โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ษาแนวทางการพัฒนามัคคุเทศก์เชิงพุทธเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในจังหวัดอุดรธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Guideline of Developing the Buddhist Guides in Order to Enhance the Tourism in Udonthani Province
  • ผู้วิจัยพระกุศล เถี่ยนดึ๊ก (สิงห์คุณ)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูพิศาลสารบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สมเดช นามเกตุ
  • วันสำเร็จการศึกษา28/06/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51055
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 27

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนามัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาการพัฒนามัคคุเทศก์เชิงพุทธเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี และ(3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามัคคุเทศก์เชิงพุทธเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้ววิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 31 รูป/คน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

การพัฒนามัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย มัคคุเทศก์ หรือไกด์ เป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ ข้อมูล ความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ร่วมสมัย  ต่าง ๆ แก่บุคคลที่อยู่ในกลุ่มท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเอกเทศ หรือนักท่องเที่ยวในกรณีทัศนศึกษาที่สถานีทางศาสนาหรือประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจอื่น ๆ การนำเที่ยวมักขึ้นอยู่กับหลักจริยธรรม และศีลธรรมในการศึกษา และการฝึกงานของประเทศนั้น ๆ ศิลปะการนำเที่ยวถือเป็นงานฝีมือ ต้องมีความสามารถในการรับรู้ และเลือกบอกข้อมูลให้แต่ละกลุ่มผู้ฟัง ความสามารถในการส่งต่อข้อมูลโดยใช้วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมา ความสามารถที่จะให้ผู้มาเที่ยวเห็นและรับรู้ด้วยตัวเองในเวลาเดียวกัน

การพัฒนามัคคุเทศก์เชิงพุทธเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี วัดป่าบ้านตาด (วัดเกษรศีลคุณ) หลวงตามหาบัว วัดป่าภูก้อน และ วัดศิริสุทโธคำชะโนด ทั้ง 3 วัด มีการพัฒนามัคคุเทศก์เชิงพุทธ ดังนี้ 1. การจัดพิธีกรรมทางศาสนาของวัดมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น พิธีกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และประเพณีฮีด 12 ของภาคอีสาน เป็นต้น 2. การจัดระบบการจัดสภาพแวดล้อมให้มีความสงบ สะอาด สว่าง ดูร่มรื่นภายในวัด เช่น จัดสวนย่อม สถานที่ถ่ายรู้ สถานระบุตำแหน่ง เป็นต้น ให้มีความสงบ สะอาด สว่าง ดูร่มรื่น ภายในวัดตามหลักการของพระพุทธศาสนา องค์ประกอบ ๓ ประการตามหลักไตรสิกขา คือ (1) สะอาด ด้วยหลักการของพุทธศาสนา คือ อธิสีลสิกขา (ศีล) (2) สงบ ด้วยหลักการของพุทธศาสนา คือ อธิจิต ตสิกขา (สมาธิ) (3) สว่าง ด้วยหลักการของพุทธศาสนา คือ อธิปัญญาสิกขา (ปัญญา) 3. มีระบบการประชาสัมพันธ์ในการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัด เช่น การสร้างกิจกรรมระหว่างเที่ยว การเช็คอินเพื่อดูยอดวิวในสื่อของโลกออนไลน์ เพื่อชิงเงินรางวัล เป็นต้น การประชาสัมพันธ์ข้อมูลของวัดผ่านสื่อ ต่าง ๆ 4. การแนะนำเกี่ยวกับการเรียนรู้นิทรรศการ ภายในวัดมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนวทางการพัฒนามัคคุเทศก์เชิงพุทธเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี แนวทางที่ 1 การพัฒนาศักยภาพด้านทักษะ แนวทางโดยการจัดโครงการ ฝึกอบรมทักษะการปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์ เพื่อให้มัคคุเทศก์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น แนวทางที่ 2 การพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ความรู้ด้านแหล่งท่องเที่ยววัด ประวัติของวัด ประวัติบุคคลสำคัญของวัดและตำนานความเชื่อ เป็นต้น แนวทางที่ 3 การพัฒนาศักยภาพด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพมัคคุเทศก์ การพัฒนาครั้งนี้ ควรมีการสร้างจิตสํานึกมัคคุเทศก์อย่างต่อเนื่อง และมีการจูงใจโดยการ ยกย่องมัคคุเทศก์ ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ แนวทางที่ 4 การพัฒนาศักยภาพด้านทัศนคติ แนวทางการพัฒนาคือ จัดโครงการอบรม “ทัศนคติการสื่อสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นไกด์” เพื่อปรับมุมมองของมัคคุเทศก์ให้มองโลกในแง่ดี ยิ้มแย้ม แจ่มใส มีใจรักงานบริการ หวงแหนสมบัติของชาติ ทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุดรธานี แนวทางที่ 5 การพัฒนาศักยภาพด้านบุคลิกภาพ แนวทางการพัฒนาครั้งนี้คือ จัดโครงการฝึกอบรมด้านบุคลิกภาพเพื่อการ บริการที่เป็นเลิศในการท่องเที่ยว และเสริมศักยภาพมัคคุเทศก์ โดยเริ่มตั้งแต่การแต่งกายที่สุภาพ ส่งเสริมสินค้าพื้นเมือง เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่น การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี กิริยามารยาทและไหวพริบในการทำงานของมัคคุเทศก์

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purposes of this research are; 1) to study the development of Buddhist guides to enhance the tourism in nation 2) to study the development of Buddhist guides to enhance the tourism in Udonthani Province and 3) to propose the guideline to develop the Buddhist guides to enhance the tourism in Udonthani Province. This research is the qualitative research by studying the documents and interview, focus group consisting of the 31 key informants and proposing the data by descriptive analysis. The results of the research are found as follows:

The development of the Buddhist guides to enhance the tourism in Thailand is the guide who assists data, cultural understanding, history and various contemporary situations to the individuals in the tourist groups, The private tourists or the tourists in the cases of visual education at the Buddhist or historical stations, museums and the other interred places for tourism depend on the principles of morality and precepts in education and work training of those nations, the arts for guiding tourism considered as the manual skills must have the ability to perceive and to choose the tata to tell each group of listeners. The ability for delivering the data is used by easy and straightforward methods and the ability encourage the tourists to see and perceive by themselves in the same time.

The development of Buddhist guides in order to enhance the tourism in Udonthani Province is found that Ban Tard Temple ( Wat Kesornsilakhun) of Loungta Mahabour, Wat Pa Phukon and Wat Sirisutthokamjanot including 3 temples assist each other to develop the Buddhist guides as follows: 1) to manage the religious activities of the temple by assisting to enhance the tourism such as to provide the Buddhist rituals in the Buddhist holidays and tradition such as Heet 12 of Isan region etc. 2) to manage the environmental system to be quiet, clean, blight, enjoyable inside the temple such as the small plantation, the knowledge transference and the mentioned places by ranks etc. to be quiet, clean, bright and pleasant places in the temples in accordance with the principle of Buddhism by consisting of 3 items in compliance with the Threefold Trainings, that is, (1) to be clean with the principle of Buddhism, that is, training in higher morality (Precepts) (2) to be peaceful with the principle of Buddhism, that is, training in higher mentality (Meditation) (3) to be blight with the principle of Buddhism, that is, training in higher wisdom (Wisdom) 3) to have the communicative systems in the Buddhist tourism of the temples such as to provide the activities during the time of tourism, to check in to see the total of views in the media of the online world in order to compete to get award etc. by communicating the data of the temples through various medias 4) to advice how to learn the exhibitions inside the temples will enhance the tourism.

The guideline of developing the Buddhist guides in order to enhance the tourism in Udonthani Province is found that for the first guideline is to develop the potentiality in the aspect of skillfulness and the guideline by managing the project of skill training for work of the guides is to create the guides to have more quality. For the second guideline, the development of knowledge is the knowledge related to the tourist sites of the temples, history of the temples and the legends of faith etc. The third guideline is the development of the potentiality in the aspect of the etiquettes in the guides’ occupation. The fourth guideline is the development of the attitudes. The development guideline is to provide the training project, that is, “the attitude of communication is managed in order to increase the potentiality of guides”. Advising the guides to look at somethings in the optimistic point of view, beaming at joy, loving the work service, preserving the property of the nation, the cultural fund of Udonthani Province. The fifth guideline is the development of the potentiality of personality. This guideline is to manage the training project for developing the personality for the best services in tourism and to enhance the guides’ potentiality by beginning from polite dressings, supporting the local commodities in order to create the confidence, to be good human relationship, good manners and to be clever in the guides’ work.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ