โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบหลักธรรมของพระพุทธศาสนาในการสร้างดุลภาพชีวิต
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Model of the Principle of Dhamma in Buddhism in Creation of Equilibrium of Life
  • ผู้วิจัยพระครูสันติบุญญาทร กตปุญฺโญ (ผันผ่อน)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สมเดช นามเกตุ
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาประทีป อภิวฑฺฒโน, ผศ. ดร
  • วันสำเร็จการศึกษา28/06/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51047
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 42

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการสร้างดุลยภาพชีวิต (2) เพื่อศึกษาสภาพการนำหลักธรรมในการสร้างดุลยภาพชีวิต และ(3) เพื่อเสนอรูปแบบหลักธรรมของพระพุทธศาสนาในการสร้างดุลภาพชีวิต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 50 รูป/คน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

หลักธรรมในการสร้างดุลยภาพชีวิต คือ หลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา การสร้างความมีดุลยภาพชีวิต โดยการศึกษา เรียนรู้ เข้าใจ แล้วนำหลักไตรสิกขา มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต ซึ่งจะเป็นการพัฒนาความสามารถในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขที่แท้จริง หลักไตรสิกขา คือ หลักการพัฒนาความประพฤติทางกาย ทางจิต และปัญญา เพื่อการแก้ปัญหาของมนุษย์ ดับความทุกข์ นำไปสู่ความสุข และพัฒนาความเป็นอิสระอย่างแท้จริง มาสู่ผู้ปฏิบัติเป็นระบบการศึกษาเรียนรู้หลักธรรม เพื่อไปสู่หลักการปฏิบัติธรรม 3 ประการ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

สภาพการนำหลักธรรมในการสร้างดุลยภาพชีวิต ด้วยหลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา มาสร้างดุลยภาพชีวิต การพัฒนากาย จิต และปัญญา โดยผ่านกระบวนการปฏิบัติธรรม ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจโดยการถาม ตอบ แล้วปฏิบัติแต่ละด้าน บูรณาการกับมรรคมีองค์ 8 (1) ด้านกายอธิศีลสิกขา คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ มาใช้ในการฝึกอบรมพัฒนากาย และวาจา (2) ด้านจิต อธิจิตตสิกขา คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ มาใช้ในการฝึกอบรมพัฒนาจิต ช่วยในการฝึกอบรม ควบคุมจิตให้รู้จักคิดอย่างเป็น ระเบียบ เรียกว่า คิดเป็น (3) ด้านปัญญา อธิปัญญาสิกขา คือ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ มาใช้ในการฝึกอบรมพัฒนาปัญญา เพื่อจัดการปัญหาต่าง ๆ ให้เกิดความสามารถที่จะมองเห็นความจริงในเรื่องราวปัจจุบัน แล้วหาทางออกให้กับตนเอง และผู้เกี่ยวข้องได้ ที่ครอบคลุม ๔ ด้านของการดำเนินชีวิตที่สมดุล

รูปแบบหลักธรรมของพระพุทธศาสนาในการสร้างดุลภาพชีวิต โดยใช้หลักไตรสิกขา บูรณาการกับหลักอริยมรรคมีองค์ ภาวนา 4 และสัปปานะ 7 ได้ 4 รูปแบบ (1) ด้านร่างกาย ด้วยอธิศีลสิกขา คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เป็นการนำหลักธรรมที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย 4 ประการ คือ สัปปายะ 4 ได้แก่ อาวาสสัปปายะ โภชนะสัปปายะ ฤดูสัปปายะ อิริยาบถสัปปายะ (2) ด้านจิตใจและอารมณ์ อธิจิตตสิกขา คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เพื่อการรับรู้ทางอายตนะทั้ง 6 ที่ดี การมีสติ ที่สามารถควบคุมอารมได้ การสร้างดุลยภาพชีวิตด้านจิตใจและอารมณ์ จะดูแลสุขภาพจิตใจให้อยู่ในภาวะ ปกติ โดยการให้ทาน รักษาศีล สวดมนต์ ฟังธรรม เจริญสมาธิภาวนา (3) ด้านเศรษฐกิจ อธิปัญญาสิกขา คือ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เป็นการสร้างดุลยภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ เมื่อมีความเห็นที่ถูกต้อง จะมีปัญญาอยู่เป็น ประจำ ทำให้มีสติกำกับกาย และใจในการดำเนินชีวิต ที่ส่งเสริมในด้านที่ 4 (4) ด้านสังคม เป็นการอยู่ร่วมกันกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สงบ ร่มเย็น ไม่เกิดความขัดแย้ง คือ อธิปัญญาสิกขา มาประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ เพื่อให้เกิดความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกื้อกูล มีทัศนคติที่ดีต่อกัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research are: (1) to study the principle of Dhamma in creation of equilibrium of life (2) to study the principle of Dhamma in Buddhism for creation of equilibrium of life and (3) to propose the model of the principle of Dhamma of Buddhism for creation of equilibrium of life. This research is the qualitative research by studying the documents related researches. The collection of data is used by interviewing and then analyzing the data from interview, focus group by using data from 50 key informants and to analyze data in descriptive analysis. The results of the research are found as follows:

The principle of Dhamma in creation of equilibrium of life is the principle of the Threefold Trainings consists of Precepts, Meditation and Wisdom for creation of equilibrium of life by education, learning, understanding and to apply the principle of Threefold Trainings for lifestyles by focusing on developing the ability for lifestyles with the real happiness. The principles of the Threefold Trainings are the principles of the physical, spiritual and intelligent development for solving the problems of human beings snd the end of suffering leading to the happiness and development of real liberation for the practitioner in accordance with the system of education and learning the principle of Dhamma leading to the three practical principles, that is, training in higher morality, training in mentality and training in the higher wisdom.

The state of applying the principle of Dhamma in Buddhism for creation of equilibrium of life by applying the principle of Threefold Trainings, that is, precepts, meditation and wisdom by going through the practical process, that is, the learning process and creation of question and answer and then practicing each aspect by integration with the Noble Eightfold Paths (1) in the aspect of the higher precepts consisting of the Right speech, Right Action and Right Livelihood for training physically and verbally (2) in the aspect of the higher spiritual development consisting of Right Efford, Right Mindfulness and Right Meditation applying for the spiritual development helping for training, controlling the spirit in order called “thoughtfulness” (3) IN the aspect of the higher wisdom consisting of Right View and Right understanding applying for training the wisdom and solving various problems in order to create the ability for seeing the reality in the present and to find out the solution foneself and related individuals by covering 4 aspects of lifestyles. 

The model of principle of Dhamma in Buddhism in creation of equilibrium of life by applying the the Threefold Trainings with integration with the Noble Eightfold Paths, 4 cultivations, and the 7 Advantageous conditions having 4 model, that is, (1) in the aspect of body consisting of the higher morality, that is, Right speech, Right Action and Right Livelihood applying the Dhamma principle that causes the effect directly to the physical health for 4 items consisting of 4 advantageous conditions, that is, suitable abode, suitable food, suitable climate and suitable posture (2) in the aspect of spirit and emotion, the higher mentality consisting of Right Efford, Right Mindfulness and Right Meditation for knowing the 6 internal sense-fields, that is, to have the mindfulness to be able to control the emotion, to create the equilibrium of life in the aspect of mentality and emotion by taking care of the spiritual health in the normal status by giving charity, precept preserving, chanting, Dhamma hearing and practicing mental culture (3) in the aspect of economy, training in higher wisdom consisting of Right view and Right understanding by creating the equilibrium of life in the economical aspect. When the thought is right, the wisdom will always exist. It will make mindfulness control the body and mentality in lifestyles and to enhance the sixth branch (4) the social is to live together with the others with happiness, calm, secure, not to be conflict , that is, to take the training wisdom for practice physically, verbally and mentally in order to build up the loving-kindness, generosity, charity and to have good attitude for each other.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ