โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลช่อแฮอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Poltlcal Leadership of Local Politicians in Participatory Community Development of Cho hae Sub-District Municipality, Mueang Phrae District, Phrae Province
  • ผู้วิจัยนายฐาณมาศ ศิริวรคุณธนนท์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สมจิต ขอนวงค์
  • ที่ปรึกษา 2พระครูโสภณกิตติบัณฑิต, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา25/06/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51043
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 92

บทคัดย่อภาษาไทย

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ที่มีเกณฑ์อายุ 18 ปีขึ้นไป โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ยามาเน่ จำนวน 380 คน จากจำนวนประชากร 7,494 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) เมื่อพบว่ามีความแตกต่าง จึงได้ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X= 3.93)เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ (1) ด้านผู้นำแบบมีส่วนร่วม (X = 4.00) ด้านผู้นำแบบมุ่งเน้นความสำเร็จ (X = 3.95) ด้านผู้นำแบบให้การสนับสนุน (X = 3.93) และ (4) ด้านผู้นำแบบสั่งการ (X = 3.86) ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

3. การส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองด้วยการนำหลักสัปปุริสธรรม 7 มาประยุกต์ใช้กับภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้แก่ (1) ธัมมัญญุตา การรู้จักเหตุ ควรเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก และต้องรู้จักพื้นที่เขตปกครองของตนเองให้ดี (2) อัตถัญญุตา การรู้จักผล ต้องมีสติในการปฏิบัติงาน และคอยสังเกตข้อผิดพลาดหรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นปฎิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดใช้เหตุและผลในการตัดสินใจพัฒนาชุมชน (3) อัตตัญญุตา การรู้จักตน ต้องคำนึงถึงอำนาจหน้าที่ของตนเองว่าสิ่งไหนสามารถทำได้หรือไม่ได้ ต้องฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นสำคัญ (4) มัตตัญญุตา การรู้จักประมาณตน รู้จักการวิเคราะห์ประมาณหรือประมาณการในการพัฒนาชุมชนให้เหมาะสม มีการวางแผนในการใช้และการจัดสรรงบประมาณในแต่ละด้านอย่างคุ้มค่าและสร้างสรรค์ จัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ (5) กาลัญญุตา การรู้จักกาล ต้องรู้เวลาว่าสิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำต้องสังเกตความพึงพอใจของประชาชนเป็นหลักในการตัดสินใจในการดำเดินงานต่าง ๆ (6) ปริสัญญุตา การรู้จักชุมชน ต้องรู้จักพื้นที่ของตนเองว่าควรปฏิบัติอย่างไรในช่วงที่มีปัญหา และต้องต้องว่าจุดไหน คือ ที่ที่เกิดปัญหาที่ต้องรีบดำเนินการแก้ไข (7) ปุคคลัญญุตา การรู้จักบุคคล ต้องเข้าใจสภาพคนบุคคลและความสามารถของเจ้าหน้าที่อย่างดีเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด และปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดตามกฎระเบียบ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of This Research Paper were: 1. To Study the Level of Political Leadership of Local Politicians in the Participatory Community Development of Cho Hae Sub-District Municipality, Mueang Phrae District, Phrae Province, 2. To Compare the Political Leadership of Local Politicians in the Participatory Community Development of Cho Hae Sub-District Municipality, Mueang Phrae District, Phrae Province, 3. To Propose Guidelines for Promoting Buddhist Political Leadership of Local Politicians in the Participatory Community Development of Cho Hae Subdistrict Municipality, Mueang Phrae District, Phrae Province. The Research was Conducted by the Mixed Methods. The Quantitative Research Using Survey Method Collected Data from 380 Samples, Derived from the Populations of 7,494 People Aged 18 Years Old and Older Living at Cho Hae Sub-District Municipality, Mueang Phrae District, Phrae Province Using a Random Sampling from Taro Yamane's Formula and Analyzed the Data by Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, and Testing the Hypothesis by T-Test, F-Test, and One-Way Analysis of Variance. Least Significant Difference (LSD). the Qualitative Research, Data were Collected by In-Depth Interviewing 10 Key Infoormants and Analyzed by Contextual Content Analysis Techniques, Presented as an Essay with a Table of Frequent Breakdowns of Key Informants.

Findings were as Follows:

1. The Political Leadership of Local Politicians in the Participatory Community Development at Cho Hae Sub-District Municipality, Mueang Phrae District, Phrae Province as a Whole was Very High ()= 3.93), When Considered Individually, was Found to be Very High in all Areas, in Descending Order as Follows: Participatory Leadership (X= 4.00), Success-Oriented Leadership ()= 3.95), Supportive Leadership (X= 3.93), and (4) Command Leadership (X= 3.86), Respectively.

2. Comparative Results of the Level of Political Leadership of Local Politicians in the Participatory Community Development at Cho Hae Sub-District Municipality was Found that People of Different Genders, Ages, Education Levels and Occupations had Different Opinions on the Political Leadership of Local Politicians in Participatory Community Development at a Level of 0.05, Thus, Set Hypothesis was Accepted. People with Different Monthly Incomes did not have Different Opinions on the Political Leadership of Local Politicians in Participatory Community Development. There was no Statistically Significant Difference at the 0.05 Level, thus Rejecting the Set Research Hypothesis was Rejected.

3. Promotion of Political Leadership by Applying the Principle of Sappurisa-Dhamma 7 to the Leadership of Local Politicians in the Participatory Community Development of Cho Hae Sub-District Municipality, Mueang Phrae District, Phrae Province to Achieve Systematic Community Development That EngageD with all Sectors Related to Community Development of Cho Hae Sub-district Municipality, Mueang Phrae District, Phrae Province, Including: (1) Dhammaññutā, Knowing the Cause; Local Polticians Should Primarily See the Common Good and Must Know the Area of One's Own Administrative Area Well; (2) Atthaññutā, Knowing Results; Local Politicians Should Work with Mindfulness PlAying Attention to the Mistakes or Problems by Adhering to the Rules and Regulations, Using Reasons for Decision Making. (3) Attaññutā, Nowing Oneself; Self-Awareness; Local Politicians Must Consider Their own Authority as to What Can or Cannot be done. It is Important to Listen to the Opinions of Others. (4) Mattaññutā, Knowing about One's Estimate, Knowing One's Situation, Knowing the Changes, Helping to be Affected by Various Problems Effectively. (5) Kālaññutā, Knowing Time, Knowing the Occasions, Must Know the Time of What Should or Should not be done, Must Observe the Satisfaction of the People as the Main Principle in Making Decisions in Carrying Out Various Tasks. (6) Parisaññutā, Knowing the Community, Must Know One's Own Area, How to Act During the Problem, and Where is the Problem That Needs to be Solved Quickly. (7) Puggalaññutā, Knowing the Person; Local Politicians Must Understand the Condition of the People, the Person and the Ability of the Officer Well to do the Most Effective Work in Assisting the People in Various Fields on the Spot and Strictly Comply with the Rules.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ