-
ชื่อเรื่องภาษาไทยความรับผิดทางอาญา และพระธรรมวินัยของพระภิกษุ : ศึกษากรณีพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษCriminal Liability and Dharma Discipline of Monks : Case Study of Monks Committing Offense Fraud
- ผู้วิจัยพระมหาอรรถพล ฐิตธมฺโม (โกมล)
- ที่ปรึกษา 1ดร.วรพจน์ ถนอมกุล
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ
- วันสำเร็จการศึกษา15/07/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชานิติศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51059
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 36
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “ความรับผิดทางอาญาและพระธรรมวินัยของพระภิกษุ: ศึกษากรณีพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง” ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการของพระพุทธบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 1 กรณีพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง และกฎหมายสงฆ์ที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อศึกษาประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องความผิดฐานฉ้อโกง รวมทั้งกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธบัญญัติปาราชิก สิกขาบทที่ 2
4. เพื่อเสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
ผลของการศึกษาเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาและพระธรรมวินัยของพระภิกษุ ศึกษากรณีพระภิกษุกระทำผิดฐานฉ้อโกงนั้นพบว่า ตามพระธรรมวินัย โทษที่เกี่ยวกับการถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตนนั้น มีบัญญัติไว้อยู่ข้อหนึ่ง กล่าวคือ ทุติยปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ 2 “ห้ามภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ตั้งแต่ราคา 5 มาสกขึ้นไป” หากภิกษุรูปใดฝ่าฝืนจะต้องอาบัติปาราชิก อันเป็นอาบัติหนักที่สุด และเป็นหนึ่งในสี่ข้อในที่บรรดาอาบัติที่หนักที่สุดเช่นเดียวกันในอาบัติปาราชิกตามพระวินัย และพระบัญญัติทุติยปาราชิกสิกขาบทที่ 2 นี่ มีมูลเหตุเริ่มต้นจากพระภิกษุฉ้อโกงทรัพย์คือไม้ของหลวงเพื่อนำมาสร้างกุฎีของตน โดยใช้วาจาคำพูดหลอกลวงเจ้าพนักงานรักษาไม้ของหลวงด้วยข้อความอันเป็นเท็จ สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ทุกประการ
อีกทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 บัญญัติว่า “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน ทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” การกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ได้แก่ การกระทำโดยมีเจตนาทุจริตในการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการทำให้เข้าใจผิด ซึ่งอาจทำโดยวิธีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งเมื่อตนมีหน้าที่ต้องเปิดเผยเพื่อไม่ให้ผู้อื่นหลงผิดไปโดยการหลอกลวงนั้นเป็นเหตุให้ ได้ไปซึ่งทรัพย์สินด้วยความยินยอมจากผู้ถูกหลอกหรือบุคคลที่สาม ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่ได้ไปจากการถูกหลอกหมายความถึงวัตถุที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคา และอาจถือเอาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 ซึ่งรวมถึงสิทธิต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ ความผิดฐานฉ้อโกงยังหมายความรวมถึงการทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิอีกด้วย ทั้งนี้ ความผิดฐานฉ้อโกงเป็นเหตุให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ดังนั้นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงจึงเป็นการกระทำที่ต้องการผล กล่าวคือ หากผลเกิดขึ้นตามที่กฎหมายบัญญัติดังกล่าวจึงจะถือเป็นความผิดสำเร็จ และเหตุเพิ่มโทษในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 343 วรรคสอง เป็นกรณีที่การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนที่ต้องด้วยลักษณะตามมาตรา 342 กล่าวคือ ผู้กระทำได้แสดงตนเป็นคนอื่นหรืออาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็กหรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 343 วรรคสอง
เมื่อผู้วิจัยได้ศึกษาแล้วจึงได้ประจักษ์ถึงแนวทางปฏิบัติของพระภิกษุหรือผู้ปลอมตัวเป็นพระภิกษุในการทำความผิดฐานฉ้อโกง โดยผู้วิจัยพบว่าควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจนและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันต่อไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled " Criminal Liability and Dharma Discipline of Monks Case Study of Monks Committing Offense Fraud” is qualitative research in the field of law, specifically documentatry research. The study employs content analysis methodology to analyze data and aims to study the following objectives as follows:
1. To study the concepts, theories, and evolution of second Pārājika (offences entailing defeat) in cases where Buddhist monks commit the offense of fraud, along with relevant monastic laws.
2. To examine the compilation of criminal laws and related legislation regarding the offense of fraud, including international laws, as they relate to the context.
3. To analyze and compare the offense of fraud according to the compilation of criminal laws and laws related to the second Pārājika rule.
4. To propose an approach for preventing and addressing problems arising from the commission of fraud by Buddhist monks.
The result of the study on criminal liability and monastic discipline of monks: a case study of a monks’ fraudulent offense reveals that, according to monastic discipline, the penalty for unauthorized possession of property, which the owner has not given, is governed by an ordinance. Specifically, the Vinaya rule regarding the Second Pārājika offense which states that: "Monks are prohibited from taking what the owner has not given, starting from the value of five māsaka or more." If a monk violates this rule, they must undergo Pārājika, which is the most severe punishment and one of the four heaviest offenses, as stipulated in the Vinaya rule regarding the second Pārājika offense. This offense originated from a monks’ fraudulent act of taking property belonging to the monastery to build their own residence, using deceptive language to mislead the monastery's woodkeeper with false statements, in accordance with criminal law, Article 341, in all respects.
Furthermore, Article 341 stipulates that "Anyone who, by deceit, deceives another person by displaying false statements or concealing true information that should be disclosed, and by such deceit, causes the deceived person or a third party to withdraw, destroy or tamper with legal documents, shall be liable to imprisonment for not more than three years or a fine of not more than sixty thousand baht, or both imprisonment and fine." The offense of fraud includes acts committed with fraudulent intent to deceive others by causing them to misunderstand, which may be done by displaying false statements or concealing true information that should be disclosed when one has a duty to disclose, to prevent others from being misled. Fraudulent acts may lead to the acquisition of property with the consent of the deceived person or a third party. Additionally, the acquired property may include intangible assets that may have value, as well as various rights, as specified in the Commercial and Civil Code, Article 138. Furthermore, the offense of fraud also encompasses acts that cause the deceived person or a third party to withdraw, destroy, or tamper with legal documents. Therefore, the offense of fraud involves the intention to obtain a result. In other words, if the result occurs as prescribed by law, the offense is deemed to have been committed, and the penalty is aggravated in cases where the offense affects the general public according to Article 343, paragraph two, which applies to cases where the offense of fraud meets the criteria under Article 342. This includes cases where the offender presents themselves as someone else or takes advantage of the vulnerable mental state of the deceived person, who may be a child, or exploits the weakness of the deceived person's mind. In such cases, the offender shall receive a heavier penalty under Article 343, paragraph two.
After conducting research, the researcher found that there should be improvements and revisions to the laws to clarify and better suit the current situation regarding cases of fraud involving individuals posing as monks or falsely claiming to be monks.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|