-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for Classroom Research Promotion of School Administrators under the Uthai Thani Primary Education Service Area 2 according to Kalyànamitta-Dhamma 7
- ผู้วิจัยนายรัชพล เสิบกลิ่น
- ที่ปรึกษา 1พระมหาอุดร อุตฺตโร, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.ทนง ทศไกร
- วันสำเร็จการศึกษา14/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50994
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 32
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต ๒ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) หาแนวทางการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 283 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.951 และค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (LSD) การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 3.61, S.D. = .460) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้านแล้ว พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัย อยู่ในระดับมาก (x̅= 3.81, S.D. = .701) รองลงมา คือ ด้านการกำกับ ติดตาม การดำเนินการทำวิจัย อยู่ในระดับมาก (x̅= 3.57, S.D. = .643) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำวิจัย อยู่ในระดับปานกลาง (x̅= 3.88, S.D. = .919)
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์วิชาชีพ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนสถานภาพตำแหน่ง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีสถานภาพตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 มีแนวทางดังนี้ 1) ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ครูแสดงความคิดเห็นและความต้องการที่สนับสนุนการทำวิจัยของครูอย่างสุภาพ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการวางแผนโครงการและการกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน 2) ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าและการให้ความยอมรับนับถือครู ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างครูต้นแบบที่มีความรู้ด้านการวิจัยเป็นพี่เลี้ยงให้ครูคนอื่นๆ รู้จักพูดโน้มน้าวใจด้วยถ้อยคำที่สุภาพ แสดงความเชื่อมั่นในตัวครู และเป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำอยู่เสมอ 3) ด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัย พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่ครู และสามารถอธิบายให้ครูเข้าใจได้ และ 4) ด้านการกำกับ ติดตาม การดำเนินการทำวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างความตระหนักให้ครูเกี่ยวกับบทบาทในการวิจัย สนับสนุนให้ครูทำวิจัยอย่างเป็นมิตร เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการประเมินผลการวิจัย และเสนอความคิดเห็น ข้อสงสัยต่างๆ อย่างยุติธรรม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of the research were: 1) to study the conditions of classroom research promotion of school administrators under Uthaithani Primary Education Service Area Office 2, 2) to compare the opinions of the school administrators and the teachers toward the classroom research promotion of the school administrators under Uthaithani Primary Education Service Area Office 2 by classifying the personal factors, and 3) to find the guidelines for the classroom research promotion of the school administrators under Uthaithani Primary Education Service Area Office 2 according to Kalyàõamitta-dhamma 7 (qualities of a good friend). This research applied the Mixed Methods Research consisting of the Quantitative Research by collecting the data from 283 school administrators and teachers with the questionnaires having 0.951 of reliability and using frequency, percentage, standard deviation, t-test and F-test with One Way ANOVA and the Least Significant Difference: LSD for the data analysis, and the Qualitative Research by collecting the data from 9 key informants with the Semi-structured Interviews and the content analysis for the data analysis.
The research results were as follows:
1. Overall, the conditions of classroom research promotion of the school administrators under Uthaithani Primary Education Service Area Office 2 were at a high level (x̅ = 3.61, S.D. = .460). When considering each aspect, it found that the research promotion and support was at the highest level (x̅= 3.81, S.D. = .701). Then, it was the research monitoring (x̅= 3.57, S.D. = .643). However, the basic knowledge of the research was at the lowest level (x̅ = 3.48, S.D. = .919).
2. The results of comparing the opinions of the school administrators and the teachers toward the classroom research promotion of the school administrators under Uthaithani Primary Education Service Area Office 2 by classifying the personal factors found that the school administrators and teachers having the different gender, age, degree of education, and professional experience did not have the different opinion at the .05 of statistical significance. Therefore, the research hypothesis was denied. However, the school administrators and teachers having the different position status had the different opinion at the .01 of statistical significance. Therefore, the research hypothesis was accepted.
3. The guidelines for the classroom research promotion of the school administrators under Uthaithani Primary Education Service Area Office 2 according to Kalyàõamitta-dhamma 7 were: 1) the research promotion and support found that the school administrators should give the opportunity to the teachers in expressing their opinions and the demand supporting their research politely, including the participation in project planning and setting the objectives together, 2) the progress promotion and respecting teachers found that the school administrators should create the master teacher having the research knowledge as the mentor, speak persuasively with the polite speech, have confidence in the teacher and be the mentor to always give advice, 3) the basic knowledge of the research found that the school administrators should have the knowledge and understanding of the research process and self-development to be the model for the teachers and be able to explain to the teachers, and 4) the research monitoring found that the school administrators should make the awareness to the teachers for their role in the research, support the teachers for the researcher, give the opportunities for all parties to participate in the research evaluation and express the opinions and doubts fairly.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|