-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการตามหลัก 5ส. ของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement According to 5 S. Principles of Monasteries at Muang District, Nakhon Nayok Province
- ผู้วิจัยพระครูวิมลปทุมานุกูล (จิรศักดิ์ ชยเมธี)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.พิชิต ปุริมาตร
- ที่ปรึกษา 2ดร.สุริยะ มาธรรม
- วันสำเร็จการศึกษา08/07/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51082
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 251
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการบริหารจัดการตามหลัก 5ส. ของวัด 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลัก 5ส. ของวัด 3. นำเสนอ แนวทางการบริหารจัดการตามหลัก 5 ส.ของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ระเบียบวิธีวิจัยเป็น แบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้ง ฉบับเท่ากับ 0.909 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก จำนวน 227 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่งเบนมาตรฐาน ทดสอบ มาตรฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีค่าแตกต่าง จึงได้ทำการ เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวีต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิง คุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการ วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารจัดการตามหลัก 5 ส.ของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดย ภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̅=4.34,S.D.=0.37) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มี ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือด้านสะดวก (x̅=4.69, S.D.=0.34) รองลงมา คือ ด้านสะสาง (x̅=4.62, S.D.= 0.36) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านสร้างวินัย (x̅=4.08, S.D.=0.66) 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลัก 5ส. ของวัด โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มีอายุ พรรษาและการศึกษาชั้นนักธรรม ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลัก 5 ส. ของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนพระสงฆ์ที่มี การศึกษาชั้นสามัญแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลัก 5 ส. ของวัดในอำเภอ เมือง จังหวัดนครนายก ไม่ต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางการบริหารจัดการตามหลัก 5 ส.ของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก พบว่า หลักการบริหารจัดการ 4M ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุสิ่งของและอุปกรณ์ และด้านการบริหารจัดการ ดังนั้น เมื่อหลักการบริหาร 4M เป็นตัวส่งเสริมแนวทางการบริหารจัดการ ตามหลัก 5 ส.ของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก มากยิ่งขึ้นทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านสะสาง ได้แก่ สำรวจแยกแยะสิ่งของและจัดให้เป็นหมวดหมู่ มีความรู้และเข้าใจในหลัก 5ส. แนะนำให้ พระภิกษุที่อยู่ในวัดร่วมตัดสินใจในการสะสาง 2) ด้านสะดวก ได้แก่ มีวิธีการทำงานสะดวกหรือไม่ จัดความสะดวกโดยภาพรวมของพื้นที่ดี จัดเก็บเอกสารและวัสดุต่างเป็นระเบียบ แยกประเภทวัสดุ สิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ 3) ด้านสะอาด ได้แก่ วางกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดให้ปฏิบัติพร้อม บทกำหนดโทษไว้อย่างชัดเจน ทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้งหลังใช้งาน กำหนดผู้รับผิดชอบตรวจ ประเมินการทำงาน 4) ด้านสร้างมาตรฐาน ได้แก่ สร้างมาตรฐานปลูกจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน แต่งตั้งการทำงานขององค์กร บุคลากรสามารถเรียนรู้การทำงานอย่างสร้างสรรค
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the level of management according to the 5S. principle of the monasteries, 2. compare monks’ opinions on the management according to the 5S’s principle of the monasteries, and 3. To present management guidelines according to the principles of 5 Ss of monasteries at Muang District, Nakhon Nayok Province The research methodology was the mixed methods. The quantitative research, data were collected by questionnaires with a confidence value of 0.909 from. 227 samples who were monks at Muang District. The data were analyzed using a ready-made social science program using descriptive statistics, percentages, averages, standard deviations, statistics, and inferential statistics, t-test, f-values, The qualitative research, data were collected from 10 key informants by in-depth interviewing w ith key data providers.analyzed using descriptive content analysis techniques. The results showed that: 1. The level of m anagem ent according to the 5 S.s principle of monasteries at Muang District, Nakhon Nayok Province, by overall, was at a high level (x̅ =4.34, S.D.=0.37) and when considered each aspect on a case-by-case basis, it was found that the aspect with the highest average value was the Convenience aspect (x̅=4.69, S.D.=0.34), followed by Clean-up (x̅=4.62, S.D.=0.36). The aspect with the lowest average value was Building Discipline (x̅=4.08, S.D.=0.66). 2. Results of the monks’ opinions comparison on the management according to the 5S’s principles, classified bypersonal factors, it was found that the monks with different ages, Lents and Dharma education had different opinions on the management according to the 5 S. principle of monasteries at Muang District, Nakhon Nayok Province at statistically significant level of 0.05.accepted the set hypothesis. As for monks with different general education did not have different opinions on the management according to the 5 S. principles of monasteries at Muang District, Nakhon Nayok Province. Therefore, the set research hypothesis was rejected. 3. The management guidelines according to the 5 S. principles of monasteries at Muang District, Nakhon Nayok Province were found that the 4M management principles, namely, Man, Money,Materials and Management, These 4M management principle promoted the management approach according to the 5 S. principles of monasteries at Muang District, Nakhon Nayok Province for more effectively in all 4 aspects as follows: 1) Sasang,Clean-up, including surveying, classifying things in categories. Knowledge and understanding of the 5 S. principles, it is recommended that monks in the monasteries participate in making decisions in the process of Clean-up, 2) Convenience; arrange convenience by the overall areas in good order, Keep documents and materials well organized in categories. 3) Clean aspect, which includes setting rules for maintaining cleanliness with clear penalties. Clean the device after each use. 4) Standard setting, including creating standards, raising awareness of work, appointing the work of the organization. Personnel can learn to work creatively
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|