โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างอาชีพของชุมชนเมือง โดยใช้พลังบวร เป็นฐานตามแนวพุทธสันติวิธี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Product Development To Strengthen Urban Society Career Base On The Power Of The Family, Religion And Government Agencies By The Buddhist Peaceful Means
  • ผู้วิจัยนายสายัณห์ บูรณะนิติกุล
  • ที่ปรึกษา 1พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺเวที, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา25/07/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51058
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 25

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา ความต้องการของชุมชนในแขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และแนวคิดการพัฒนาสินค้าชุมชนเข้มแข็งในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์โดยใช้พลังบวรเป็นฐาน และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างอาชีพของชุมชนเมืองโดยใช้พลังบวรเป็นฐานตามแนวพุทธสันติวิธี : ศึกษากรณีแขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ตามหลักอริยสัจจ์โมเดล 9 ขั้นตอน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ได้แก่ หัวหน้าชุมชนและคนในชุมชน 5 คน เจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด 5 แห่ง และหัวหน้าหน่วยงานราชการในแขวงบางขุนนนท์ 5 คน รวมทั้งสิ้น 15 รูป/คน และบันทึกข้อมูลจากการวิพากษ์กระบวนการ

ผลการวิจัย พบว่า

1. บริบทพื้นที่ชุมชน พบว่า แขวงบางขุนนนท์ ตั้งอยู่บริเวณคลองบางขุนนนท์ คลองสาขาที่แยกออกมาจาก คลองบางกอกน้อย หรือแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า “บางขุนนน” มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งของอําเภอบางกอกน้อย พ.ศ. 2515 เปลี่ยนคําเรียกจาก “ตําบล” เป็น “แขวง” แขวงบางขุนนนท์ มีชุมชนเมือง 2 แห่ง คือ ชุมชนชวนชื่น มีจำนวนบ้าน 101 หลัง ประชากรชาย 238 คน หญิง 200 คน รวม 438 คน และชุมชนวัดใหม่(ยายแป้น) มีจำนวนบ้าน 126 หลัง ประชากรชาย 218 คน หญิง 306 คน รวม 524 คน มีวัด 5 วัด ได้แก่ วัดใหม่ (ยายแป้น) วัดศรีสุดาราม วัดบางขุนนนท์ วัดภาวนาภิรตาราม และวัดเจ้าอาม สภาพปัญหา และความต้องการของคนในชุมชน พบว่า คนและชุมชนมีความเครียดจากปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ คือ มีรายได้น้อย ไม่มีเงินเหลือเก็บออม ผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวในพื้นที่บางขุนนนท์มีชื่อเสียง รสชาติถูกปาก แต่ผู้บริโภคไม่สะดวกเดินทางมารับประทาน ชุมชนวัดใหม่ยายแป้นไม่มีอาชีพที่สามารถเลี้ยงชีวิตและครอบครัวได้อย่างเพียงพอ และอาชีพค้าขายที่ทำอยู่ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ โดยแนวคิดการพัฒนาสินค้าชุมชนเข้มแข็งในปัจจุบันมีอยู่ 2 แนวคิด คือ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือ “โอท็อป” กับ แนวคิด “บวร.”

2. หลักธรรมพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์โดยใช้พลังบวรเป็นฐาน คือ "สังคหวัตถุ 4" คือ การมีความโอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ชุมชน วางตนดีเสมอต้นเสมอปลาย ธรรมอันเป็นหลักผูกใจคน เป็นเหมือนมนต์รัก มนต์เสน่ห์หา เมตตามหานิยม เป็นธรรมที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน ประกอบด้วย   1) ทาน คือ การเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปันช่วยเหลือสงเคราะห์ 2) ปิยวาจา คือ กล่าวคำสุภาพ น่าฟัง แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ชักจูงในทางที่ดีงาม เห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 3) อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ชุมชน 4) สมานัตตตา คือ การไม่เอาเปรียบกัน ร่วมสุข ร่วมทุกข์ ร่วมรับรู้แก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกัน

3. กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างอาชีพของชุมชนเมือง โดยใช้พลังบวรเป็นฐานตามแนวพุทธสันติวิธี : ศึกษากรณีแขวงบางขุนนนท์ กรุงเทพมหานคร หรือ หลักการ RATEE Model ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก คือ 1) การฟื้นคืนสิ่งที่เคยมีอยู่เดิมนำกลับมาทำใหม่ (ReBORN) บำรุงรักษา และพัฒนาต่อยอด เริ่มจากการศึกษาบริบทพื้นที่แขวงบางขุนนนท์ (Survey) บ้าน วัด ราชการ ทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคม สภาพแวดล้อมเพื่อรับทราบปัญหา แล้วนำมาวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง (SWOT) จัดประชุมทำแผนงานร่วมกันโดยใช้กลไกพลัง“บวร”เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อน สร้างความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาในลักษณะ “การระเบิดจากข้างใน” จากนั้นก็จะทำการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยพิจารณาการฟื้นคืน (ReBORN) เอกลักษณ์ของชุมชน (Identity) การต่อยอด สืบทอดหรือทำใหม่ (Initiative) 2) การพัฒนาระบบนิเวศให้สัปปายะ(เกื้อหนุน)แก่การซื้อขายแลกเปลี่ยน เริ่มจากพัฒนาคนในชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการพัฒนาอาชีพ โดยเน้น การให้องค์ความรู้ในวิชาชีพ การพัฒนาคุณภาพคน (Man) พัฒนาสถานที่ (Land)) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) และ 3) การลงมือทำและประเมินผล (Implementation & Evaluation) ได้แก่ การนำ Model ที่ได้ไปลงมือทำ มีการประชุมวางแผนการทำงานร่วมกันของ บวร. การฝึกอบรมและพัฒนาสมาชิก การประเมินผลโครงการ และการพัฒนาต่อยอดเพื่อความเติบโตที่ยั่งยืน (Sustainability Growth)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research has 3 main objectives: 1) To study and analyze the context, the problem conditions, the needs of communities in Bang Khun Non, Bangkok Noi, Bangkok, and the current strong community product development concepts; 2) to study Buddhism conducive to developing product by using the positive energy of BOWON -means Home-Temple-Government Agencies. and 3) to develop and present product development processes to enhance urban careers. Using the power of Bowon as a basis according to the Buddhist Peace Method: Study the case of Bang Khun Non Subdistrict, Bangkok Noi District, Bangkok. This is a qualitative research study conducted as an action research, following the 9 steps of ariyasacca model. In-depth interviews were conducted from 5 community and community heads, 5 abbots and 5 government agencies in Bang Khun Non Subdistrict, totaling 15 persons. And recorded information from criticizing the process.

The research findings are as follows:

1. The context of community found that Bang Khun Non is located in the Bang Khun Non Canal, a branch canal separated from the Bangkok Noi Canal or the old Chao Phraya River. Bang Khun Non is a sub-district of Bangkok Noi District has changed the name from Tambon to Kwaeng in 2515. There are 2 urban communities: Chuan Chuen community, There are 101 houses, 238 male, 200 female and 438 in total and Wat Mai (Yai Pan) community, There are 126 houses, 306 male, and a total of 524 people, including Wat Mai (Yai Pan), Wat Srisudaram, Wat Bang Khun Non, Wat Pawana Pirataram and Wat Chao am Temple. The people and communities are stressed by family problems and economic problems -low income no savings, famous noodles in Bang Khun Non area but consumers can not travel to eat, Wat Mai Yai Pan community does not have enough occupations to support their lives and families, and the trade occupations do not meet the needs of consumers. Currently, there are two concepts of development of strong community goods, “One Tambon One Product” (OTOP) and “BOWON”.

2. The Buddhist Peaceful Means, which is conducive to developing product by using the Bowon power as a base is SANGHVATTHU principle is Bountiful, saying polite words, supporting the community, staying in good and consisting of the principles of love and charm. It is the Dharma that sets the place of helping each other consisting of 1) giving -for sacrifice and sharing aid 2) Piyawaja -saying polite words, listening, suggesting useful things, persuading, encouraging and supporting each other, 3) Atthajariya is community or people. 4) Samanattata is to be good, Unparalleled happiness join in suffering and share in knowing how to solve problems for mutual happiness.

3. The product development process to enhance the career of urban communities using the power of BOWON as a basis according to the Buddhist Peace Method: the study of the case of Bang Khun Non, Bangkok -the RATEE model, The principle of model consists of three main processes: 1) Re-BORN; maintenance and further development, starting with the study of the context of Bang Khun Non Subdistrict, economic and social conditions, environmental conditions, then analyze weaknesses and strengths (SWOT) and set up a joint plan by using the BOWON, the power mechanism as a driving force, understanding, accessibility and development in the form of Re-BORN by considering community identity, extension and inheritance or re-doing -Initiative, 2) Ecosystem development for trading-supporting; starting with community development to support product and career development by focusing on professional knowledge, quality of people (Man), Market place (Land) and product development (Product), and 3) Implementation & Evaluation; to implementation of the model, There was a meeting to plan the work together of the Bowon committee, membership training and development, project evaluation and development to strengthen sustainability growth.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ