-
ชื่อเรื่องภาษาไทยโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวีถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Psychology Program on Eco - Meditation Ways for Sustainable Forest Conservation for Youth
- ผู้วิจัยพระมหาญาณภัทร อติพโล (เทพนม)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุวัฒสัน รักขันโท
- วันสำเร็จการศึกษา25/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51045
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 38
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรม แนวคิด ทฤษฎิจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องและนิเวศภาวนาเพื่อสังเคราะห์แนวคิดพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนา 2) เพื่อสังเคราะห์คุณลักษณะและปัจจัยของโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน 3) เพื่อพัฒนาและประเมินโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศน์ภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี และการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใชวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพขยายผลวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ เยาวชนโรงเรียนมัธยมวัดสำนักคร้อ กําหนดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มควบคุม 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดเจตคติและความตระหนักรู้สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้ของเยาวชน และ โปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน ออกแบบการทดลองเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นเวลา 2 วัน และ ระยะที่ 2 เป็นเวลา 1 เดือน วิเคราะหข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (two – way repeated measures ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลลวิจัยพบว่า
1. หลักพุทธธรรม แนวคิด ทฤษฎิจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องและนิเวศภาวนาเพื่อสังเคราะห์แนวคิดพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนา ประกอบด้วยหลักธรรม คือ ไตรสิกขา, หลักปรโตโฆสะ โยนิโสมนสิการ ส่วนหลักจิตวิทยาใช้ หลักจิตวิทยาการสร้างแรงจูงใจ จิตวิทยาการโน้มน้าวจิตใจ และหลักนิเวศภาวนา คือการแสวงหาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับป่าไม้ ผ่านกิจกรรมและพิธีกรรม จนเกิดพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมคือ เจตคติ และความตระหนัก 4 ด้าน คือ 1) การเห็นความงามของป่าไม้ 2)การเห็นคุนค่าของป่าไม้ 3) ความกลัวว่าป่าไม้จะหมดไป 4) ความสนใจที่จะอนุรักษ์
2. คุณลักษณะและปัจจัยของโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชนพัฒนามาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาบูรณาการกับแนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยา และนิเวศภาวนา ประกอบด้วย 9 กิจกรรม มีขั้นตอนของการพัฒนา คือ 1) การออกแบบชุดโปรแกรม 2) กําหนดองค์ประกอบของกิจกรรม ประกอบด้วย (1) ขั้นนํา (2) ขั้นกิจกรรม (3) ขั้นสะท้อน (4) ขั้นสรุปและประยุกตใช้ และ (5) ขั้นวัดและประเมินผล 3) การตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญได้ผลสรุปยืนยันว่าคุณภาพของโปรแกรมมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการนําไปใช้ได้จริง
3. ผลพัฒนาและประเมินโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศน์ภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชนเกิดจากพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมคือ เจตคติ และความตระหนัก 4 ด้าน คือ 1) การเห็นความงามของป่าไม้ 2) การเห็นคุนค่าของป่าไม้ 3) ความกลัวว่าป่าไม้จะหมดไป 4) ความสนใจที่จะอนุรักษ์ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการพัฒนาตน 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) การพัฒนาเจตคติ และ 2) การสร้างความตระหนัก ผลการทดลองใช้โปรแกรมพัฒนาตนตามหลักพุทธจิตวิทยา พบว่า เยาวชนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพยืนยันสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ผู้เข้าร่วมโปรแกรมได้เกิดพฤติกกรรมสิ่งแวดล้อมในการอนุรักษ์ป่าไม้ซึ่งนำไปสู่การอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This study had 3 objectives comprising 1) to analyze related Buddhadhamma, concepts and theories of psychology, and eco-meditation for synthesizing the concepts of Buddhist psychology and ecological ways of meditation; 2) to synthesize the characteristics and factors of the Buddhist Psychology program on eco-meditation ways for sustainable forest conservation for youth; and 3) to develop and evaluate the Buddhist Psychology program on eco-meditation ways for sustainable forest conservation program for youth. This study was a mixed method and quasi-experimental research, using quantitative and qualitative methods to expand the results of quantitative research. The sample consisted of 64 youth from Wat Samnak Khro High School assigned using G*Power program and divided into an experimental group of 32 students and a control group of 32 students. Tools for data collection a questionnaire for measuring attitude and environmental awareness of sustainable forest conservation for the youth, and the Buddhist Psychology program on eco-meditation ways for sustainable forest conservation program for youth, designed into 2 phases including phase 1 with 2 days, and phase 2 with 1 month. Quantitative data analysis employed statistics including t-test, two-way repeated measures (ANOVA), and qualitative data were analyzed by content analysis.
The results of the study were as follows:
1. The related Buddhadhamma, concepts and theories of psychology, and eco-meditation for synthesizing the concepts of Buddhist psychology and ecological ways of meditation consisted of the principles of Sikkha 3, Paratoghosa, and Yonisomansikar, while the concepts and theories of psychology used the psychology of motivation, spiritual persuasion, and the principle of eco-meditation was to seek the relationship between man and the forest through activities and rituals bringing about the awareness in 4 aspects including 1) realizing the beauty of forests, 2) realizing the value of forests, 3) fear of forest depletion, 4) interest in the forest conservation
2. The characteristics and factors of the Buddhist Psychology program on eco-meditation ways for sustainable forest conservation for youth was developed from Buddhadhamma integrated with the psychological concepts and eco-meditation consisting of 9 activities with the stages of development: 1) Designing the program package; 2) determining the components of activities comprising (1) the leading stage, (2) the activity stage, (3) the reflection stage, (4) the summary and application stage, and (5) the measurement and evaluation stage; and 3) checking the quality of the program and the content validity with the experts’ conclusion that the quality of the program was appropriate and effective in its implementation.
3. The results of developing and evaluating the Buddhist Psychology program on eco-meditation ways for sustainable forest conservation program for youth resulted in the environmental behaviors as attitude and awareness in 4 aspects including 1) realizing the beauty of forests, 2) realizing the value of forests, 3) fear of forest depletion, 4) interest in forest conservation, with 2 factors of self-development comprising 1) the development of attitude, and 2) realization. The results of the trial of using the self-development program based on Buddhist Psychology revealed that the youth in the experimental group had the average higher score than before the experiment and the control group with a statistical significance at .05level, and moreover, the results of qualitative data analysis was corroborated in support of quantitative data by showing that participants had developed environmental behavior in forest conservation leading to further conservation of unsustainable forest.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|