โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารจัดการเสนาสนะที่ดีตามหลักสาธารณูปการของวัด ในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGood Management of Facilities in line with Construction and Innovation of Monastery at Kaeng Khro District, Chaiyaphum Province
  • ผู้วิจัยพระมหาชาตรี ตนฺติปาโล (บุบผา)
  • ที่ปรึกษา 1พระสมุห์ธงชัย สุนฺทราจาโร, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูบรรพตภาวนาวิธาน, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา08/07/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51070
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 47

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการเสนาสนะที่ดีของวัด ตามหลักสาธารณูปการในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ ที่มีต่อการบริหารจัดการเสนาสนะที่ดีตามหลักสาธารณูปการของวัดในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการเสนาสนะที่ดีตามหลัก สาธารณูปการของวัดในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการ วิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.900 จากกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์ใน อำเภอแก้งคร้อ จำนวน 215 คน ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ สถิติอนุมาน และ สถิติพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิค การวิเคราะห์เนื้อหาสรุปเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า1.ระดับการบริหารจัดการเสนาสนะที่ดีตามหลักสาธารณูปการของวัดในอำเภอแก้งคร้อจังหวัดชัยภูมิโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̅=4.15,S.D.=0.21) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านสร้างนิสัย (x̅=4.22,S.D.=0.36) รองลงมาคือ ด้านสะสาง (x̅=4.15,S.D.=0.36) และน้อยที่สุดคือ ด้านสุขลักษณะ (x̅=0.11,S.D.=0.37) 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของการบริหารจัดการเสนาสนะที่ดีตามหลัก สาธารณูปการของวัดในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ พรรษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเสนาสนะที่ ดีตามหลักสาธารณูปการของวัดในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐาน ที่ตั้งไว้ส่วนพระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษานักธรรม และ วุฒิการศึกษาสามัญ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ การบริหารจัดการเสนาสนะที่ดีตามหลักสาธารณูปการของวัดในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมุติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ข 3. แนวทางการบริหารจัดการเสนาสนะที่ดีตามหลักสาธารณูปการของวัดในอำเภอ แก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิพบว่า 1) ด้านสะดวก การจัดเสนาสนะให้มีความสะดวก มีการจัดวางของใช้ที่ จำเป็นต้องใช้ให้เป็นระบบระเบียบ สามารถหยิบจับใช้งานได้ทันที รวมทั้งให้ความสำคัญในการ กำหนดสถานที่ตั้งต้องไม่ห่างไกลจากสถานที่ปฏิบัติกิจวัตร มีการจัดให้เป็นสัดส่วนเพื่อให้เกิดความ สะดวกต่อการใช้งานและมีความคุ้มค่า 2) ด้านสะอาด การจัดเสนาสนะให้มีความสะอาดควรคำนึงถึง อุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดควรมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ มีการจัดเสนาสนะให้เรียบร้อย สามารถดูแลรักษาได้ง่าย มีการดูแลอย่างสม่ำเสมอ มีการตรวจสอบ ว่าอุปกรณ์มีความพร้อมที่จะใช้ งานอยู่หรือไม่ มีการทำความสะอาดบริเวณวัด 3) ด้านสะสาง การสะสางหรือการทำความสะอาดวัด ทำในสิ่งที่สำคัญก่อน เช่น การเก็บทำความสะอาดในบริเวณพื้นที่วัดที่เป็นเสนาสนะสำคัญ เช่น โบสถ์ ศาลา กุฏิสงฆ์ วิหาร ลานเจดีย์ มีการกำหนดระเบียบมีการวางแบบแผนให้รัดกุม มีความชัดเจน 4) ด้านสุขลักษณะ การจัดเสนาสนะให้ถูกสุขลักษณะนั้นจัดให้สามารถนำมาใช้งานได้ทันทีสะดวกใน การใช้งาน ง่ายต่อการจัดเก็บ ก่อนเก็บก็ควรมีการทำความสะอาดให้เรียบร้อย มีการรักษาความ สะอาดเสนาสนะ ปฏิบัติตามหลัก 3 ส 5) ด้านสร้างนิสัย บุคลากรภายในวัดมีการปลูกฝังให้รักษา ความสะอาดภายในวัด มีความสมัครสมานสามัคคี มีการช่วยกันดูแลรักษาเสนาสนะ ฝึกสอนให้มี ความรับผิดชอบในส่วนของตนเองที่ได้รับมอบหมายให้เป็นนิสัย 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study the level of good management of monastery facilities in line with construction and innovation of monastery at Kaeng Kho District, Chaiyaphum Province. 2. To compare the monks’ opinions on the good management of monastery facilities in line with construction and innovation of monastery at Kaeng Kho District, Chaiyaphum Province, and 3. To proppose a good management approach to the good management of facilities in line with construction and innovation of monastery at Kaeng Kho District, Chaiyaphum Province, conducted by the mixed methods. The quantitative research using questionnaires with the confidence value at 0.900 to collect data from 215 samples who were monks at Kaeng Kho District, Chaiyaphum Province, analyzed the data by social science ready made programs using descriptive statistics: percentages, averages, standard deviations and inferential statistics: t-values, F-test. The qualitative research. Data were collected using in-depth-interviewing 10 key informants and data were analyzed by descriptive interpretation, presented in an essay form. Findings were as follows: 1. The level of good management of facilities Senasana according to the construction and innovation of monasteries at Kaeng Kho District, Chaiyaphum Province, by overall, was at a high level (x̅=4.15,S.D.=0.21) and when considered each aspect,it was found that the aspect with the most average was the habit building aspect (x̅=4.22,S.D.=0.36). The next was the clearingaspect (x̅=4.15,S.D.=0.36) and the aspect with the least average was the sanitation aspect (x̅=0.11,S.D.=0.37). 2. Results of of opinions comparison on good management of facilities in accordance with the Principles of construction and innovation of monasteries at Kaeng Kho District, Chaiyaphum Province, classified by personal factors, were found that monks with different personal factors in terms of age and lent did not have different opinions on the good management of facilities according to the principles of construction and innovation of monasteries at Kaeng Kho district, Chaiyaphum Province, rejected the set hypothesis. As for monks with different Dhamma education and general education qualifications had different opinions on the good management of facilities according to the principles of construction and innovation of monasteries at Kaeng Kho district, Chaiyaphum Province with statistically significant levels of 0.05, accepted. the set hypothesis. 3. Guidelines for good management of facilities in accordance with the principles of construction and innovation of monasteries at Kaeng Kho district, Chaiyaphum Province were found that 1) The convenient aspect; . the arrangement of facilities should be arranged in an orderly manner that can be used immediately, and it should be important to determine the location must not be far from the place of routine operation. It should be arranged in good proportion to make it convenient to use and cost-effective. 2) The clean aspect: arrangement of facilities should be be clean, should take into account that the cleaning equipment should always be prepared.facilities should be arranged neatly, can be easily maintained, and should be taken care of regularly. It is checked whether the device is ready for use. The monasteries areas should be cleaned. 3) The clearing aspect: clearing or cleaning the monasteries should do important things first, such as cleaning the monastic areas that were important places, such as churches, pavilions, monks' quarters, pagoda ground . Regulations were set and the scheme was set to be concise. 4) Sanitation aspect; the hygienic arrangement of facilities should be arranged so that it can be used immediately, convenient to use. It is easy to store, and before storing, it should be cleaned thoroughly. Cleanliness should be maintained in accordance with the principle of 3S. 5) Habit building aspect; personnel in the monasteries should be cultivated to maintain cleanliness in the monasteries, should have solidarity, should help to maintain the facilities, and should be trained to be responsible for their own assigned job as habits.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ