-
ชื่อเรื่องภาษาไทยภาวะผู้นำแนวพุทธของผู้ปกครองท้องที่ในการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Leadership of local Administrators in Community Development of Organic Agricultural Products at Rong kwang Sub-District, Rong kwang District,Phrae Province
- ผู้วิจัยนางสาวอรณิชาภัทร์ วรรณกลึง
- ที่ปรึกษา 1พระครูโสภณกิตติบัณฑิต, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สมจิต ขอนวงค์
- วันสำเร็จการศึกษา25/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51038
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 60
บทคัดย่อภาษาไทย
วัตถุประสงค์สารนิพนธ์นี้ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้ปกครองท้องที่ในการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับภาวะผู้นำของผู้ปกครองท้องที่ในการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำแนวพุทธของผู้ปกครองท้องที่ในการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ วิจัยนี้ได้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ได้ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวน ๓๗๕ คน สำหรับขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้จากการคำนวณ โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพได้คัดเลือก ผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงและดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน ๑๐ รูปหรือคน ทำการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ประกอบบริบท และนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับภาวะผู้นำของผู้ปกครองท้องที่ในการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ด้านหลักสาราณียธรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (X= ๓.๔๑) และระดับภาวะผู้นำของผู้ปกครองท้องที่ในการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (X= ๓.๑๘)
๒. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับภาวะผู้นำของผู้ปกครองท้องที่ในการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (r = .๗๔๖) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ จึงยอมรับสมมติฐาน
๓. แนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำแนวพุทธของผู้ปกครองท้องที่ในการพัฒนาชุมชน ด้านผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ๑) ด้านเมตตากายกรรม ผู้ปกครองท้องที่ควรจริงใจในการเปิดโอกาสและสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิต ๒) ด้านเมตตาวจีกรรม ผู้ปกครองท้องที่ควรชี้แจงอธิบายอย่างสร้างสรรค์ในการสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรเพื่อให้เกิดความมั่นคงในอาชีพและมีคามยั่งยืนในพื้นที่เกิดอัตลักษณ์เชิงสร้างสรรค์ของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ๓) ด้านเมตตามโนกรรม ผู้ปกครองท้องที่ควรมีความปรารถนาดีในการสั่งการเพื่อให้การปฏิบัติงานกับเกษตรกรบรรลุผลสำเร็จ ๔) ด้านสาธารณโภคี ผู้ปกครองท้องที่ควรจัดสรรผลประโยชน์จากผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อย่างเป็นธรรม อีกทั้งควรจัดหาแหล่งเงินทุนมาส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ให้ตรงตามความต้องการของเกษตรกร ๕) ด้านสีลสามัญญตา ผู้ปกครองท้องที่ควรปรารถนาดีในการมอบหมายงานที่ถูกต้องและปฏิบัติได้จริงกับเกษตรกรอย่างเสมอภาค นอกจากนี้ควรเป็นตัวอย่างที่ด้านการประพฤติตนให้เหมาะสมกับการสนับสนุนและคัดเลือกคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมทำงาน ทั้งนี้ต้องเข้าใจศักยภาพการผลิตของเกษตรกรและสนับสนุนให้ตรงตามความต้องการ ๖) ด้านทิฎฐิสามัญญตา ผู้ปกครองท้องที่ควรมีความคิดเห็นในการสร้างความสามัคคีปรองดองเพื่อเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research paper were: 1) To study the level of leadership of local administrators in community development of organic agricultural products at Rong Kwang Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province. 2) To study the relationship between Sarāṇīyadhamma principle and the leadership of local administrators in the community development of organic agricultural products at Rong Kwang Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province. 3) To propose guidelines for romoting Buddhist leadership among local administrators in community development of organic agricultural products in Rong Kwang Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province. This research paper was conducted by the mixed research methods. The quantitative research, data were collected from 375 samples, derived from the people living at Rong Kwang Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province. The size of the samples was calculated using Taro Yamane's formula. Data were analyzed by determining frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficients. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 10 key informants and analyzed by descriptive content interpretation and presented in an essay form to illustrate the frequency of key informants to support the quantitative data.
Findings were as follows:
1. The level of leadership of local administrators in community development of organic agricultural products at Rong Kwang Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province, by overall, Sarāṇīyadhamma principles were at moderate level (x̄ = 3.41), and the level of leadership of local administrators in community development of organic agricultural products at Rong Kwang Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province. Overall, it was moderate (x̄ = 3.18).
2. The relationship between the principles of morality and the leadership of local administrators in the development of organic agricultural products in Rong Kwang Sub-district. Overall, there was a relatively high level of positive correlation (r = .746) with a statistically significant level of 0.01, thus accepting the set hypothesis.
3. Guidelines for promoting Buddhist leadership of local administrators in community development of organic agricultural products at Rong Kwang Sub-District, Rong Kwang District, Phrae Province were as follows: 1) Mettākāyakamma; to be amiable in deed; Local administrators should be sincere in opening up opportunities and incentivizing farmers to participate in production. 2) Mettāvacīkamma, To be amiable in speech; Local administrators should clarify constructively to build confidence in farmers to ensure job security and sustainability to creative identity of organic agricultural products in the area. 3) Mettāmanokamma, to be amiable in thought; Local administrators should have a good desire to direct them to accomplish their work with farmers. 4) Sādhāraṇabhigā, to share any lawful gains with virtuous fellows; Local administrators should fairly distribute the benefits from organic agricultural products and find the supporting fund for developing organic agricultural products according to the needs of farmers. 5) Sīlasāmaññatā, to keep without blemish the rules of conducts along with one’s fellows; Local administrators should wish well for the correct and practical assignment of tasks to farmers on an equitable basis. In addition, it should be an example of how to behave appropriately to support and recruit talented people to join the workforce. They must understand the farmers' production potentials and support them to meet their needs. 6) Dhṭṭhisāmaññatā, to be endowed with right views along with one’s fellows; Local administrators should have an opinion on creating harmony to increase skills and efficiency in the production of organic agricultural products.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|