-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารงานวิชาการตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Guidelines for the Developmen of academic Administration and Support System Based on the Four Brahmavihara in the Group United Campus of Suan Thepparat Thiptai Chaloem Phrakiat Pathumthani Province
- ผู้วิจัยนายอติวัชญ์ เสมอใจ
- ที่ปรึกษา 1พระครูวิรุฬห์สุตคุณ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ระวิง เรืองสังข์
- วันสำเร็จการศึกษา30/04/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50975
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 64
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๓๔ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ เนื้อหาการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การแนะแนว รองลงมา คือ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การวางแผนงานด้านวิชาการ
2. ผลการศึกษาวิธีการมีดังนี้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาสร้างแนวทางร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครูในการจัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีการนำภาคีต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น สนับสนุนให้นำปราชญ์ท้องถิ่นมาร่วมกันสร้างหลักสูตรสถานศึกษา พิจารณาปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ ส่งเสริมให้คณะครูจัดการเรียนการสอนหลังเลิกเรียน กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานวิชาการที่ชัดเจน ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย เป้าหมายอย่างชัดเจนมีความทันสมัยและยืดหยุ่นได้ตลอด ด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารต้องใช้หลักความกรุณา แนะนำแนวทางการแก้ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดี บุคลากรจัดแผนการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้อย่างชัดเจนสนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย สนับสนุนอุปกรณ์การสอน สร้างเครื่องการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ตรงตามความต้องการของผู้เรียน ด้านการนิเทศการศึกษา ผู้บริหารควรประชุมวางแผนถึงการจัดระบบการนิเทศภายใน แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศติดตามผลอย่างเป็นธรรม กำกับติดตาม ให้คำแนะนำ แก่ครูผู้สอน การรับฟังปัญหาและร่วมมือกันแก้ปัญหา สร้างแรงกระตุ้นในทางที่ดี สร้างขวัญและกำลังใจ ด้านการแนะแนว กำหนดแนวทางการดำเนินงานแนะแนวที่ชัดเจน สนับสนุนการแนะแนวและสนับสนุนระบบดูแลช่วยเหลือเป็นอย่างดี มีการชี้แนะแนวทาง บอกแนวทางการแก้ปัญหา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา สถานศึกษามีการประกาศใช้หลักสูตรสถานศึกษาทางสื่อต่าง ๆ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการจัดทำเครื่องมือสำหรับการประเมินสถานศึกษาอย่างเที่ยงตรง สนับสนุนให้มีการประเมินมาตรฐานเป็นอย่างดีปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน
3. แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร ผู้บริหารควรมีการจัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ ที่ชัดเจน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ ผู้บริหารควรมีการวางแผน กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานวิชาการที่ชัดเจน ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ๓) ด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรรมต่างๆ ที่เสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน 4) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ผู้บริหารควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดหา สื่อการสอน ผลิตสื่อการเรียนรู้ ด้วนการระบุเป็นโครงการ 5) ด้านการนิเทศการศึกษา ผู้บริหารควรประชุมวางแผนถึงการจัดระบบการนิเทศภายใน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศติดตามผลอย่างเป็นธรรม 6) ด้านการแนะแนว ผู้บริหารมีการชี้แนะแนวทาง บอกแนวทางการแก้ปัญหา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ กำหนดแนวทางการดำเนินการแนะแนวได้แม่นยำตามระเบียบ ๗) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ผู้บริหารสนับสนุนสื่อ อุปกรณ์อย่างเพียงพอต่อความต้องการในการจัดทำสูตรสถานศึกษา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are: 1. to study the state of academic administration of school administrators under the Group United Campus of Suan Thepparat Thiptai Chaloem Phrakiat Pathumthani Province, 2. to study the methods of academic administration of school administrators under the Group United Campus of Suan Thepparat Thiptai Chaloem Phrakiat Pathumthani Province, and 3. to propose guidelines for the development of academic administration of school administrators under the Group United Campus of Suan Thepparat Thiptai Chaloem Phrakiat Pathumthani Province. It is a combined method research between quantitative research and qualitative research. The data of quantitative research were collected from 234 samples and analyzed by mean and standard deviation. The qualitative were collected by interviews with 6 key-informants and analyzed by the content analysis.
The research results were found that:
1. The state of academic administration of school administrators under the Group United Campus of Suan Thepparat Thiptai Chaloem Phrakiat Pathumthani Province was at the highest level overall and in aspect. The aspect with the highest average value was guidance, followed by development of internal quality assurance systems and educational standards, development of learning processes, and academic planning, respectively.
2. The methods of academic administration of school administrators under the Group United Campus of Suan Thepparat Thiptai Chaloem Phrakiat Pathumthani Province are as follows: In terms of curriculum development, educational institutions create joint guidelines between administrators and teachers in preparing the learning content framework. All parties participate in preparing the school curriculum. Various partners are brought in to play a role in preparing the local curriculum. Local scholars are encouraged to come together to create school curriculums. The curriculum is revised and developed up to date. In terms of planning academic work, teachers are encouraged to organize teaching and learning after school. Academic work calendar is set clearly and it may be flexible as appropriate. The aim and target are clearly set. In terms of teaching and learning, the administrators must use the principle of kindness and suggest guidelines for solving problems in teaching and learning management as well. Personnel organize learning plans for every learning group. Teachers create an environment that is conducive to teaching and learning management. In terms of developing the learning process, the administrators support the preparation of clear learning management plans, support learners to receive a variety of learning management, support teaching equipment, and create a variety of measurement and evaluation tools to meet the needs of students. Regarding educational supervision, the administrators should hold a meeting to plan the organization of the internal supervision system, appoint a supervisory committee to follow up fairly, monitor, follow up, and give advice to teachers, listen to problems and solve problems together, create a positive motivation and build morale and encouragement. In terms of guidance, clear guidance guidelines are set. Support Guidance and the care system are supported well. Guidance in problem solving is given. In terms of developing an internal quality assurance system and educational standards, educational institutions announce the use of educational institution curricula through various media. Administrators provide opportunities for teachers to participate in creating tools for accurate evaluation of educational institutions and support the evaluation of standards in order to improve work styles.
3. The guidelines for the development of academic administration of school administrators under the Group United Campus of Suan Thepparat Thiptai Chaloem Phrakiat Pathumthani Province are as follows: 1) Curriculum development, the administrators should create a clear framework for learning and all parties participate in preparing the school curriculum. 2) Academic planning, the administrators should have a plan and set a clear academic work calendar. The plan may be flexible as appropriate. 3) In terms of teaching and learning management, the administrators encourage teachers to organize various activities that enhance knowledge and experience for students. 4) Development of the learning process, the administrators should encourage teachers to procure teaching media and produce learning media. Producing learning media should be specified in a form of project. 5) Educational supervision, the administrators should hold a meeting to plan the organization of the internal supervision system. A supervisory committee should be appointed to follow up with fairness. 6) Guidance, the administrators provide guidance in problem solving, exchange experiences, set precise guidance guidelines in accordance with regulations. 7) Regarding the development of internal quality assurance systems and educational standards, the administrators support sufficient media and equipment to meet the needs of preparing educational institution formulas.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|