โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามหลักสัปปายะ ของวัดในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษCultural Tourism Attractions Management of Monasteries according to Sappāya Principle at Pak chong District, Nakhon Ratchasima Province
  • ผู้วิจัยพระสำราญ ฐิตวินโย (เชื้อจันทร์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร. พิชิต ปุริมาตร
  • ที่ปรึกษา 2พระสมุห์ธงชัย สุนฺทราจาโร, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา08/07/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51076
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 61

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตามหลักสัปปายะของวัดในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง หลักสัปปายะกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในอำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา 3. นำเสนอแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามหลักสัปปายะของวัดใน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.989 เก็บข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวของวัดในอำเภอปากช่อง จำนวน 399 คน รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในอำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̅=3.67,S.D.=0.43) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการประชาสัมพันธ์ (x̅=3.71,S.D.=0.46) รองลองมา คือ ด้าน บุคลากร (x̅=3.68,S.D.=0.49) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการจัดทำโปรแกรมการ ท่องเที่ยว (x̅=3.63,S.D.=0.61) 2. ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างหลักสัปปายะกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมของวัดในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวม พบว่า หลักสัปปายะ โดย ภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับสูงมาก (r)=0.774** จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในอำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา พบว่า หลักสัปปายะ ได้แก่ ด้านสถานที่สัปปายะ ด้านอาหารสัปปายะ ด้านบุคคลสัปปายะ และด้านธรรมะสัปปายะ ดังนั้น เมื่อหลักสัปปายะข้างต้น เป็นตัวส่งเสริมเกิดแนวทางการจัดการ ข แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มากยิ่งขึ้น ทั้ง 5 ด้าน มี ลักษณะ ดังนี้ 1) ด้านสถานที่ ประกอบด้วย รณรงค์ให้ช่วยรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ ของวัด จัดระเบียบสถานที่ท่องเที่ยวของวัดให้เหมาะสมน่าชม จัดการสถานที่ท่องเที่ยวให้อยู่ในสภาพ ที่ดี สะอาดและปราศจากมลพิษ 2) ด้านบุคลากร ประกอบด้วย สร้างทีมงานที่มีความรู้ ทักษะ และ ความใส่ใจในการบริการ การจัดบุคลากรอย่างเหมาะสมมีความสามารถเพิ่มประสบการณ์และทักษะที่ จำเป็นให้กับบุคลากรด้านการท่องเที่ยว 3) ด้านการจัดกิจกรรมภายใน ประกอบด้วย พัฒนากิจกรรม การท่องเที่ยวเพื่อช่วยสร้างโอกาสใหม่ให้กับชุมชน มีการปรับปรุงกิจกรรมการท่องเที่ยวของวัดที่ หลากหลายทันสมัยมากขึ้น มีการเพิ่มกิจกรรมที่น่าสนใจเช่นการจัดงานเทศกาล ประเพณีท้องถิ่นและ เสวนาธรรม4) ด้านการจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยว ประกอบด้วย จัดโปรแกรมการท่องเที่ยวของวัด ทำอย่างประณีตและรอบคอบ จัดโปรแกรมให้มีการเรียนรู้เรื่องประเพณีและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จัดโปรแกรมเยือนวัดที่มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญให้มากยิ่งขึ้น 5) ด้านการประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย สร้างความตระหนักรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมและประเพณีของวัด สร้างความเข้าใจและการร่วมมือ กันระหว่างชุมชนและวัด สร้างสรรค์สิ่งสร้างสรรค์เนื้อหาที่น่าสนใจแก่นักท่องเที่ยว 


บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1.To study the level of of cultural tourism attractions management of monasteries according to the Sappāya principle at Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province, 2. To study the relationship between the Sappāya principle and the cultural tourism attactions management of monasteries at Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province, and 3. To propose guidelines for the cultural tourism attractions management of monasteries at Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province. The research methodology was the mixed methods. The quantitative research by survey method, collected data using questionnaires with a total confidence value of 0.989 from 399 samples who were people at the tourist attractions of monasteries at Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province. The data were analyzed using a ready-made social science program using descriptive statistics: percentages, averages, standard deviations and inferential statistics using Pearson's correlation coefficient. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 10 key informants and analyzed by descriptive interpretation. Findings were as follows: 1. The level of cultural tourism attractions management of monasteries at Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province, by overall, was at a high level (x̅=3.67, S.D.=0.43) and when considered each aspect individually, it was found that the aspect with the highest average was public relations ( x̅ =3.71, S.D.=0.46), followed by personnel (x̅=3.68, S.D.=0.49) and the aspect with the lowest average was tourism program preparation (x̅=3.63, S.D. x̅=0.61). 2. The relationship between the Sappāya principle and the cultural tourism attractions management of monasteries Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province, was found that Sappāya principle had the positive relationship with the cultural tourism attractions management of monasteries at Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province, at a high level (r)=0.774**. 3. Guidelines for the cultural tourism attractions management of monasteries at Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province, were found that the principles of Sappāya, suitability, namely, place suitability, food suitability, person suitability, Dhamma suitability. These above principles were the enhancers of the cultural tourism attractions management of monasteries at Pak Chong District, in 5 aspects as follows: 1) Location; by campaigning to help maintain the cleanliness and orderliness of the monasteries. Organize the monasteries attractions appropriately and sightseeing sites in good order, clean without pollutions,. 2) Personnel; consisting of building a team with knowledge, skills and attention to service, arranging personnel appropriately and capableof increasing the necessary experience and skills for tourism personnel, 3) Internal activities; including developing tourism activities to help create new opportunities for the community. Tourism activities of various monasteries should be improved, more modern. Interesting events such as festivals should be added such as local festivals and Dhamma discourse, 4) Tourism program preparation; monasteries tourism program should be made neatly and carefully. Organize programs to learn about local traditions, arts and culture, historical monasteries sight seeing. 5) Public relations; including raising awareness and understanding of the culture and traditions of the monasteries. Building understanding and cooperation between the community and the monasteries Create interesting content for tourists. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ