โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การส่งเสริมพุทธนวัตกรมมสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนของนักการเมืองท้องถิ่น ในเทศบาลตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPromoting Buddhist Innovation for Community Development of Local Politicians at Yod Sub-District Municipality in Song Khwae District of Nan Province
  • ผู้วิจัยนายชยพล กาซาว
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สมจิต ขอนวงค์
  • ที่ปรึกษา 2พระครูโสภณกิตติบัณฑิต, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา25/06/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51037
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 57

บทคัดย่อภาษาไทย

สารนิพนธ์เรื่อง“การส่งเสริมพุทธนวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนของนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาชุมชนของนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธนวัตกรรมสังคมกับการพัฒนาชุมชนของนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมพุทธนวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนของนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน วิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.796 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยสุ่มตัวอย่าง 340 คน จากประชากรทั้งหมด 2,265 คน จากสูตรของทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane) ซึ่งใช้ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์แนวทางของการส่งเสริมพุทธนวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนของนักการเมืองท้องถิ่น ในเทศบาลตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน โดยใช้วิธีการหาค่าค่าสัมพันธ์ประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์สัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ

ผลการวิจัยพบว่า

1) ความคิดเห็นหลักภาวนา 4 กับการพัฒนาชุมชนของนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลยอด โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.94) และความคิดเห็นการพัฒนาชุมชนของนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X = 3.81)  

2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธนวัตกรรมสังคมกับการพัฒนาชุมชนของ นักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน มีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับมาก (r = .749) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมุติฐาน

3) แนวทางการส่งเสริมพุทธนวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนของนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ตามหลักภาวนา 4 พบว่า 1) ด้านกายภาวนา (พัฒนากาย) : นักการเมืองท้องถิ่นควรพัฒนาตนเองให้เข้ากับยุคการเปลี่ยนแปลงและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในชุมชน การฝึกปรับตัว มีมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบข้างได้ หาความรู้ เพื่อนำมาพัฒนาชุมชน 2) ด้านสีลภาวนา (พัฒนาศีล) นักการเมืองท้องถิ่นควรอยู่ร่วมกับชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอื่นอย่างปกติสุข ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน  เพื่อสร้างความสามัคคี ความสัมพันธ์ในชุมชน และการส่งเสริมการจัดกิจกรรมธรรมะสัญจรภายในชุมชน เพื่อรณรงค์ให้คนในชุมชนรักษาศีลเป็นนิตย์ 3) ด้านจิตภาวนา (พัฒนาจิต) นักการเมืองท้องถิ่นควรปรับตัวให้เข้ากับที่เปลี่ยนแปลงของคนในชุมชน ได้อย่างมีความสุข การยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง และการส่งเสริมให้คนในชุมชน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 4) ด้านปัญญาภาวนา (พัฒนาปัญญา) นักการเมืองท้องถิ่นควรหมั่นศึกษาหาความรู้ให้กับตนเอง เพื่อนำมาพัฒนาชุมชน การรู้ถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตได้ อย่างมีสติ และการเจริญปัญญาให้เข้าใจตามเหตุการณ์ในปัจจุบันได้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research paper was conducted with the following objectives: 1) To study the level of community development of local politicians in Yot Sub-District Municipality, Song Kwae District, Nan Province. 2) To study the relationship between Buddhist social innovation principles and community development of local politicians at Yot Sub-District Municipality, Song Kwae District, Nan Province. 3) To present guidelines for promoting Buddhist social innovation for community development of local politicians at Yot Sub-District Municipality, Song Kwae District, Nan Province. The research methodology was the mixed methods. The quantitative research, data were collected from 340 samples, 18 years old and over, derived from the population of 2,265 people using questionnaires with the validity value at 0.796. Sample calculation using Taro Yamane's formula with the confidence value set at 0.05. Data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation and using the Pearson correlation determination to analyze the guidelines for Buddhist social innovation of local politicians at Yod Sub-District Municipality, Song Kwae District, Nan Province. The qualitative research used in-depth interview methods to collect data from   9 key informants and analyzed by contextual content analysis techniques, presented as an essay, a table of frequent breakdowns of key informants to support quantitative data.

Findings were as follows:

1) The main opinions on Bhāvanā 4 and community development of local politicians at Yod Sub-District Municipality, by overall,were at a high level (X= 3.94) and the opinions on community development of local politicians at Yod Sub-District Municipality, Song Kwae District, Nan Province, by overall, were at a high level (X= 3.81).

2) The relationship between Buddhist principles of social innovation and community development of local politicians at Yod Sub-District Municipality, Song Kwae District, Nan Provincehad positive correlationat the high level (r = .749) with statistically significant level at 0.01, thus the set hypothesis was accepted.

3. Guidelines for promoting Buddhist Social Innovation for Community Development of Local Politicians at Yot Sub-District Municipality according to Bhāvanā 4 were found that 1) Kāya Bhāvanā, Physical Development:  Local politicians should develop themselves to adapt to the changing era and fit into the community environment, adaptability, interpersonal training, and adaptability to the surrounding environment and acquire knowledge to develop the community. 2) Sīla Bhāvanā, precepts development; Local politicians should live in harmony with other multicultural communities in a normal way, not crowding each other in order to create unity and relationships in the community and to promote mobile Dhamma activities within the community to encourage people in the community to observe the precepts forever. 3) Citta Bhāvanā, Spiritual Development; Local politicians should be able to adapt happily to the changing conditions of the people in the community, should accept different opinions and encourage people in the community to support each other. 4) Pañña Bhāvanā, Wisdom Development; Local politicians should educate themselves to develop the community, to know the problems and obstacles in living consciously, and to develop wisdom to understand according to current event.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ