-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการเสริมสร้างจริยธรรมทางสังคมสำหรับประชาชนผ่านความเชื่อเรื่องพญานาค ในจังหวัดหนองคาย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines of The Strengthening Social Ethics to The People Through Beliefs of Naga in Nong Khai Province
- ผู้วิจัยพระครูปริยัติธรรมวราภรณ์ เตชธมฺโม (พลดาหาญ)
- ที่ปรึกษา 1พระครูพิศาลสารบัณฑิต, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สมเดช นามเกตุ
- วันสำเร็จการศึกษา28/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51065
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 34
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดความเชื่อเรื่องพญานาค และจริยธรรมของพญานาคในพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องพญานาคของประชาชนในจังหวัดหนองคาย (3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างจริยธรรมทางสังคมสำหรับประชาชนผ่านความเชื่อเรื่องพญานาค ในจังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบไปด้วย พระสงฆ์ ข้าราชการ พนักงานอบต.จุมพล ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป รวมจำนวน 30 รูป/คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า
แนวคิดความเชื่อเรื่องพญานาค และจริยธรรมของพญานาคในพระพุทธศาสนาเถรวาท แนวคิดความเชื่อเรื่องพญานาคนั้น มีพื้นฐานด้านพัฒนาการมาจากกรอบแนวคิดดั้งเดิมของอินเดีย 2 สาย คือ โดยเห็นว่าสรรพสิ่งเกิดมาจากการกระทำ และผลของการกระทำ ซึ่งในวัฒนธรรม 2 สายนี้ ก่อให้เกิดแนวคิดเรื่องพญานาคแยกเป็น ๒ สาย คือ (๑) เทวลิขิตที่เห็นว่าพญานาคเกิดมาจากการสร้างของเทพเจ้า และ (2) กรรมลิขิตที่เห็นว่าพญานาคเกิดมาจากกรรม และผลของการกระทำของตน ส่วนจริยธรรมของพญานาคในพุทธศาสนาเถรวาท มี 8 ประการ คือ 1) รักษาศีลอุโบสถ 2) บำเพ็ญศีลบารมี 3) ประพฤติตนสุจริต 4) บำเพ็ญตบะ 5) ถวายทาน 6) ปกป้องพระพุทธเจ้า 7) ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และ 8) ธำรงพระพุทธศาสนา
ความเชื่อเรื่องพญานาคของประชาชนในจังหวัดหนองคาย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่มีความเชื่อเรื่องพญานาค เพราะปรากฏหลักฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ประวัติของพระอริยสงฆ์ครูอาจารย์ ตำนานพญานาค คำบอกเล่า และจากประสบการณ์จริง 2) กลุ่มที่เชื่อหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากคนรุ่นใหม่ส่วนมากเชื่อในหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพราะสามารถพิสูจน์ได้ จึงไม่เชื่อต่ออำนาจเหนือธรรมชาติที่เป็นผลดีหรือผลร้ายต่อบุคคลนั้น ๆ 3) กลุ่มที่ไม่แน่ใจว่าพญานาคมีอยู่จริงหรือไม่ ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนบุคคล โดยเชื่อว่าพญานาคเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในรูปแบบคำสอนทางพระพุทธศาสนา ซึ่งคอยปกป้องดูแลให้มนุษย์ทำความดี
แนวทางการเสริมสร้างจริยธรรมทางสังคมสำหรับประชาชนผ่านความเชื่อเรื่องพญานาค ในจังหวัดหนองคาย 4 ด้าน คือ 1) การเสริมสร้างจริยธรรมในตนเอง เช่น การประพฤติด้านความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ในการตั้งสัจจะอธิษฐานจะรักษาศีลอุโบสถ สวดมนต์ ภาวนา ในวันธรรมสวนะหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นเวลาหนึ่งปีก็จะปฏิบัติเช่นนี้ไปเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ละเลยในการประพฤติปฏิบัติแต่อย่างใด 2) การเสริมสร้างจริยธรรมในครอบครัว เช่น การประพฤติด้านความกตัญญู บุตรมีความกตัญญูต่อบิดามารดา เชื่อฟังคำสอนของบิดามารดา และดูแลรักษาท่านเมื่อท่านเจ็บป่วย ด้านความซื่อสัตย์ต่อครอบครัว สามีภรรยามีความจริงใจต่อกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และไม่นอกใจกัน 3) การเสริมสร้างจริยธรรมในชุมชน เช่น การประพฤติด้านความเสียสละบำเพ็ญประโยชน์ มีจิตอาสาพัฒนาชุมชน ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อนบ้าน และบุตรหลานไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 4) การเสริมสร้างจริยธรรมในสังคม เช่น การประพฤติด้านความมีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย และกฎกติกาของสังคม นำศีล 5 ไปปรับใช้กับกฎหมายเสริมสร้างจริยธรรมในสังคม เป็นการควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ ทำให้สังคมอยู่อย่างสงบสุข โดยไม่ฆ่าผู้อื่น ไม่ลักทรัพย์ของผู้อื่น และไม่หมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นต้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are; 1) to study the concept related to the beliefs of Naga and the Naga’s ethics in Theravada Buddhism 2) to study the beliefs of Naga of people in Nongkhai Province and 3) to study the guidelines to enhance the social ethics for people through the beliefs of Naga in Nongkhai Province. This research is the qualitative research by field study for collecting the data by in-depth interview from the key informants consisting of Buddhist monks, officials, the personnel of Choompol Subdistrict Administrative Organization, local experts and general people including 30 subjects and then to report the results of research with descriptive analysis.
The results of research are found that the concept related to the beliefs of Naga is based on development from the frame of primitive concept of Idia in two lineages, that is, to perceive that all beings occur from actions and the results of action in two cultures result in the concepts related to Naga by dividing into two lineages, that is, (1) divine omens perceives that Naga was born from the divine creation and (2) The active action perceives that Naga results from Kamma and his own action. While Naga’s ethics in Theravada Buddhism consist of 8 items, that is, 1) the Eight Precepts observed by devotees in Uposatha days 2) the precept perfection observance 3) the honesty observance 4) Austerity observance 5) liberality 6)the Buddha protection 7) Faith in Buddhism and 8) to preserve Buddhism.
The beliefs in Naga of people in Nongkhai Province can be divided into two groups, that is, 1) the groups believe in Naga as appeared in the Scripture of Theravada Buddhism, the histories of the Noble Buddhist monks, teachers, legends of Naga, hearsays, and real experiences 2) the groups who do not believe in Naga because the majority of modernists believe in the scientific evidences because all those can be proved so they do not believe in the super natural power that will be good effect or bad evil for those people.
The guideline of enhancing the social ethics for people through thye beliefs in Naga in Nongkhai Province, that is, 1) to enhance in the community level, that is, (1) to apply the principles of Buddhist teachings for families such as the Four Sublime States of Mind, the Four Bases of Sympathy and Virtue for good household life (2) to apply the virtue for enhancing themselves consists of 8 items, that is, to have honesty, discipline, charity, gratitude, gratefulness, respectfulness, unity, justice, loving kindness and compassion 2) to enhance in the level of society, that is, to apply the five precepts for the law in creating the ethics for controlling the human beings’ behaviors in order to make society happy.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|