-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Managing Administration of Religious Properties of the Temples in Chonburi Province
- ผู้วิจัยพระครูวิชิตกิจจาภิวัฒน์ จนฺทโชโต (เรืองศรี)
- ที่ปรึกษา 1พระสุธีวีรบัณฑิต
- ที่ปรึกษา 2พระปลัดรพิน พุทฺธิสาโร
- วันสำเร็จการศึกษา03/04/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 638
- จำนวนผู้เข้าชม 489
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษากระบวนพัฒนาการบริหารการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรี 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติฃองวัดในจังหวัดชลบุรี
ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม คือ การศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 317 ชุด ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป/คน รวมทั้งการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 รูป/คน ดำเนินการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาความ ตามลำดับดังต่อไปนี้
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของพระสังฆาธิการมีความคิดเห็นต่อสภาพทั่วไปในการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรี สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่พระสังฆาธิการในจังหวัดชลบุรีจำแนกตามสถานภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรีตามหลักการจัดการด้านการวางแผนโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
(X bar=3.87) และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันมาก (S.D.=0.669) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกข้อและเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในระดับมาก
2.ด้านกระบวนการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรี ตามหลักการจัดการด้านการควบคุม โดยภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (X bar=4.07) และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันมาก (S.D.=0.653) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกข้อและเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในระดับมาก ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1). ด้านการวางแผน พระภิกษุ สามเณร และประชาชนเป็นนโยบายหลักในการส่งเสริมและพัฒนาการที่อย่างยั่งยืนนั้น 2). ด้านการจัดองค์กร ต้องคำนึงถึงศักยภาพความสามารถ ในการรองรับของพื้นที่ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง พระสังฆาธิการควรยึดเอาหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการ ที่สำนักงานศาสนสมบัติได้ถวายคำแนะนำไว้
3).ด้านการจัดคนเข้าทำงาน พระสังฆาธิการต้องมีความรู้และความเข้าใจดูคนว่ามีประสบการณ์มากน้อยหรือเข้าใจเฉพาะด้าน 4). ด้านการสั่งการ นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ลำพังอาศัยพระสังฆาธิการเพียงรูปเดียวไม่สามารถขับเคลื่อนภารกิจการดูแลรักษาศาสนสมบัติของวัดไปได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย 5). ด้านการควบคุม ใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นให้มากที่สุด โดยองค์กรของรัฐเป็นผู้สนับสนุนการปฏิบัติงาน
3. นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติฃองวัดในจังหวัดชลบุรี ดังนี้ พระสังฆาธิการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่จะประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อเป็นเครื่องมือในการที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ ในคณะสงฆ์เป็นแนวทางการสร้างความสุข ความเจริญ เป็นการพัฒนาการดูแลรักษาศาสนสมบัติของวัด เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงการบูรณาการด้วยการพิจารณา เพื่อหาแนวทางออกที่ดีและเหมาะสมกับการพัฒนาการดูแลรักษาศาสนสมบัติของวัด ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ให้มีรูปแบบสอดคล้องตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ดังนี้ พบว่า พระสังฆาธิการกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อสภาพการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรีตามหลักอิทธิบาท 4 ในด้านฉันทะ ความพึงพอใจโดยผลรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย มาก (X bar= 4.02) และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันมาก (S.D.= 0.632) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกข้อ และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในระดับมาก คือ ด้านฉันทะ ความมีใจรักใคร่สิ่งที่ทำ และ พอใจใฝ่รักในจุดหมายของสิ่งที่ทำนั้นอยากทำสิ่งนั้นๆ ให้สำเร็จอยากให้งานนั้นหรือสิ่งนั้นบรรลุ พูดง่ายๆ ว่ารักงานและรักจุดหมายของงานพูดให้ลึกลงไปในทางธรรมว่าความรักความใฝ่ใจปรารถนาต่อภาวะดีงาม เต็มเปี่ยมสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ มีงานเมื่อไร ก็จะทำด้วยความเต็มอกเต็มใจด้วยความสุขใจ เต็มใจทำ พบว่า พระสังฆาธิการกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อสภาพการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรีตามหลักอิทธิบาท 4 ในด้านวิริยะ ความพึงพอใจโดยผลรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (X bar= 3.94) และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันมาก (S.D.= 0.673) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกข้อ และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในระดับมาก คือ ด้านวิริยะ วีระ แปลว่า กล้า ก็คือ มีความกล้าที่จะผจญกับ อุปสรรคทุกชนิด เห็นอุปสรรคแล้วมีความรู้สึกเหมือนทารกเห็นขนม พบว่า พระสังฆาธิการกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อสภาพการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรีตามหลักอิทธิบาท 4 ในด้านจิตตะ ความพึงพอใจโดยผลรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย มาก (X bar= 3.81) และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันมาก (S.D.= 0.719) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกข้อ และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในระดับมาก คือ ด้านจิตตะ ความเข้าใจงานหมายถึง มีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก เรียกว่าตั้งใจทำ คนที่ขาดจิตตะ เปรียบเหมือนน้ำประปาที่ ไหลๆ หยุดๆ ใช้เวลาเท่ากันแต่ประสิทธิภาพอาจแตกต่างกัน พบว่า พระสังฆาธิการกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อสภาพการพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรีตามหลักอิทธิบาท 4 ในด้านวิมังสา ความพึงพอใจโดยผลรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย มาก (X bar= 3.88) และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันมาก (S.D.= 0.710) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกข้อ และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในระดับมาก คือ ด้านวิมังสา ความตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้นๆ หมายความว่า ใช้ปัญญาสอดส่อง เทียบเคียงเปรียบเทียบ ทั้งเหตุทั้งผลในความการงานต่างๆ ที่ตนกระทำแล้ว คือ ย้อนกลับไปดูว่าตนได้ทำเหตุปลูก ฉันทะ ใช้วิริยะ ได้ตั้งจิตตะในการนั้นๆ ไว้มากน้อยเท่าไรแล้วได้ผลเท่าไร หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และ ตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวิเคราะห์ วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น ก็จะได้งานที่มีคุณภาพที่สุด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were : (1) to study the general state about development towards religious assets management of temple in Chonburi province,
(2) to study the process of development towards religious assets management of temple in Chonburi province, (3) to present the quideline for development towards religious assets management of temple in Chonburi province. This research was the mixed method research between the quantitative research is used the sample for 317 sets and data analysis is used by ready programme of social science though questionnaire and the data analysis used the statistic description , percentage, mean, standard deviation and the qualitative research by the in-depth interview from 17 key informants and process focus group discussion and then to analyze and present the data through descriptive as following :
The findings of this research as follows :
1. The opinion level of Sangha administrators had the opinion to the general state about development towards religious assets management of temple in Chonburi province that status of questionnaire correspondents are Sangha administrators such as Sangha administrators in Chonburi province that classified by status, found that the sample had the opinion to the development towards religious assets management of temple in Chonburi proince according to planning management in overall , was at high level
(X bar=4.87) and had the opinion along with agreement at high level (S.D.= 0.669). When considered in each aspect found that the sampling group had the opinion was at high level in all aspects and had the opinion along with agreement at high level.
2. The process of development towards religious assets management of temple in Chonburi province, 1) The planning ; the monks , novices , people are the policy to promote and develop sustainably. 2) The organization management ; realized the potential and ability accept the place and rule about Sangha administrators should have the principle , stage at office of religious assets to offer the advise. 3) Personnel management; Sangha administrators should have knowledge and understanding the to see the high or low experience. 4) The Command ; it is important but only Sangha administrator can not move ahead for activity for looking after the religious asset of temple must have the cooperation. 5) The controlling ; use the principle of people participation and local community through the support of government.
3. To present the guideline for development towards religious assets management of temple in Chonburi province such as Sangha administrator have the major role for applying the Iddhibaha IV for the tool to work successfully. The Sangha organization should have happiness, development, to take care of religious assets of temple. When analyze the integrated data through consideration for the way to find out properly for assets of temple. At the present , it has the form along with Iddhibatha IV such as Chanta, Viriya, Citta, Vimangsa. For the Chanta, has the love to work , satisfied with objective that to get the success or attain the objectives and has the love , good wish , be happy to work. The Viriya, Vira means brave , has the adventure , obstacle , to see the obstacle is like a piece of cake. Viriya happens with other people will work hard in each year. Viriya has importance for working hard that will get the success. The Citta, means understanding , quiet mind , no change the mind, mind is important to work effectively. 4) Vimangsa means to consider many reasons that it means to use wisdom , it will be good to think twice , Viriya like to work hard, to consider the cause and reason, should check , analysis, examination , improvement and then will work efficiently.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.36 MiB | 638 | 16 ก.พ. 2564 เวลา 22:13 น. | ดาวน์โหลด |