-
ชื่อเรื่องภาษาไทยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของจิตกับกายในพุทธศาสนาเถรวาท
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of the Relationship Between Mind and Body in Theravada Buddhism
- ผู้วิจัยพระครูสุวรรณรัตนสุนทร ญาณวโร (พิมวัน)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาไพฑูรย์ สิริธมฺโม, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูพิศาลสารบัณฑิต, รศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา28/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51063
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 39
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาจิตตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษากายในพระพุทธศาสนาเถรวาท (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของจิตกับกายในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะข้อมูลด้านเอกสารแล้วสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงฆ์การวิจัย ผลการวิจับพบว่า
จิตตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ และสิ่งที่ถูกจิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ เมื่ออารมณ์เกิดขึ้นจิตจึงจะเกิด และเมื่ออารมณ์ดับลง จิตก็ดับตามไปด้วยเสมอ ประกอบด้วย 1. จิตตะ ธรรมชาติที่คิดอารมณ์ 2. มโน ธรรมชาติที่น้อมนึกไปในอารมณ์ต่าง ๆ 3. มานัส ธรรมชาติที่มีความพอใจในการรับอารมณ์ 4. หทยะ ธรรมชาติที่รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน 5. ปัณฑระ ธรรมชาติที่มีความผ่องใส 6. มนายตนะ ธรรมชาติที่เป็นบ่อเกิดแห่งการรับรู้ทางใจ 7. มนินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่เป็นผู้ปกครองในการรับรู้อารมณ์ 8. วิญญาณ ธรรมชาติที่รู้แจ้งอารมณ์ 9. วิญญาณขันธ์ หมวดหมู่แห่งธรรมชาติที่รู้แจ้งอารมณ์ 10. มโนวิญญาณธาตุ สภาพที่ทรงไว้ซึ่งการรู้แจ้งอารมณ์เป็นพิเศษทางใจ
กายในพระพุทธศาสนาเถรวาท แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. นามกาย คือ การประชุมแห่งนามธรรม แต่ในบางกรณี นามกาย หมายถึง นามขันธ์หมดทั้ง 4 คือ ทั้ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือ ทั้งจิต และเจตสิก 2. รูปกาย ที่รวมแห่งอวัยวะทั้งหลาย หรือ ชุมนุมแห่งรูปธรรม คือ ร่างกาย บางทีเรียกเต็มว่า รูปกาย
ความสัมพันธ์ของจิตกับกายในพระพุทธศาสนาเถรวาท จิต คือ การอาศัยการสร้างจินตภาพของจิต จิตและวัตถุมีสหสัมพันธ์ต่อกัน ต่างก็ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน จิตและวัตถุมีอยู่แต่ไม่ได้มีฐานะเป็นเนื้อสาร หรือไม่ได้มีแก่นสารตัวตนของมันเอง กายเป็นที่ตั้งและเป็นแหล่งแสดงออกของจิต เพื่อให้จิตได้รับรู้ หรือสัมผัสกับโลกภายนอกทางตา หู จมูก ลิ้นและกาย กายจึงเป็นที่ตั้งและเป็นแหล่งแสดงออกของจิต กายจึงมีความสำคัญต่อจิต และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต เมื่อไม่อยู่ในความสมดุลแห่งธาตุและขันธ์ จิตก็ไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ต่อไปได้ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ก็ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ฉะนั้น กายจึงมีความสำคัญเท่ากันกับจิต เมื่อกายกับจิตมีอยู่ สภาวธรรมที่เป็นความทุกข์ และความสุขของมนุษย์จึงเกิดตามมาเป็นของคู่กัน นั่นคือ ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ และสุขทางกายกับสุขทางใจ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research are; (1) to study the mind in accordance with the principle of Theravada Buddhism (2) to study the body in Theravada Buddhism and (3) to study the relationship of mind and body in Theravada Buddhism. This research is the qualitative research by analysis of documents. The results of research are found that
The mind in compliance with the principle of Theravada Buddhismb is one kind of natures that know the feelings. The mind is the knower and the thing known by the mind is the feeling. When the feeling occurs, the mind will occur and when the feeling ends, the mind always ends. It consists of (1) the mind is the nature to think about the feeling (2) the thinking faculty (Mano) is the nature inducing the thought to various feelings (3) Thinking function (Manas) is the nature satisfied with the feeling (4) Heart-base (Hadaya) is the nature embracing the inside feeling (5) pandara is the nature that is bright (6) Manayatana is the nature as the origin of spiritual perception (7) Manintariya is the nature as the governor in the feeling (8) Vinnaya is the nature to know the feeling clearly (9) Vinyanakhan is the groups of nature to know the feeling clearly (10) Manovinnanatha is the state of holding the clear knowledge related to the feeling as the spiritual specification,
In Theravada Buddhism, it can be divided into two types, that is, 1} Namakaya is the collection of abstracts but in some cases, Namakaya includes all four aggregates, that is, feeling, perception, condition and consciousness or both mind and mental factors 2) Rupakaya is the collection of organs or embracement of concretes, that is, body and sometime it is called “physical figure” (Namarupa).
The relationship of mind and body in Theravada Buddhism is that the mind is based on creation of the imagination of the mind and materials associated with each other by relying on each other. The mind and materials exist but not to be the contents of substance or not to be the permanent by themselves. The body is the setter and the sources of expression of the mind. The body is an significance for the mind and an importance for lifestyles. When it is not in the balance of element and aggregate the mind will not exist any more . The lifestyles of human beings can not maintain the lives any more. So the body is important equal to the mind. When the body and the mind exist, the Dhamma situation that is the suffering and happiness of human beings comes up as the double, that is, the physical and mental suffering and physical and mental happiness.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|