-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในจังหวัดบึงกาฬ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Instructive Model of the Insight Meditation in Bueng Kan Province
- ผู้วิจัยพระครูอภินันทโสภิต อภินนฺโท (แถวสามารถ)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สมเดช นามเกตุ
- ที่ปรึกษา 2พระมหาไพฑูรย์ สิริธมฺโม, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา28/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51064
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 62
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในจังหวัดบึงกาฬ และ(3) เพื่อเสนอรูปแบบสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในจังหวัดบึงกาฬ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 50 รูป/คน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มี 2 อย่างคือ (1) สมถกัมมัฏฐาน เป็นการฝึกฝนอบรมจิตใจให้เกิด ความสงบ จิตนิ่งมีอารมณ์อย่างเดียว ให้แน่วแน่จนจิตตั้งมั่นแนบสนิทจนน้อมดิ่งลงไปสู่สิ่งนั้นสิ่งเดียวที่เรียกว่า เอกัคคตาจิต (จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) ไม่ฟุ้งซ่านซัดส่ายไปหาสิ่งอื่นหรืออารมณ์อื่น (2) วิปัสสนากัมมัฏฐาน การฝึกฝนอบรมปัญญาให้เกิดความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ตามความเป็นจริง ของสิ่งทั้งหลาย ตรงต่อสภาวะของจนถอนความหลงผิด รู้ผิด และยึดติดในสิ่งทั้งหลายได้ ซึ่งหลักใน มหาสติปัฏฐานสูตร เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม ด้วยอริยมรรค เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางสายนี้คือ สติปัฎฐาน 4 คือ (1) การพิจารณาเห็นกายในกาย (2) การพิจารณาเวทนาในเวทนา (3) การพิจารณาเห็นจิตในจิต (4) การพิจารณาธรรมเห็นในธรรม
การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในจังหวัดบึงกาฬ เป็นการสอนตามหลักมหาสติปัฏฐาน 4 ซึ่งมีวัดที่เป็นตัวแทน 3 วัดคือ วัดสว่างมีชัย วัดสุวรรณาราม และวัดบุพพราชสโมสร มี 1 รูปแบบ คือ การปฏิบัติแบบสมถยานิกคือใช้สมถะนำหน้า โดยกำหนดอารมณ์พองยุบ อานาปานสติ และพุทโธ (พุทธานิสติ) ต่อมามีการสอนที่มุ่งให้จิตมีสมาธิ แล้วจึงพิจารณาไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไป และในปัจจุบันทั้ง 3 วัด ได้มีแบบแผนการสอนปฏิบัติที่เน้นความง่าย โดยเริ่มต้นจากการสอนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ แล้วนำปฏิบัติ เป็นการจัดหลักสูตรระยะสั้น 5 วัน 7 วัน และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
รูปแบบสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในจังหวัดบึงกาฬ เป็นการพัฒนาคอร์สปฏิบัติติธรรมระยะสั้น 5 วัน 7 วัน โดยใช้วัดที่มีประชาชนในจังหวัดบึงกาฬ เข้ามาปฏิบัติจำนวนมากมากำหนดรูปแบบ โดยเน้นการปฏิบัติที่ง่าย ตั้งแต่การเรียนรู้ ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ และการตอบคำถาม การนำปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐาน 4 ที่เหมือนกัน โดยการจัดทำคู่มือของคอร์ส ประกอบด้วย ข้อปฏิบัติก่อนเข้า สิ่งที่ต้องเตรียมมา สิ่งที่วัดเตรียมให้ กำหนดการปฏิบัติ 5 วัน 7 วัน เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบของจังหวัด เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน สร้างความศรัทธาให้กับพระสงฆ์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are; (1) to study the instruction of Insight Meditation in the Buddhist scripture (2) to study the instruction of the Insight Meditation in Bueng Kan Province and (3) to propose the instructive model of the Insight Meditation in Bueng Kan Province. This research is the qualitative research by studying the data from documents, related researches by collecting the data from interview and then analyzing the data from interviewing, focus group and including 50 key informants and to report the results of reach by using the descriptive analysis. This research is qualitative one. The results of this research are found as follows:
The instruction of Insight Meditation in Buddhist scripture is divided into two items, that is, (1) the Tranquil Meditation means to train the mind for peace, stability, firm until it becomes into that thing called “the mind only” (the mind has the single emotion) not to be of confusing and swinging to other things or other (2) The Insight meditation is to train the wisdom in order to result in the clear knowledge in accordance with the reality of all things identical to the state of withdrawnness from delusion and wrong knowledge and to be attached to all things. The principle of “the Four Foundations of Mindfulness” arises for the purity of all beings, to be free from sorrow and lamentation, to extinguish the suffering and painful mental feelings, to attain Dhamma with the Noble path and to enlighten Nibbana. This path is called “the Four Foundation of Mindfulness” consisting of (1) contemplation of the body (2) contemplation of feelings (3) contemplation of mind (4) contemplation of Dhamma.
The model of practicing the Insight Meditation in Bueng Kan Province is the practice in accordance with the principle of the Four Foundations of Mindfulnes. The three temples perform their duties as the representatives, that is, Wat Meechai, Wat Suwannaram and Wat Buppharajasamoson. They have only one model, that is, the model of practice is Samathanika Model, that is, to apply the Tranquil Meditation as the leading model by limitation of breath-in and breath-out, mindfulness on breathing, and Buddho ( Buddhanusati) by focusing on making the meditated mind and then to contemplate the Three Characteristics of Existence by continuing to practice the Insight Meditation. The period of time in managing the curriculum of practice from five days to seven days and the important days of Buddhism.
The proposition of the model of instructing the Insight Meditation in Bueng Kan Province is to develop the course of practicing Dhamma in the period of time from 5 days to seven days by applying the temples that the majority of people in Bueng Kan Province entering to practice Dhamma for limitation of model by focusing on the simple practice by learning the meaning, importance and benefits and to answer the questions and to practice the Four foundations of Mindfulness as the same by doing the course handbook consisting of the principle before attaining, the prepared things for usage, the things provided by the temples, the limitation of practice from 5 days to 7 days and added details in the case of practitioners’ necessity in order to create the model of province, propaganda of Buddhism and creation of faith in Sangha.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|