โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การส่งเสริมจริยธรรมแก่เยาวชนของพระสงฆ์ในอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPromoting Ethics for Youths of Monks at Chakkarat District of Nakhon Ratchasima Province
  • ผู้วิจัยพระครูธรรมนาถวิศิษฐ์ (มงคล นาถธมฺโม/ ผลพิมาย)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูขันติธรรมธารี, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระสมุห์ธงชัย สุนฺทราจาโร, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา08/07/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51078
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 52

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมจริยธรรมแก่เยาวชนของ พระสงฆ์ในอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของเยาวชนที่มี ต่อการส่งเสริมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่เยาวชนในอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมแก่เยาวชนของพระสงฆ์ในอำเภอจักราช จังหวัด นครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บ ข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.952 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 297 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท สรุปเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับหน้าที่ของพระสงฆ์ในการส่งเสริมจริยธรรมแก่เยาวชนในอำเภอจักราช จังหวัด นครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=4.21, S.D.=0.25) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดย เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1. ด้านพัฒนาจิตใจให้เป็นคนดี (x̅=4.25, S.D.=0.39) 2. ด้านเสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้มั่นคง (x̅=4.22, S.D.=0.35) 3. ด้านเสริมสร้างความสงบสุข ในสังคม (x̅=4.21, S.D.=0.36) 4. ด้านยกระดับคุณภาพชีวิต (x̅=4.19, S.D.=0.38) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของการส่งเสริมจริยธรรมแก่เยาวชนของพระสงฆ์ ในอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เยาวชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ การส่งเสริมจริยธรรมแก่เยาวชนของ พระสงฆ์ในอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ 3. แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมแก่เยาวชนของพระสงฆ์ในอำเภอจักราช จังหวัด นครราชสีมา โดยใช้หลักประกัน 5 ข้อมาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนในการดำเนิน ชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดความสงบสุข คือ หลักประกันความมั่นคงของชีวิต (ไม่มุ่งร้ายทำลายผู้อื่น) ปลูกฝังให้เยาวชนมีคุณธรรมจริยธรรมรู้จักความดีไม่เห็นแก่ตัวรู้จักเสียสละมีน้ำใจต่อกันมีเมตตาต่อกัน หลักประกันความมั่นคงของทรัพย์สิน (ไม่ละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้อื่น) ประกอบสัมมาอาชีพทางสุจริต ด้วยหลักศีล 5 หลักประกันความมั่นคงของสถาบันครอบครัว (ไม่ละเมิดต่อจริยธรรมทางเพศ)รู้จักรักนวน สงวนตัวรู้จักยับยั้งชั่งใจต่อกามอารมณ์หลักประกันความมั่นคงของสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (ไม่ กล่าวถ้อยคำที่ปราศจากสติ) ไม่กล่าวถ้อยคำที่ปราศจากสติการตัดสินใจอะไรก็ดีต้องพิจารณาให้ดีสิ่งที่ เรารับฟังมาบางครั้งก็ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด และหลักประกันความมั่นคงของสุขภาพ (การไม่ดื่ม ไม่เสพ สิ่งของมึนเมาและสิ่งเสพติดทุกชนิด) การไม่ดื่มสุราบุคคลนั้นย่อมที่จะรักษาศีลข้ออื่นได้เพราะบุคคล นั้นมีสติคิดได้ แยกแยะได้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร จะทำให้ให้เยาวชนมีคุณธรรมจริยธรรมและดำรงตน อยู่ในศีลธรรม 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study the level of ethics promotion for the youth of monks at Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province, 2. To compare the level of youths opinions on the ethics promotion for the youth of monks at Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province, and 3. To present guidelines for promoting ethics promotion to the youth of monks in Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province. The research methodology was the mixed methods. The quantitative research, data were collected by questionnaires with a confidence value of 0.952, from 297 samples, the youths aged 15 years and above, analyzed the data with a ready-made social science program using desceiptive statistics: percentages, averages, standard deviations and inferential statistics, t-test, F-test. The qualitative research, data were collected by in-depth-interviewing 10 key informantsdata and analyzed the data by content deswcriptive analysis techniques and summarized into essay format. Findings were as follows: 1. The level of monks’ duties in promoting ethics to the youths at Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province, by overall, was at a high level (x̅,=4.21 S.D.=0.25). When classified each aspect on a case-by-side basis, in descending order of average as follows: 1) Developing the mind to be a good person (x̅,=4.25 S.D.=0.39), 2. Strengthening the family institution (x̅,=4.22, S.D.=0.35), 3. Strengthening social peace ( x̅,==4.21, S.D.=0.36), 4. Improving the quality of life (x̅,=4.19, S.D.=0.38) respectively. ง 2. The results of the opinion comparison on the promotion of ethics to the youths of monks at Chakra District, Nakhon Ratchasima Province, classified by personal factors, were found that the youth with different personal factors in terms of gender, age, and education level did not have different opinions on the promotion of ethics to the youth of monks at Chakarat District, Nakhon Ratchasima Province, rejected the set hypothesis. 3. Guidelines for promoting ethics to the youth of monks in Chakarat District, Nakhon Ratchasima Province by using 5 collaterals to promote the morality and ethics of youth in their daily lives to achieve peace, namely, Guarantee of security of life; (not to harm others), Cultivate young people to have morality, ethics, goodness, selflessness, sharing, kindness to each other. Guarantee of the security of property (not infringing on the property of others),Pursue an honest career with the 5 precepts. Guarantee the stability of the family institution (do not violate sexual ethics), know how to love, be reserved, know how to restrain sensual emotions. Guarantee of the security of right to information (not to speak mindless words), Do not speak mindless words. Whatever decision we make, we have to consider carefully, what we have heard is sometimes not the whole truth. Guarantee of health security (not to drink, not to consume intoxicating substances and all kinds of addictive substances). By not drinking alcohol, a person will be able to keep other precepts because he is conscious, distinguishing what should and what should not be done. These help the youths have morality and ethics and live in morality. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ