-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามหลักโยนิโสมนสิการ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment Guidelines of Creative Leadership of School under Nakhonsawan Primary Educational Service Area Office 2 according to the Yonisoomanasikara
- ผู้วิจัยนางสาวยุพาวดี มหาหิง
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ธานี เกสทอง
- ที่ปรึกษา 2พระมหาอุดร อุตฺตโร, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา14/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51012
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 60
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามหลักโยนิโสมนสิการ การวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบผสานวิธี โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสภาพภาววะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น 0.83 แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือวิจัยเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅.32) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม (x̅.48) รองลงมา ได้แก่ด้านความคิดสร้างสรรค์ (x̅.39) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านมีวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับปานกลาง (x̅.08)
2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามหลักโยนิโสมนสิการ ดังนี้ 1) ด้านความสามารถในการปรับตัว ผู้บริหารควรเป็นคนที่ยืดหยุ่นในการทำงาน โดยรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นใหม่เพื่อปรับปรุง ควรเข้าใจผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และพิจารณาการพัฒนาสถานศึกษาอย่างละเอียดเพื่อสนับสนุนความร่วมมือและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ ควรพิจารณาเรื่องการสืบค้นเหตุปัจจัย, การแบ่งส่วนประกอบ, การเรียนรู้จากประสบการณ์, ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและพฤติกรรม, การพิจารณาความผิดและการหาทางออก, คุณค่าแท้และคุณค่าทางสังคม, การกระตุ้นความถูกต้องผ่านวิธีการอุบาย, และการเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการในสถานศึกษา 2) ด้านการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารที่ดีควรมีคุณธรรมและเป็นผู้นำที่รับฟังความคิดเห็นจากทีม ควรศึกษาและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการทำงาน มีแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาเชื่อถือได้ สร้างกระบวนการแก้ปัญหา และตัดสินใจโดยการแยกความจำเป็นและความสำคัญ นำประสบการณ์มาปรับปรุงและสร้างแผนการดำเนินการตามลำดับขั้นตอน และแยกแยะประเด็น คำนวณเหตุผลในการพัฒนาความเข้าใจต่อบทบาทและการทำงานของผู้บริหารและผู้อื่น 3) ด้านความคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารควรมีความสามารถในการคิด แก้ปัญหา สร้างสรรค์ และมองเห็นสิ่งใหม่ๆ อย่างสร้างสรรค์ การศึกษาหาเหตุหรือปัจจัยในการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นหรือมุมมองใหม่ของผู้อื่น การวิเคราะห์ปัญหาและพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหาของผู้บริหารกับการเปิดใจรับฟังความคิดเห็น การพิจารณาคุณโทษและหาทางออก การคิดจำแนกอย่างแท้จริงและจำเป็น การนำเอารูปแบบและข้อมูลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาตนเองและต่อผู้อื่น การใช้ประสบการณ์ในการพัฒนาตนเองและให้ประโยชน์ต่อคนอื่น การนำเอาประสบการณ์และสภาพปัญหามาเป็นข้อมูลสารสนเทศ การจำแนกแยกแยะ และคิดเป็นเหตุและผลในการพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นการก้าวหน้าที่สำคัญในการเป็นผู้บริหารที่เปิดใจรับฟังความคิดเห็นและมุมมองใหม่ๆ ของผู้อื่น และ 4) ด้านมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารควรมีความสามารถในการคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และวางแผนด้านวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาสถานศึกษา โดยใช้วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัยและแบบสามัญลักษณ์ เพื่อสร้างกระบวนการแก้ปัญหาและปรับปรุงการบริหารให้เป็นแบบอย่างที่ดีและมีประโยชน์ต่อบุคลากรและสิ่งแวดล้อมในด้านการบริหาร การวางแผนทางวิสัยทัศน์เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาด้วยการนำประสบการณ์และความรู้มาปรับปรุงตามแนวคิดในอดีตและปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันในการพัฒนาผู้บริหารด้วยแนวคิดเมตตาและใส่ใจ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research aims to: 1) study the creative leadership qualities of school administrators in Nakhon Sawan Educational Area Office 2, and 2) find development strategies for creative leadership qualities of school administrators in Nakhon Sawan Educational Area Office 2, based on the principles of Yonisomanasikarn . This research is a mixed-method study, employing quantitative research methods to collect data from a sample group of administrators and teachers in Nakhon Sawan Educational Area Office 2, totally 302 individuals. The research tool used is a questionnaire with a reliability coefficient of 0.83. The data analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation, and qualitative research is conducted through structured interviews with 9 key informants. The data analysis from the interviews is using content analysis.
Research findings
1. The creative leadership of the educational administrators of Nakhon Sawan Educational Service Area Office 2 is generally at a moderate level. When considering various aspects, it is found that the aspect with the highest average score is teamwork, which is at a moderate level. The next aspect, creative thinking, is at a moderate level as well. As for the aspect with the lowest average score, it is vision, which also falls within the moderate level.
2. Developing guidelines of the creative leadership qualities of educational administrators under the jurisdiction of Nakhon Sawan Educational Service Area Office 2, according to the principles of Yonisomanasikarn, are as follows: 1) In terms of adaptability, educational administrators should be flexible in their approach to work, actively listening to new information and ideas for improvement. They should understand the impacts of various changes and carefully consider detailed school development to support cooperation and beneficial changes. They should consider factors such as root cause analysis, component decomposition, learning from experiences, the relationship between beliefs and behaviors, consideration of faults and solutions, intrinsic and societal values, encouraging correctness through persuasion, and understanding current situations to address problems and promote school development. 2) In terms of teamwork, effective educational administrators should possess integrity and be leaders who listen to team input. They should study and analyze events affecting their work, provide avenues for promoting trust, establish problem-solving processes, and make decisions by distinguishing between necessity and importance. They should use experiences to improve and develop sequential action plans, and prioritize issues. They should reason through the development of understanding regarding the roles and work of both themselves and others. 3) In terms of creative thinking, administrators should have the thinking ability, problem-solving, innovate, and new envision creatively. They should causes seeking or factors by being open to listening to others' ideas or new perspectives. Analyzing problems and considering the relationship between the administrators' problem situations and their openness to feedback, considering faults and finding solutions, thinking critically and objectively, and using patterns and data to improve and develop themselves and others. Using experiences for personal development and benefiting others, using experiences and problem situations as information, distinguishing and thinking about causes and effects for self-development. These are significant steps toward being administrators who are open to listening to others' ideas and new perspectives. 4) In terms of vision, administrators should have the anticipate future events ability and develop a vision plan to enhance the educational institution. They should use causal and normative thinking methods to create problem-solving processes and improve management practices for the benefit of staff and the environment. Vision planning should set goals and development directions by using experiences and knowledge to improve based on past ideas and adapt to current situations. Developing administrators with empathy and consideration involves implementing a vision plan with compassion and care.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|