โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักเบญจศีลและเบญจธรรม ของจังหวัดหนองบัวลำภู
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModels for Developing the Human Resources in Accordance with the Principles of Five Precepts and Five Ennobling Virtues of Nongbour Lamphoo Province
  • ผู้วิจัยเจ้าอธิการสุรเชษฐ์ อิทฺธิเตโช (ไชยรา)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูพิศาลสารบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สมเดช นามเกตุ
  • วันสำเร็จการศึกษา28/06/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51054
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 40

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนามนุษย์และหลักเบญจศีลและเบญจธรรมในพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักเบญจศีลและเบญจธรรม ของจังหวัดหนองบัวลำภู (3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักเบญจศีลและเบญจธรรม ของจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 45 รูป/คน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

หลักเบญจศีลและเบญจธรรมในพระพุทธศาสนา เบญจศีลในพระพุทธศาสนาคือ ความประพฤติชอบทางกายและวาจา เป็นข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว 5 ประการนี้ คือ 1) เว้นจากการปลงชีวิต เว้นจากการฆ่าการประทุษร้ายกัน 2) เว้นจากการลัก ขโมย โกง ละเมิดกรรมสิทธิ์ ทำลายทรัพย์สิน 3) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม การล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่ หวงแหน 4) เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง 5) เว้นจากน้ำเมา คือสุราเมรัย และสิ่งเสพติดให้โทษ อันเป็นที่ตั้งแห่งความมประมาท เบญจธรรมในพระพุทธศาสนา คือ 1) เมตตาและกรุณา ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุขความเจริญ และความ สงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์ 2) สัมมาอาชีวะ การหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต 3) กามสังวร ความสังวรในกาม,ความสำรวมระวังรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทาง กามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รสและสัมผัส 4) สัจจะ ความสัตย์ ความซื่อตรง 5) สติสัมปชัญญะ ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ คือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัว เสมอว่า สิ่งใดควรทำ ไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักเบญจศีลและเบญจธรรม ของจังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า ด้านของกิจกรรมที่เป็นแบบแผนของทางวัดที่มีการจัดขึ้นนั้นได้มีการบูรณาการกิจกรรมออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มโรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กนักเรียน และกลุ่มทั่วไปที่มีความหลากหลายทางอายุและอาชีพ ซึ่งขั้นตอนของแต่ละกลุ่มนั้นจะมีขั้นตอนและกระบวนการที่เหมือนกันเพื่อที่จะสร้างความชำนาญให้กับวิทยากร ทั้งที่เป็นบุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนาจังหวัดหนองบัวลำภู และพระสงฆ์ ด้วยเบญจศีลเบญจธรรมในแต่ละด้าน ดังนี้ 1. ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เว้นจากปาณาติบาตด้วยหลักเมตตา กรุณา 2. ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เว้นจากอทินนาทาน ด้วยหลักสัมมาอาชีวะ 3. ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ด้วยหลักกามสังวร 4. ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เวนจากมุสาวาท ด้วยหลักสัจจะ 5. ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เวนจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ด้วยหลักสติ เพื่อที่จะเป็นการนำไปประยุกต์และปรับใช้ แล้วตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาชีวิต

รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักเบญจศีลและเบญจธรรม ของจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นกิจกรรม โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ด้วยรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้สูงอายุ บูรณาการเข้ากับกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน การออกกำลังกาย และหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ (2) กลุ่มนักเรียน บูรณาการกับกิจกรรมของทางโรงเรียน เช่น การเข้าค่ายคุณธรรม การอบรมพัฒนาการเรียน เป็นต้น และ (3) กลุ่มประชาชนผู้มีความสนใจ บูรณาการกับกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาด้วยการเทศนา และเรียนรู้หลักธรรม ประกอบด้วย 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เว้นจากปาณาติบาตด้วยหลักเมตตากรุณา เพื่อประโยชน์ 3 ประการคือ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เว้นจากอทินนาทาน ด้วยหลักสัมมาอาชีวะ 3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ด้วยหลักกามสังวร 4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เวนจากมุสาวาท ด้วยหลักสัจจะ 5. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เวนจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ด้วยหลักสติ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research are; (1) to study the human development and the principles of Five Precepts and Five Ennobling Virtues in Buddhism (2) to study the development of human resources in accordance with the principle of five precepts and five ennobling virtues of Nongbour Lamphoo Province and (3) to propose the models of the development of human resources in accordance with the principles of Five Precepts and Five Ennobling Virtues of Nongbour Lamphoo Province. This research is the qualitative research by studying data from documents, related researches, collecting the data by using the format of interview and then to analyze the data from interviewing, focus group by having 45 key informants and to report the data by the method of descriptive analysis. The results of this resarch are found as follows:

The principles of Five Precepts and Five Ennobling Virtues in Buddhism are the right practice physically and verbally, that is, to free from 5 immoralities, that is, 1) to refrain from destroying the life or refrain from killing and from doing harm 2) to refrain from stealing. Thieving, cheating, violating the right and destroying the properties 3) to refrain sexual misconduct, violating the things what the others love and cherish 4) to refrain false speech and cheating 5) to refrain from intoxicants and all drugs causing the heedlessness. The Five Ennobling Virtues in Buddhism are 1) Loving kindness and compassion are affection for wishing happiness and to have compassion by thinking to take one away from suffering 2) the Right livelihood is to earn the life with honesty 3) the sexual restraint is to refrain from the sexual misconduct, that is, to restrain from sensual lust, that is, to control oneself from sensual desire, not to be delusion in form, sound, smell, taste, tangible object, 4) the honesty is faithful 5) the mindfulness and awareness means self-recollection and self-consciousness. One must know what to do or not to do and beware not to be heedlessness

The development of human resources in accordance with the principles of Five Precepts and Five ennobling virtues of Nongbour Lamphoo Province is found that the aspect of activities to be the model of the temples as provided has the integration with activities by dividing into 3 groups, that is, the groups of the elderly schools, groups of students and general groups by consisting of various ages and occupations. The step of each group will have the steps and process as the same in order to create the experts for scholars to be the significant Buddhist personnel of Nongbour Lamphoo Province and the Buddhist monks with the principles of five precepts and five ennobling virtues in each aspect as follows: 1) in the aspect of developing the human resources from killing sentient beings with loving kindness and compassion 2) in the aspect of developing the human resources to refrain from stealing with the principle of the right livelihood 3) in the aspect of developing the human resources to refrain from sexual misconduct with the sexual restraint 4) in the aspect of developing the human resources to refrain from false speech with the principle of honesty 5) in the aspect of developing the human resources to refrain from intoxicants with the principle of mindfulness in order to apply these principles of precepts for answering the life problems.

The models for developing the human resources in accordance with the principles of five precepts and five ennobling virtues of Nongbour Lamphoo Province are the activities for the five precepts village projects with the models for developing the human resources for 3 groups, that is, elderly groups, children groups and groups of people who are interested consisting of 1) the development of human resources from killing sentient beings with loving kindness and compassion for the 3 benefits, that is, benefits for oneself and benefits for others and benefits for both sides 2) the development of human resources from stealing with the right livelihood 3) the development of human resources from sexual misconduct with sexual restraint 4) the development of human resources from false speech with principle of honest 5) the development of human resources from intoxicant with the principle of mindfulness.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ