดูแลเด็ก ที่มีต่อแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวมไม่แตกต่างกัน

3) แนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุทัยธานี ตามหลักอิทธิบาท 4 มีดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ผู้บริหารควรมีการจัดทำแผนและหลักสูตรสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับข้อมูลเด็ก จัดทำโครงสร้างคุณสมบัติและอัตรากำลัง ครูและผู้ดูแลเด็กต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จำนวนครูและผู้ดูแลเด็กควรมีอัตราส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนของเด็ก มีการจัดทำนโยบายและแผนที่ครอบคลุมโครงสร้างอาคารบริเวณที่ตั้ง จัดให้มีระบบป้องกันภัย มีแผนเผชิญเหตุ และมีการจัดตั้งคณะกรรมการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (2) ด้านครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแล และจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ครูและผู้ดูแลเด็กควรมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการดำเนินงานและประเมินผล จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ครอบคลุมถึงสมรรถภาพการรับรู้ ความสามารถทางการเรียนรู้ การรู้จักคิด ด้วยเหตุผลและการแก้ไขปัญหา การสังเกต จดจำ การใช้ภาษาสื่อความหมาย และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (3) ด้านคุณภาพของเด็กปฐมวัย ครูและผู้ดูแลเด็กควรจัดการเรียนการสอน โดยมีการปลูกฝังระเบียบวินัย ให้เด็กได้มีการสร้างระเบียบวินัยผ่านการลงมือปฏิบัติจริงจากกิจวัตรประจำวัน สร้างข้อตกลง ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สร้างโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กและบุคคลอื่น ครูจัดกิจกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็กที่สมวัย มีสุขนิสัยที่เหมาะสม เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม คุณธรรม มีวินัย และความเป็นพลเมืองดี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were 1) to study the management conditions of child development centers under the local government organization in Uthai Thani Province; 2) to compare the opinions of local administrators, directors of the Education Division, teachers, and child caregivers regarding child development center management guidelines classified by personal factors; 3) to present guidelines for child development center management under the local government organization in Uthai Thani Province according to Iddhipada 4. This was a mixed methods research. For quantitative research, the sample group used in the research was 219 people. The research instrument was a questionnaire with item confidence value of .92. The data was analyzed by using frequency, percentage, means, and standard deviations. The comparison hypotheses were tested by t-test, F-test and one-way analysis of variance (One Way ANOVA). As for qualitative research, semi-structured interviews were used by collecting important data of 9 persons and analyzing the data using content analysis.

The research results found that

1) In terms of the management conditions of child development centers under the local government organization in Uthai Thani Province, overall, the average was at the highest level. When considering each aspect, it was found that, (1) in the aspect of quality of children had the highest average followed by (2) aspects of Teachers/child caregivers should be supervised. And the aspect with the least average value was (3) the aspect of child development center management.

2) In terms of the results of comparing opinions of local administrators, directors of the Education Division, teachers and child caregivers regarding child development center management guidelines under the local government organization in Uthai Thani Province classified by different personal factors, including gender, age, education level, and position, there were different opinions on the management of child development centers under the local government organization in Uthai Thani Province. Overall, the differences were not.

3) Guidelines for managing child development centers under the local government organization in Uthai Thani province according to Iddhipada 4 were as follows: (1) In terms of child development center management, administrators should prepare plans and curricula for child development centers. Management information regarding children's information was collected and stored. Qualification structure and workforce were prepared. Teachers and child caregivers must receive continuous development. The number of teachers and caregivers should be proportionate to the number of children. A policy and plan have been created covering the building structure and location area the building with a system to protect against. There was an incident action plan and the child development center committee was established. (2)Teachers/child caregivers should be supervised. Learning and play experiences should be organized for child development. Teachers and child caregivers created learning experience plans that were consistent with the child education curriculum. There were operations and evaluations. There were activities that promoted development in all aspects including physical, emotional, mental, social and intellectual aspects, covering cognitive abilities, learning ability, knowing how to think with reason and solving problems, observing, remembering, using language to convey meaning and creative initiatives.(3) Quality aspects of children, teachers and child caregivers should organize teaching and learning by inculcating discipline to allow children to build discipline through hands-on practice from their daily routines. There should be an agreement to create a daily routine to create opportunities for children to interact with other children and others. Teachers should organize activities that affected the appropriate development of children as well as have appropriate health habits. Children should receive develop language and communication skills and develop social skills, morality, discipline, and good citizenship.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ