โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นตำบลห้วยโรง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษParticipatory Political Culture Based on Buddhism of the People in the Election of Local Leaders in Huai Rong Rong Kwang District, Phrae Province
  • ผู้วิจัยนางสาวกนกพรรณ เหมืองเพิ่ม
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สมจิต ขอนวงค์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สายัณห์ อินนันใจ
  • วันสำเร็จการศึกษา25/06/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51033
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 44

บทคัดย่อภาษาไทย

วัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์นี้ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นตำบลห้วยโรง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรมกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นตำบลห้วยโรง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นตำบลห้วยโรง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 341 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จากจำนวนประชากรทั้งหมด 2,310 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรมกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นตำบลห้วยโรง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นตำบลห้วยโรง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X= 3.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (X= 3.51) ด้านการติดต่องานของประชาชน (X= 3.40) ด้านการรณรงค์หาเสียง (X= 3.39) ด้านการร่วมในกิจกรรมขององค์กร (X= 3.23)

2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรมกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นตำบลห้วยโรง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก (r = .869**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน

3. แนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมตามหลักอปริหานิยธรรมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นตำบลห้วยโรง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ด้านการประชุมกันเนืองนิตย์ ควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุม โดยต้องมีความเสียสละเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ด้านความพร้อมเพรียงกันประชุม ควรส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญความพร้อมเพรียงกันในการประชุม รักษาเวลาในการประชุมและไม่ควรประชุมเรื่องอื่นที่ไม่อยู่ในวาระการประชุม ด้านการไม่ตั้งกฎระเบียบที่ขัดกับระเบียบเดิม ควรส่งเสริมให้ประชาชนศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และสามารถให้ความรู้แก่ผู้อื่นเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ด้านการให้ความเคารพนับถือผู้อาวุโส ควรส่งเสริมให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรักษาสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ด้านการให้ความเคารพต่อสุภาพสตรี ควรส่งเสริมการให้เคารพสิทธิเสรีภาพของสุภาพสตรีในการปกครอง และการให้เกียรติซึ่งกันและกันในการแสดงออกทางการเมือง ด้านความเคารพนับถือบูชาปูชนียสถานทั้งหลาย ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีความเคารพและให้ความสำคัญต่อสถานที่จัดกิจกรรมทางการเมือง และให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งภายในชุมชน และด้านอำนวยความสะดวกผู้นำทั้งหลายโดยชอบธรรม ควรส่งเสริมให้ประชาชนใช้สิทธิของตนเองตามกฎหมายในการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่น และร่วมยินดีกับผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้นำท้องถิ่นด้วยความเต็มใจ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this Research Paper were: 1) To Study the Level of Participatory Political Culture of the People in the Election of Local Leaders in Huai Rong District, Phrae Province. 2) To Study the Relationship Between the Principle of Aparihāniyadhamma and the Participatory Political Culture of the People in the Election of Local Leaders in Huai Rong Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province. 3) To Propose Guidelines for Promoting Participatory Political Culture Based on Buddhism Among the People in the Election of Local Leaders in Huai Rong Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province. The Research Methodology was the Mixed Research. The Quantitative Research, Using Survey Methods. The Samples Used in the Research were 341 People, Derived from a Total Population of 2,310 Analyzed the Data Using Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, and Pearson Correlation Coefficient. The Qualitative Research Collected Data by In-Depth Interviewing 10 Key Informants Analyzed by Contextual Content Analysis Techniques and Presented as an Essay to Illustrate The Frequency of Key Informants.

Findings were as Follows:

1. The Level of Political Culture with Citizen Participation in the Election of Local Leaders at Huai Rong Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province According to Aparihāniyadhamma, by Overall, was at Moderate Level (X= 3.44). When each aspect is considered, it is found that Election Voting (X= 3.51) Coresponding of People (X= 3.40) Election Campaign (X= 3.39) Participation in organizational activities (X= 3.23)

2. The Relationship Between Aparihāniyadhamma and the Participatory Political Culture Based on Buddhism of the People in the Election of Local Leaders at Huai Rong Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province was at Very High Level of Positive Correlation (r = .869) with Statistically Significant Level of 0.01, ธhus the Set Hypothesis was Accepted.

3. Guidelines for Promoting Participatory Political Culture Based on Aparihāniyadhamma in the Election of Local Leaders at Huai Rong Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province were as Follows: 1) Meetings; People Should be Encouraged to Participate in the Meeting, People Should be Encouraged to Sacrifice for Others Benefits more Than One qwn Benefits. 2) Meeting in Unison; People Should be Encouraged to See the Importance of Unison in Meetings. Keep the Meeting Time and do not Meet Other Matters that are not on the Agenda. 3) Non-ฎstablishment of Regulations that are Contrary to the Old Regulations; People Should be Encouraged to Study Election Laws and be Able to Educate Others about Legitimate Elections. 4) Reespecting the Elders; People Should be Encouraged to See the Importance and Encourage the Elderly to Maintain Their Right to Vote in Elections Legally. 5) Respect for Women; There Should be PromotIon for Respecting Women's Right to Freedom to Participate in Administration and Mutual Respect for Political Expression Should be Promoted. 6) Respect for the Shrines and Sacred Places; People Should be Encouraged to Respect and Value Political Venues, and People Should Participate as Standing Committees at Polling Stations with in the Community. 7) Facilitating Rightful Leaders; People Should be Encouraged to Exercise Their Legal Rights to Elect Local Leaders and Congratulate Those Who are Elected as Local Leaders Willingly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ