-
ชื่อเรื่องภาษาไทยพุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคล
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Communication Innovation for Promoting Personal Financial Planning
- ผู้วิจัยนายขวัญตระกูล บุทธิจักร
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.บุญเลิศ โอฐสู
- ที่ปรึกษา 2พระศรีธรรมภาณี, รศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา31/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธนวัตกรรมการสื่อสาร
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51026
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 132
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)ศึกษาการวางแผนการเงินส่วนบุคคล 2)วิเคราะห์การสื่อสารพุทธธรรมที่ส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคลและ 3)นำเสนอพุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิจัยทางเอกสารโดยเก็บข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำรา หนังสือ งานวิจัยและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. การวางแผนการเงินส่วนบุคคล ว่าด้วยความรู้พื้นฐานทางการเงิน4 ด้าน คือ การหารายได้ การเก็บออม การใช้จ่าย และการลงทุน มีขั้นตอนและวิธีการในการวางแผน 5 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินสถานะทางการเงิน 2) การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน 3) การกำหนดทางเลือกและประเมินทางเลือก 4) การสร้างและปฏิบัติตามแผนการเงินส่วนบุคคล และ 5) การติดตาม ประเมินและปรับปรุงแผนการเงินส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และการวางแผนการเงินส่วนบุคคลนั้น จะสำเร็จได้ต้องอาศัยคุณสมบัติสำคัญที่อยู่ในตัวบุคคล 3 ประการ คือ 1)ความรับผิดชอบทางการเงิน 2) ความรู้ทางการเงินและ 3) วินัยทางการเงิน
2. พุทธธรรมที่ส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคล คือกามโภคีสุข 4 (การตั้งเป้าหมายทางการเงิน) งดเว้นอบายมุข 6 (ป้องกันการขาดรายได้) ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 (ส่งเสริมการหารายได้) โภควิภาค 4 (จัดสรรเงินที่หามาได้) โภคาทิยธรรม 5 (การใช้จ่าย) และปาปณิกธรรม 3 (การลงทุน)นอกจากนี้ยังมีหลักการเจริญสติ พัฒนาปัญญา และพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณ์เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินส่วนการสื่อสารพุทธธรรมที่ส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคลนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อสอนให้การศึกษา ในลักษณะการสื่อสารระหว่างบุคคลและการสื่อสารภายในองค์กรในรูปแบบผสมผสานระหว่างการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทางโดยวิธีการบรรยายโวหารเทศนาตามแนวบุคลาธิษฐาน มีองค์ประกอบการสื่อสารประกอบด้วย พระพุทธเจ้าเป็นผู้ส่งสาร เนื้อหาสารคือพุทธธรรมว่าด้วยการตั้งเป้าหมายทางการเงิน การหารายได้ การจัดสรรทรัพย์ที่หามาได้ การใช้จ่าย การลงทุน และการส่งเสริมวินัยทางการเงิน โดยการพูดด้วยสื่อภาษาและสื่อธรรมชาติ ไปยังผู้รับสารหลาย ๆ กลุ่มมีทั้งพระภิกษุสงฆ์ พราหมณ์ เศรษฐี และเด็กหนุ่ม
3. พุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ส่งเสริมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล (องค์ความรู้จากการวิจัย) คือ “SROMC Model เพื่อการสื่อสารส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคล” (Sender’s Qualification, Receiver’s Characteristics, Objective of Communication, Message,Chanel)ผู้สื่อสารนำพุทธนวัตกรรมการวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่มีหลักโภควิภาค 4 เป็นหลักธรรมแกนกลาง ไปสื่อสารให้ผู้รับสารเป้าหมายรับรู้ เข้าใจตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยวิธีการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์แบบสองทางผ่านสื่อดิจิทัลสมัยใหม่ที่มีความสะดวด รวดเร็ว รองรับการส่งสารในรูปแบบภาพ เสียง และข้อความได้ในเวลาเดียวกันโดยทุกขั้นตอนของการสื่อสารผู้สื่อสารต้องมีจิตที่มุ่งประโยชน์สูงสุดของผู้รับสารเป็นที่ตั้ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this dissertation encompassed 1) to investigate personal financial planning; 2) to analyze the Buddhist communications that support personal financial planning; and 3) to propose a Buddhist communication innovation for promoting personal financial planning. This study was a qualitative research, emphasizing the documentary research to collect data from the Tipitaka, textbooks, books, research, and other related documents. A content analysis was used to present descriptive data analysis.
The results of the study were found as follows:
1. Personal financial planning concerning the four basics of financial literacy consisted of earning, saving, spending, and investing, with the following five steps of planning including 1) assessing financial status; 2) setting financial goals; 3) determining options and evaluating them; 4) creating and following a personal financial plan; 5) monitoring, evaluating, and improving the personal financial plan continuously, and the study revealed that personal financial planning would have been successful because of the three important qualities of a person encompassing 1) financial responsibility; 2) financial literacy; and 3) financial discipline.
2. The Buddhadhamma promoting the personal financial planning encompassed the four sensual pleasures Kāmabhoga-Sukha (setting financial goals), the six gates of destruction (Apāyamukha) (preventing lack of income), and the four temporal objective or present benefit (Diṭṭhadhammikattha-Samvattanika-Dhamma) (encouraging the quest of income), the four principles for dividing wealth (Bhoga-Vibhāga) (allocation of money earned), the five benefits to be derived from wealth (Bhogādiya-Dhamma) (spending), and the three qualities of a successful shopkeeper or business man (Pāpaṇika-Dhamma) (investment); the Buddhadhamma, in addition to promote financial discipline by cultivating mindfulness, developing wisdom and considering the subject of recollection (Abhinhapaccavekkhaṇa); for encouraging personal financial planning through the communication of Buddhadhamma, it aimed to give receiver education between interpersonal and organizational communication in a combination form of one-way and two-way communication;and its forms were conveyed by the manner of descriptive and doctrinal phrases through messengers and content, which played a key role in communication as the Buddha being a sender, while his teachings as the content focusing on financial goal setting, income earning, asset allocation, spending, investment, and financial discipline, by conversing verbally and non-verbally with numerous group receivers, including disciples, brahmins, wealthy people, and youngsters.
3. The Buddhist communication innovation promoting personal financial planning (knowledge from research) is the "SROMC Model for Communication to Promote Personal Financial Planning" (Sender's Qualification, Receiver's Characteristics, Objective of Communication, Message, Chanel), showing that the communicator delivered Buddhist innovation in personal financial planning attaching the criteria of the four principles for dividing wealth (Bhoga-Vibhāga) as the core idea, withsuch knowledge to be communicated to the targeted audience according to the objectives; anda two-way interactive communication method through modern digital media was more convenient, fast and supported the sender in the form of images, sound, and text at the same time, indicating that in every step of communication, the communicator had to focus on the highest benefit for the receiver.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|