-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมเชิงพุทธสมัยใหม่ ในจังหวัดบึงกาฬ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModels for Developing the Modern Buddhist Agriculture in Buengkan Province
- ผู้วิจัยพระธนภัทร ธนภทฺโท (ปู่แก้ว)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สมเดช นามเกตุ
- ที่ปรึกษา 2พระครูจิรธรรมธัช, รศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา28/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51053
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 35
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาเกษตรกรรมเชิงพุทธสมัยใหม่ (2) เพื่อศึกษาการพัฒนาเกษตรกรรมเชิงพุทธสมัยใหม่ในจังหวัดบึงกาฬ (3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมเชิงพุทธสมัยใหม่ในจังหวัดบึงกาฬ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 50 รูป/คน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
การพัฒนาเกษตรกรรมเชิงพุทธสมัยใหม่ พบว่า เกษตรกรรมเชิงพุทธ มีหลักธรรมเรื่องศีล กํากับอยู่ด้วย เป็นสังคมที่พึ่งพาอาศัยกันระหว่างคน สัตว์ และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตรกรรม โดยมีหลักพุทธธรรม เพื่อเกษตรกรรมคือ สัปปุริสธรรม ๗ ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 โภควิภาค 4 การเกษตรกรรมสมัยใหม่ ได้ให้ความสำคัญต่อมิติต่าง ๆ ในสังคมอย่างสมดุลกัน ได้แก่ มิติด้านเศรษฐกิจและสังคม มิติด้านการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากร มิติการส่งเสริมบทบาทของกลุ่ม และการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาชุมชนเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ปัจจุบันมีแนวคิด โคก หนอง นา โมเดล และสมาร์ฟาร์ม หรือเกษตรอัจฉริยะ
การพัฒนาเกษตรกรรมเชิงพุทธสมัยใหม่ในจังหวัดบึงกาฬ พบว่า การทำเกษตรให้ชาวบ้านมาเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มาถ่ายทอด ซึ่งในเนื้อหาสาระ มี 4 เรื่อง คือ พุทธธรรม พุทธเกษตร พุทธเศรษฐศาสตร์ และพุทธวัฒนธรรม การทำเกษตรกรรมต้องเรียนรู้จักอินทรีย์ 10 อย่างเพื่อเป็นพุทธเกษตรอินทรีย์อย่างสมบูรณ์ คือ 1. คนอินทรีย์ 2. เกษตรอินทรีย์ 3. ผลผลิตอินทรีย์ 4. อาหารอินทรีย์ 5. สุขภาพอินทรีย์ 6. สิ่งแวดล้อมอินทรีย์ 7. ชุมชนอินทรีย์ 8. เศรษฐกิจอินทรีย์ 9. ความสุขอินทรีย์ 10.ประเทศอินทรีย์
รูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมเชิงพุทธสมัยใหม่ในจังหวัดบึงกาฬ พบว่า 1. รูปแบบเชิงอนุรักษ์และพัฒนา (1) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเกษตรเชิงพุทธใช้หลักการทางศีล 5 และศีล 8 เป็นพื้นฐานในการประกอบสัมมาอาชีพ เพื่อสร้างการพึงพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ด้วยอินทรีย์ (2) วัฒนธรรมประเพณีแบบไทย ที่มีเกี่ยวกับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม คือการพึ่งพาอาศัยแบ่งปันอาหารกันในสังคมเดียวกัน (3) ภูมิปัญญาไทย และท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ และอยู่กับธรรมชาติอย่างมีความสุข (4) อาชีพเกษตรกรรมของไทย คือการไม่ยึดติดกับสิ่งเดิม ให้เรียนรู้เพื่อสร้างสินค้าทางการเกษตรแบบใหม่ 2. รูปแบบเชิงพึ่งพาตนเอง (1) สร้างปัจจัย 4 ความต้องการขั้นพื้นฐานให้กับครอบครัว (2) การพึ่งพาปัจจัยการผลิต ในการทำเกษตรอินทรีย์ (3) การพึ่งธรรม องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีทั้งหลักธรรม ทฤษฎี หรือศาสตร์ต่าง ๆ การเกษตรทั้งแนวพุทธผสมกับทฤษฎีใหม่ในปัจจุบัน 3. รูปแบบเชิงเข้มแข็งของชุมชน (1) ปัจเจกบุคคลเข้มแข็ง เกษตรเชิงพุทธสามารถแก้ปัญหาบุคคลได้ โดยสามารถจำแนกออกเป็น 4 ทาง คือ หนี้สิน การมีรายได้เพิ่ม อาชีพที่มันคง มีความสุขในการทำการเกษตร (2) องค์กรเข้มแข็ง โดยการสร้างสินค้าที่มีคุณภาพ ผู้ผลิตมีการสร้างหลักธรรมประจำใจ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are; (1) to study the development of modern Buddhist agriculture (2) to study the development of modern Buddhist agriculture in Bueng Kan Province and (3) to propose the models for developing the modern Buddhist agriculture of Bueng Kan Province. This research is the qualitative research by studying tha data from documents, related researches, collection of data by using the format of interview and then to analyze the data from interviewing, focus group by having 50 key informants and to report the data by descriptive analysis. The results of the research are found as follows:
The development of the modern Buddhist agriculture is found that the Buddhist agriculture is associated with the precepts and it is the society to be based on each other among human beings, creatures and surrounding to be appropriate for agriculture by having the principle of Dhamma,, that is, the principle of the Seven Quality of Good Man, the Four Virtues conductive to benefits in the present and the Fourfold Division of Money. For all of these principles, the modern agriculture has given the importance to various dimensions in the society equally, that is, the economic and social dimensions, dimension of preservation and management of resources, dimension of enhancing the groups’ roles and enhancement of developing the sustainability by having the concepts related the sufficient economics, the concepts related to theory for developing the sustainable agricultural community. In the present, there are the concepts related to Kok Nong Na Model and smart farms or the miraculous agriculture
The development of the modern Buddhist agriculture in Bueng Kan Province is found that to perform the agriculture for folks’ education from the experts coming to teach. The contents consist of 4 issues, that is to say, Buddhadhamma, Buddhist agriculture, Buddhist economics and Buddhist culture. 2) One performs the agriculture must know ten organics to be perfect Buddhist organic agriculture perfectly, that is, 1) Man organics 2) agricultural organics 3) productive organics 4) food organics 5) healthy organics 6) environmental organics 7) Community organics 8) economic organics 9) happiness organics and 10) Nation organics.
The model for developing the modern Buddhist agriculture in Bueng Kan Province is found that 1) the preserving model and development (1) for environmental preserving, the Buddhist agriculture applies the five precepts and eight precepts as the foundation for the right livelihood depending on each other between human beings and environment by organics (2) Thai culture and tradition related to the primitive agriculture are depending on each other and sharing food in the same society (3) to be endowed with Thai intelligence and location for learning and to live with the nature happily (4) agricultural occupation of Thai people is not egocentric with the former materials and to encourage to learn for producing the new agricultural products in two models for self-help, that is to say, (1) to create the four factors that are the basic factors for the family (2) to be based on the producing factors in performing organic agriculture (3) to depend on Dhamma, various bodies of knowledges consisting of principles of Dhamma, theories or different sciences in the aspects of agriculture with the Buddhist alignment mixed together with new theory in the present in three strength models of community, that is, (1) strong private personnel and the Buddhist agriculture can solve the problems of people by dividing them into 4 items, that is, debs, increasing incomes, stable occupation, happiness in performing the agriculture (2) strong organization by producing the qualitative products and producers creating the principle of Dhamma for mind.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|