-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษIntegrating Buddha-dharma for Promoting Local Politicians’ Role in Participatory Solid Waste Management of Pa Mat Sub-District Municipality. Mueang Phrae District, Phrae Province District in Phrae Province.
- ผู้วิจัยนางสาวสิฎฐิณิศา ธราสกุลปกรณ์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สายัณห์ อินนันใจ
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สมจิต ขอนวงค์
- วันสำเร็จการศึกษา25/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51031
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 89
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต 3) เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วิธีดำเนินการเป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 385 คน จากประชากรในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ทั้งหมด 10,114 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ปัจจัยระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยใช้วิธีการหาค่าถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับหลักสังคหวัตถุ 4 กับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X= 3.75) และบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X= 3.82)
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ที่ส่งผลต่อการ บูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก จึงยอมรับสมมติฐาน
3. การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 พบว่า 1) ด้านทาน : การให้ความรู้ ความเข้าใจ จัดกิจกรรมรณรงค์ในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน จัดสถานที่แหล่งการเรียนรู้ คอยแนะนำให้คำปรึกษา สร้างเสริมรายได้จากขยะภายในชุมชน 2) ด้านปิยวาจา : การใช้ถ้อยคำที่สุภาพเข้าใจง่าย ถ้วยคำที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่สามารถปฏิบัติได้จริง เป็นประโยชน์ในการจัดการขยะมูลฝอย การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้แต่สอดแทรกด้วยความรู้ด้านการจัดการขยะมูลฝอย 3) ด้านอัตถจริยา : การประพฤติประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับขยะในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันถ่วงที เพื่อจะได้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนอย่างเต็มที่ เป็นแบบอย่างที่ดี 4) ด้านสมานัตตตา : ความเสมอต้นเสมอปลาย การประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องและไปในทิศทางเดียวกัน ทำเป็นแนวเดียวกันไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนในชุมชนแต่ละพื้นที่
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this thesis were: 1) To study the level of role of local politicians in participatory solid waste management of Pa Mat Subdistrict Municipality. 2) To study factors affecting the role of local politicians in participatory solid waste management of Pa Mat Subdistrict Municipality. 3) To propose the integration of Buddha-dhamma for promote the role of local politicians in participatory solid waste management of Pa Mat Subdistrict Municipality. Mueang Phrae District, Phrae Province, conducted by the mixed research methods. The quantitative research used exploratory research methods to collect data from 385 samples derived from the population of Pa Mat sub-District a total of 10,114 people using Taro Yamane's formula, analyzing data by determining frequency, percentage, mean, standard deviation, and analyzing the factors between the Saṇgahavatthu 4 and the integration of Buddha Dharma to promote the role of local politicians in the participatory solid waste management of Pa Mat Subdistrict Municipality, using the multiple regression. The qualitative research. Data were collected by in-depth interviewing 9 key informants.analyzed by contextual content analysis techniques and presented as an essay with a table of frequency breakdowns of key informants to support quantitative data.
Findings were as follows:
1. Saṇgahavatthu 4 and the role of local politicians in the participatory solid waste management of Pa Mat Sub-District Municipality were at high level of average (X = 3.75) and the role of local politicians in the participatory solid waste management of Pa Mat Municipality. Mueang Phrae District, Phrae Province, by overall, were at high level (X= 3.82)
2. Factors affecting the role of local politicians in participatory solid waste management of Pa Mat Sub-District Municipality according to the Saṇgahavatthu 4 principle, which affected the integration of Buddha-dhamma to promote the role of local politicians in the participatory solid waste management of Pa Mat Sub-District Municipality was found that the correlation coefficient between the resulting variables with statistically significantlevel at 0.01, with high correlation, thus, the set hypothesis was accepted.
3. Integration of Saṇgahavatthudharma to promote the role of local politicians in the participatory solid waste management of Pa Mat Sub-District Municipality, using the principle of Sanghavatthu 4, was found that: 1) Dāna, giving, sharing; giving knowledge, sharing understanding, by organizing a campaign on solid waste management in the community, providing learning resources, providing advice, and creating income from waste within the community. 2) Piyavāca, kindly speech; polite phrasing, easy to understand, a word with practical content, useful in solid waste management, public relations campaigns to create awareness and incorporate knowledge on solid waste management. 3) Atthacariyā, useful conduct; conducting for the benefit of oneself and others to help solve the problem of waste in the community quickly, able to solve immediate problems in a timely manner so that it can fully benefit the people in the community and being a good role model. 4) Samānattatā, equal treatment; consistency behaving as a role model for the community continuously and in the same direction. This is done in a uniform manner without discrimination for the benefit of everyone in each community.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|