-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้วยหลักพุทธธรรมของ พระสังฆาธิการจังหวัดบึงกาฬ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for the Administration of Sangha Affairs with the Principle of Buddhadhamma of the Ecclesiastical Administrative Officers of Buengkan Province
- ผู้วิจัยพระครูอุดมธรรมมงคล จนฺทวณฺโณ (ทัพธานี)
- ที่ปรึกษา 1พระครูพิศาลสารบัณฑิต, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สมเดช นามเกตุ
- วันสำเร็จการศึกษา28/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51056
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 48
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้วยหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ (2) เพื่อศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้วยหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ จังหวัดบึงกาฬ (3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้วยหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการจังหวัดบึงกาฬ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 38 รูป/คน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
การบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้วยหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ ประกอบด้วยพุทธธรรม 2 อย่างคือ (1) หลักความจริงสายกลาง “มัชเฌนธรรมเทศนา” (2) ข้อปฏิบัติสายกลางที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” อันเป็นหลักการครองชีวิตของ ผู้ฝึกอบรมตน ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย มุ่งผลสำเร็จคือ ความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็น อิสระ และการบริการกิจการคณะสงฆ์ กับหลักธรรม ดังนี้ (1) ด้านการปกครอง คือหลักอปริหานิยธรรม 7 (2) ด้านศาสนศึกษา คือหลัก ไตรสิกขา 3 (3) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ คือหลักสังคหวัตถุ 4 (4) ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือหลักพุทธวิธีการสอน (5) ด้านการสาธารณูปการ ประกอบด้วย 2 หลักธรรมคือ (1) พรหมวิหาร 4 (2) ภาวนา 4 และ (6) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ คือหลักสาราณียธรรม 6
การบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้วยหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ จังหวัดบึงกาฬ พบว่า มีเทคนิคในการบริหารงานอยู่ 3 อย่างคือ (1) การบริหารตน (2) การบริหารคน (3) การบริหารงาน ในแต่ละด้านดังนี้ 1. ด้านการปกครอง เจ้าคณะพระสังฆาธิการมีประสบการณ์ในการทำงานสูง เจ้าคณะ พระสังฆาธิการมีความยุติธรรม มีการอุดหนุนจากเจ้าคณะพระสังฆาธิการในการดำเนินงาน การ ติดต่อสื่อสารมีความทันสมัย และรวดเร็ว มีการวางรากฐานระบบการบริหารที่ชัดเจน มีการมอบหมาย งานที่ชัดเจน 2. ด้านการศาสนศึกษา เป็นการจัดการศึกษาที่พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 3. ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ให้ผู้เรียนนั้นเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ สร้างผู้ใฝ่รู้หรือบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทำการศึกษา 4. ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีแบบแผนในการเทศนาตามพุทธวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า 5. ด้านการสาธารณูปการ เจ้าคณะผู้ปกครองหรือพระสังฆาธิการจำต้องให้มีการ ดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการของวัดเพื่อให้วัดนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้านและมีสภาพเป็นวัดในพระพุทธศาสนา 6. ด้านการสาธารณสงเคราะห์ เป็นการอบรมผู้คนในการพัฒนาจิตใจให้เป็นคนดี มีวินัยและคุณธรรม เสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้มีความมั่นคงและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคน
แนวทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้วยหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการจังหวัดบึงกาฬ มีดังนี้ 1) ด้านการปกครอง ใช้หลักอปริหานิยธรรมเข้ามาบูรณาการ เพราะช่วยทำให้เกิดความเจริญในหมู่คณะ 2) ด้านการศาสนศึกษา ใช้หลักไตรสิกขา เข้ามาบูรณาการ มีศีล ฝึกฝนอบรมพัฒนาตน สมาธิ มีจิตแน่วแน่ต่อ การเรียนรู้ ปัญญา ความฉลาดรอบรู้ 3) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ใช้หลักสังควัตถุเข้ามาบูรณาการ เพราะเป็นหลักธรรมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อื่น เป็นการเอื้ออาทร เกื้อกูลทางด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน 4) ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ใช้หลักพุทธวิธีการสอนเข้ามาบูรณาการ เพราะการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใน ระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับต่ำสุดจนถึงระดับสูงสุดทำให้ผู้เรียนนั้นมีสติปัญญามากยิ่งขึ้น 5) ด้านการสาธารณูปการ ใช้หลักพรหมวิหารเข้ามาบูรณาการ เพราะเป็นธรรมะ ประจำใจของท่านผู้บริหารและหลักภาวนา เป็นการทำให้เจริญขึ้น ทำให้ดีขึ้น มีการพัฒนากาย การพัฒนาสังคม การพัฒนาจิตใจและการพัฒนาปัญญา 6) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ใช้หลักสาราณียธรรมเข้ามาบูรณาการ เป็น การสงเคราะห์ที่ให้ความช่วยเหลือต่อสาธารณชนอันแสดงให้เห็นถึงการมีอัธยาศัยมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research are; (1) to study the administration of Sangha Affairs with the principle of Buddhadhamma of the Ecclesiastical Administrative Officers (2) to study the administration of Sangha Affairs with the principle of Buddhadhamma of the Ecclesiastical Administrative Officers of Bueng Kan and (3) to propose the guidelines for administration of Sangha Affairs with the principle of Buddhadhama of the Ecclesiastical Administrative Officers of Bueng Kan Province. This research is the qualitative research by studying the data from documents, related researches, collecting the data by using the format of interviewing , focus group by having 38 key informants and to report the data by the method of descriptive analysis. The results of this research are found as follows:
The administration of Sangha Affairs with the principle of Buddhadhamma of the Ecclesiastical Administrative Officers consists of two kinds of the Buddhist teachings, that is, (1) to express the middle truth “Majjhenadhammatesana” (2) to express the middle way for practice called “Majjhimapatipata” that is the principle of practice of self-control person who trains himself and to know the life astutely, not to be delusion., aiming at the achievement, that is, happiness, cleanliness, bright, peacefulness, freedom and to perform the Sangha affairs with the principle of Dhamma as fallows, (1) the aspect of governing is the principle of the Seven Conditions of Welfare (2) the aspect of religious education, that is, Threefold Trainings (3) the aspect of educational assistance is the Four Bases of Sympathy (4) the aspect of disseminating of Buddhism is the principle of Buddhology in instruction (5) the aspect of public assistance consists of two principles of Dhamma, that is, (1) the Four Sublime States of Mind (2) the Four Mental Cultures (6) the aspect of public welfare is the principle of the Six Virtues for fraternal living (Saraniyadhamma)
The administration of Sangha Affairs with Buddhadhamma principle of the Ecclesiastical Administrative Officers of Bueng Kan Province is found that the three technics for administration are (1) self-administration (2) personnel administration (3) work administration in each aspect as follows: 1) the aspect of government, the Eccl. Administrative officers who are endowed with the high experiences, justice are enhanced from the Eccl. Administrators in working. The communication is up -to-date, speedy, clear system of administration and clear assignment (2) the aspect of the religious education is the educational management for developing common people to be perfect human beings (3) in aspect of educational assistance provides the learners as the center of learning and to develop the keenly interested person for education (4) the aspect of disseminating of Buddhism has the model of peaching in accordance with the Buddhology of the Buddha (5) the aspect of public welfare is that the Eccl. Administrative officers must manage to participate with the committees of temples in order to make those temples get in advance in every aspect and to be endowed with condition as the temples in Buddhism (6) the aspect of the public assistance is to train personnel in developing the spirituality to be good person, to have discipline and virtue, to create the family institute to be stable and to have important roles in developing human beings.
The guidelines for the administration of Sangha Affairs with the principle of Buddhadham of the Ecclesiastical Administrative Officers of Bueng Kan Province are as follows: (1) the aspect of government applies the principle of the Seven Conditions of Welfare (aparihaniyadhamma) for integration because it assists to result in the occurrence of advance in the staffs (2) the aspect of religious education applies the principle of the Threefold Trainings for integration, that is, precepts for developing persons, meditation for the certain mind to learn and wisdom for cleverness (3) the aspect of the educational assistance applies the principle of the Four Bases of Sympathy for integration because it is the principle of Dhamma to occupy the others’ mind and to be charitable in the aspect of education for children and youths (4) the aspect of dissemination of Buddhism applies the principle of Buddhology instruction for integration because the instruction encourages the learners to have knowledge in various sectors from the bottom to the top to raise more knowledge for those learners (5) the aspect of public assistance applies the principle of the Four Sublime States of Mind for integration because it is Dhamma for the administrators and the principle of mental culture for more progress such as physical, social and spiritual development and intelligent development (6) the aspect of public assistance applies the principle of Saraniyadhamma for integration to be assistance for general people by showing the good character and good friendliness for each other.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|