-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ตามหลักอิทธิบาท 4
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for Academic Administration in the 21st Century of School Administrators in Phichit Elementary Education Area 2 according to the Principle of Iddhipãda 4
- ผู้วิจัยนางสาวกรองแก้ว บุญเผือก
- ที่ปรึกษา 1พระธรรมวชิรธีรคุณ, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาอุดร อุตฺตโร, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา14/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51010
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 109
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) หาแนวทางการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ตามหลักอิทธิบาท 4 ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับความคิดเห็นสภาพการบริหารวิชาการในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และการทดสอบค่า F-test โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านแล้ว พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา ด้านการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 โดยจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
3. แนวทางการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ กำกับ ติดตามผลการพัฒนา และการนำผลการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัด PLC อย่างต่อเนื่องจะช่วยเสริมสร้างทักษะและความคิดสร้างสรรค์ของครู สร้างแรงบันดาลใจให้กับครูในการสอนอย่างมีความสุขและมุ่งมั่น ตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3) ด้านการนิเทศการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรวางแผนเตรียมความพร้อมด้านการนิเทศการศึกษาในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ 4) ด้านสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความรู้ในเรื่องสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี คอยช่วยเหลือ สนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเหมาะสม 5) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรวางแผนการจัดอบรมด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยสำรวจความต้องการและความพึงพอใจของครูในเรื่องที่ครูสนใจและอยากพัฒนาตนเอง 6) ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการกำหนดแนวทางการวัดผล และประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา ส่งเสริมการนำผลการนิเทศมาปรับปรุงการวัดผลประเมินผลการเรียนอย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this study were: 1) to study the academic administration conditions in the 21st century of school administrators under Phichit Primary Education Area Office 2, 2) to compare the opinions of the school administrators and the teachers toward the academic administration in the 21st century of the school administrators under Phichit Primary Education Area Office 2 by classifying the personal factors, and 3) to find the guidelines for the academic administration in the 21st century of the school administrators under Phichit Primary Education Area Office 2 according to the principle of Iddhipãda 4 (path of accomplishment). This research applied the Mixed Methods Research consisting of the Quantitative Research by collecting the data from 361 school administrators and teachers with the questionnaires having 0.86 of reliability and using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test with One Way ANOVA for the data analysis, and the Qualitative Research by collecting the data from 9 key informants with the Semi-structured Interviews and the content analysis for the data analysis.
The research results were as follows:
1. Overall, the academic administration conditions in the 21st century of school administrators under Phichit Primary Education Area Office 2 were at the middle level. When considering each aspect, it found that the educational supervision was at the highest level. Then, it was the teaching and learning management. However, the media, innovation and educational technology was at the lowest level.
2. The results of comparing the opinions of the school administrators and the teachers toward the academic administration in the 21st century of the school administrators under Phichit Primary Education Area Office 2 by classifying the personal factors found that the school administrators and teachers having the different gender, degree of education, and work experience did not have the different opinion at the .05 of statistical significance.
3. The guidelines for the academic administration in the 21st century of the school administrators under Phichit Primary Education Area Office 2 according to the principle of Iddhipãda 4 consisted of 1) the school curriculum development found that the school administrators should plan the school curriculum development systematically, monitor the results of the development, and apply the results of the school curriculum evaluation for the development continuously, 2) the teaching and learning management found that the school administrators should provide PLC (Professional Learning Community) continuously to reinforce the skills and the creative thinking of the teachers, make the inspiration to the teacher in teaching happily, and intend to the educational quality development, 3) the educational supervision found that the school administrators should plan to prepare for the educational supervision in the schools systematically, 4) the media, innovation and educational technology found that the school administrators should have the knowledge of the media, innovation and technology, and help to support the budget appropriately, 5) the research for the educational quality development found that the school administrators should plan to provide the training in the research for the educational quality development by surveying the demands and satisfaction of the teachers on items that the teachers interested in and wanted to develop, and 6) the learning measurement and evaluation found that the school administrators should specify the guidelines for the learning measurement and evaluation in the schools, promote the application of the educational supervision results for improving the learning measurement and evaluation continuously.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|