-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลหนองสองห้อง จังหวัดหนองคาย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Guideline of Developing the life Quality of the Aged People in Accordance with the Principle of Threefold Trainings of the Aged School in the Municipality of Nong Songhong Subdistrict. Nongkhai Province
- ผู้วิจัยนายสายันต์ มูลทาทอง
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สมเดช นามเกตุ
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.บุญส่ง สินธุ์นอก
- วันสำเร็จการศึกษา28/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51069
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 80
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ของการวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา (2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลหนองสองห้อง จังหวัดหนองคาย และ(3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลหนองสองห้อง จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้ววิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 รูป/คน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ขั้นที่ 1. นำสู่สิกขา คือ ขั้นของการฝึกฝนตนเองเรียนรู้ที่ถูกต้อง การฝึกฝนให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นรากฐานของการฝึก และพัฒนาตนเอง ประกอบด้วยปัจจัย 2 อย่าง คือ 1. ปัจจัยภายนอก (ปรโตโฆสะ) 2. ปัจจัยภายใน (โยนิโสมนสิการ) สงผลให้การทำงานทั้งภายนอกและภายในนั้นต้องมีความสอดรับกัน ด้วยหลักแห่งเหตุผล ขั้นที่ 2. ไตรสิกขา เป็นขั้นการพัฒนาคนอย่างสมบูรณ์แบบการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ การเรียนรู้ การรับรู้ การกระทำ คือ 1) ศีล เป็นการฝึกพฤติกรรม โดยมีวินัยในการดำเนินชีวิต เป็นเครื่องมือในการฝึกให้อยู่ในกรอบของศีล 2) สมาธิ เป็นการฝึกด้านจิต ฝึกด้านคุณธรรม ความมีจิตเมตตา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การกระทำทางกาย และทางวาจา 3) ปัญญา เป็นการฝึกในด้านการรู้ การพิจารณา การไตร่ตรองหาเหตุผล ทั้งภายนอกที่ต้องดำเนินชีวิต และภายในที่ต้องใช้หลักเหตุผล ขั้นที่ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทางสังคม โดยใช้หลักแนวคิดพฤฒพลัง 1. ด้านสุขภาพ 2. ด้านการมีส่วนร่วม 3. การมีความมั่นคงในชีวิต
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลหนองสองห้อง จังหวัดหนองคาย มีการพัฒนากิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุประกอบด้วย 1) การพัฒนาด้านร่างกาย เป็นการจัดการปัญหาทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ 2) การพัฒนาด้านศีลกับการพัฒนากาย เป็นกระบวนการเรียนรู้เรื่องศีลกับการดำเนินชีวิต กายกับจิต 3) การพัฒนาด้านจิตใจ เป็นการบำบัดด้วยกิจกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของสภาวะจิตใจ 4) การพัฒนาจิตด้วยสมาธิ โดยการฝึกสมาธิสามารถเป็นการพัฒนาจิต เพื่อฝึกจิตให้เกิดความอดทน 5) การพัฒนาด้านสติปัญญา ด้วยการฝึกคิดอยู่กับปัจจุบัน ไม่คิดอดีตมากไป ไม่พะวงกับอนาคต จนเครียดมากไป 6) ด้านการพัฒนาปัญญาเพื่อแก้ปัญหาเป็นการฝึกอบรมปัญญา คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะธรรมชาติ มองโลกเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของสัพสิ่ง เมื่อทำใจได้อย่างนี้ แล้วก็จะมีจิตใจอิสระ
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลหนองสองห้อง จังหวัดหนองคาย มีแบบแผนปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา กิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ และ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทางสังคม ดังนี้ 1. แบบแผนปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ด้วยการเรียนรู้ และพัฒนา ด้านศีล สมาธิ ปัญญา 2. กิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ ด้านร่างกาย คือการปรับพฤติกรรม ทางกายภาพที่งดงาม มีองค์ความรู้ ความเข้าใจในหลักศีล เพื่อการบูรณาการศีลในการพัฒนาร่างกาย รวมทั้งกิจกรรมการออกกำลังกายของโรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นการรักษากายภายในด้านศีล และภายนอกด้วยกิจกรรม ด้านจิตใจ ด้วยการฝึกจิตตามหลักของการทำสมาธิ เพื่อจิตสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่าน อารมณ์ไม่เศร้าหม่อง เกิดความผ่อนคลายเพราะจิตเป็นสมาธิ ด้านปัญญา การพิจารณาไตร่ตรองรู้เท่าทันอารมณ์เกิดความรู้แจ้งตามสภาวธรรมเพราะมีปัญญาเป็นตัวนำ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทางสังคมด้วยแนวคิดพฤฒพลัง 1. ด้านสุขภาพ ด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับช่วงอายุ 2. ด้านการมีส่วนร่วม ด้วยกิจกรรมด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ ตามสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ความสามารถ ความต้องการ และความชอบของบุคคล 3. การมีความมั่นคงในชีวิต ด้วยหลักประกันว่าเมื่อประชาชนเข้าสู่วัยสูงอายุ จะได้รับการปกป้อง การเคารพ และได้รับการดูแลเมื่อไม่สามารถดูแลตนเองได้ หรืออยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research are; 1) to study the development of life quality of aged people in accordance with the Threefold Trainings 2) to study the development of life quality of aged people of the Aged School in the municipality in Nong Songhong Subdistrict, Nongkhai Province and 3) to propose the guideline of developing the life quality of the aged people incompliance with the Threefold Trainings of the Aged School in the municipality of Nong Songhong Subdistrict, Nongkhai Province. This research is the qualitative research by studying documents and interview, fous group, consisting of 49 sujects and proprosing the data by using the descriptive analysis.
The results of the research are found that the life development of the quality of aged people in accordance with the Threefold Trainings consists the first step leading to the disciplinary rule that is, the step for oneself training in order to learn in the right way. To train oneself for the Right View is the foundation of training and self-development consisting of 2 factors, that is, 1) outside facors (Paratoghosa) 2) Inside facors (Yonisomanasikara) The results that encourage to work both outside and inside must be agreeable for each other with the principle of cause and effect, For the step 2 the Threefold Training is the perfect development model and for this step, it must be endowed with education, perception and action, that is, 1) the precept is to train the behavior by having discipline for lifestyle and being instrument for training in the frame of precepts 2) the meditation is the aspect of spiritual training. Virtue training, loving kindness, charitability, physical and verbal action 3) the wisdom is the knowledge training, consideration, contemplation, consideration for reasons both outside for lifestyle and inside for finding the reasons. Step 4) the life quality of aged people of life in society by using the principle of active ageing. 1) the aspect of health 2) the aspect of participation and the aspect of life stability,
The developing the life quality of the aged people in accordance with the Threefold Trainings of the Aged School of the municipality in Nong Songhong Subdistrict, Nongkhai Province is endowned with the development activities of the Aged School consisting of 1) the physical development is to handle the physical problems of the aged people 2) the precept and physical development are the process of learning the precept and lifestyle, that is, the body and spirit 3) the spiritual development is to cure with activities that make better change for the spirituality 4) to develop the spirit with meditation by practicing meditation can develop the spirit in order to make the spirit endurable 5) the intelligent development must develop with thought in the present, not to think about the past, not to be worried about the future until too much serious 6) the intelligent development for problem solving is to train the intelligence, that is, to create knowledge and understanding the change in accordance with the state of nature, looking at the world as the residence of all beings. When all make spirit like this, their spirits will be free.
A guideline of developing the life quality of the aged people in accordance with the Threefold Trainings in the municipality of Nong Songhonng Subdistrict, Nongkhai Province is endowed with the practical principles in accordance with the Threefold Traiigs. The social activities of the aged schools are 1) the practical model in accordance with the Threefold Trainings by learning and developing in the aspect of preceps, meditation and w9sdom 2) the activities of the aged schools in the aspect of the body, that is, the behaviral adjustment in the way of physical goodness, that is, to have knowledge and understand the precepts for intergrating the precepts in developing the phycicque including the activities for physical exercise of the aged schools as the physical protection in the aspect of precepts and the outside with activities. In the spiritual aspect, it is downed with the spiritual training in accordance with meditation practice in order to make the mind calm, not confusion, not sorrow emotion and to decline because the mind is the meditation, in the intelligent aspect, the contemplation and emotional knowledge until knowing clearly in accordance with the state of Dhamma because the wisdom is the leader. 3) the development of life quality of the aged people in society with the active ageing, that is, the health aspect consists of the physical exercise appropriate with the period of ages 4) the aspect of participation consists of the social activities, economy, culture, and consciousness in accordance with the basict rights of human beings complying with ability, wishes, and the requirement of persons 5) it is endowned with the stability in life with the insurable principle that when individual who enters in the aged period will receive protection, respect, and will be taken care of when individual can not help himself or in situation that individual must be taken care of from others.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|