-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement of Modeled Developed Monastery at Kong District, Nakhon Ratchasima Province
- ผู้วิจัยพระใบฎีกามานนท์ สุจิตฺโต (ตันเถื่อน)
- ที่ปรึกษา 1พระสมุห์ธงชัย สุนฺทราจาโร, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.พิชิต ปุริมาตร
- วันสำเร็จการศึกษา08/07/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51079
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 171
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างใน อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสังฆาธิการที่มีต่อการบริหาร จัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อ นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยเป็น แบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.850 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 205 รูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบ ค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมาก (x̅=3.56, S.D.=0.53) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการปกครอง (x̅=3.58, S.D.=0.61) รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา (x̅=3.57, S.D.=0.58) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสังคม (x̅=3.53,S.D.= 0.48) 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มีอายุ พรรษา ระดับการศึกษา นักธรรม ระดับการศึกษาเปรียญธรรม และระดับการศึกษาชั้นสามัญ ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ การบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธ สมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางการบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า หลักการบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในอำเภอคงจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติตามแผน ด้านการตรวจสอบ ด้านการปรับปรุงการดำเนินการ ดังนั้นเมื่อหลักการ ข บริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างข้างต้น เป็นตัวส่งเสริมให้เกิดแนวทางการบริหารจัดการวัดพัฒนา ตัวอย่างในอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา มากยิ่งขึ้น ทั้ง 5 ด้าน มีลักษณะดังนี้ 1) ด้านการจัดการ สิ่งแวดล้อม จัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัดเป็นสถานที่ที่ร่มรื่น สวยงาม สะอาด ปลอดภัย เหมาะกับ การปฏิบัติธรรมและประกอบกิจกรรมต่างๆ 2) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา วัดให้ ความสำคัญทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ แหล่งถ่ายทอดความรู้ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และ ค่านิยมที่ดีงามให้กับเด็กและเยาวชน 3) ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรม ส่งเสริม ศีลธรรมจริยธรรมสำหรับบุคคลทุกกลุ่มวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เป็นสถานที่สำหรับประกอบ ศาสนา กิจกรรม อบรมศีลธรรม ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชน 4) ด้านการปกครอง เน้นหลักเมตตา กรุณา และความยุติธรรม ยึดตามพระธรรมวินัย ข้อบังคับ กฎระเบียบ ของคณะสงฆ์ประพฤติตนอยู่ในกรอบของกฎหมาย 5) ด้านการพัฒนาสังคม ให้ความ ช่วยเหลือสงเคราะห์ด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน การสงเคราะห์ผู้ยากไร้ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย อำนวยความสะดวกในการให้ใช้สถานที่ของวัดจัดกิจกรรมต่าง ๆ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the level of management of the modeled developed monastery at Kong District, Nakhon Ratchasima Province. 2. To compare the Administrative Monksopinions on the management of the modeled developed monastery at Kong District, Nakhon Ratchasima Province, classified by personal factors, and 3 . To present the management guidelines for the modeled developed monastery at Kong District, Nakhon Ratchasima Province, conducted by the mixed methods. The quantitative research, data were collected by questionnaires with a confidence value of 0.850 from 205 samples who were administrative monks at the Sangha administrative area of Kong District, Nakhon Ratchasima Province. The data were analyzed by a ready-madesocial science program using descriptive statistics: percentages, averages, standard deviations and inferential statistics: t-test, and F-test. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 10 key informants and analyzed by descriptive interpretation. Findings were as follows: 1. Management of the modeled developed monastery at Kong District, Nakhon Ratchasima Province, by overall, was at high level (x̅=3.56, S.D.=0.53) and when considered each aspect on a case-by-case basis, it was found that the aspect with the highest average was Administration ( x̅= 3.58, S. D. = 0.61) , followed by promotion and development of education (x̅=3.57, S.D.=0.58) and the aspect with the least average value was social development (x̅=3.53, S.D.=0.48) 2. Comparison of monks’ opinions on the management of the modeled developed monastery at Kong District, Nakhon Ratchasima Province, classified by personal factors, was found that the monks with different ages, Lent, levels of Dharma education, and general education levels did not have different opinions on the management of the modeled developed monastery at Kong District, Nakhon Ratchasima Province. Therefore, the set research hypothesis was rejected. 3. Guidelines for the management of modeled developed monastery at Kong District, Nakhon Ratchasima Province were management principles consisted of: Planning, Implementation of the plan, audit. operational Improvement Therefore, when the above management principles were the catalyst for the management of modeled developed monastery at Kong District, Nakhon Ratchasima Province in 5 aspects as follows: 1) Environmental Management; Manage the environment inside monasteries to be a shady place. Beautiful, clean, safe, suitable for practicing Dharma and carrying out various activities. 2) Promotion and Development of Education; The monastery emphasized the importance of serving as a center of learning, a source of knowledge transfer, and instilling morality, ethics, and good values for children and youths. 3) Organizing activities to promote morality and ethics; Promote morality and ethics for all groups of people, the monastery was the spiritual center of the community, a place for religious activities, moral training, and moral ethics promotion, and a good role model for the people.4) Administration; emphasizingon the principles of mercy, benevolence, and justice, based on the Dharma and Vinaya, regulations of the Sangha, behaving in frame of laws. 5) Social development; providing relief assistance in various fields to the people, relief for the needy victim assistance. Facilitate the use of the monastery premises to hold various activities.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|