โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารกิจการคณะสงฆ์เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSangha Affairs Administration for Buddhism Stability at Muang District, Nakhon Nayok Province
  • ผู้วิจัยพระครูวินัยธรกมลเมธ กตปุญฺโญ (โค้วตระกูล)
  • ที่ปรึกษา 1ดร. สุริยะ มาธรรม
  • ที่ปรึกษา 2พระครูขันติธรรมธารี, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา08/07/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51083
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 67

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1.ศึกษาระดับของการบริหารกิจการคณะสงฆ์เพื่อ ความมั่นคงในพระพุทธศาสนา 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารกิจการ คณะสงฆ์เพื่อความมั่นคงในพระพุทธศาสนา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. นำเสนอแนวทางการ บริหารกิจการคณะสงฆ์เพื่อความมั่นคงในพระพุทธศาสนาในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ระเบียบ วิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.898 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ในอำเภอเมือง จำนวน 227 รูป วิเคราะห์ ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดย วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่าง จึงได้ทำความเปรียบเทียบความ แตกต่างเป็นรายคู่ และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารกิจการคณะสงฆ์เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̅=4.07, S.D.=0.26) และเมื่อพิจารณาเป็นราย ด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการศึกษาสงเคราะห์(x̅=4.15, S.D.=0.82) รองลงมา คือ ด้านการสาธารณูปการ (x̅=4.11, S.D.=0.78) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการศาสน ศึกษา (x̅=3.98, S.D.=0.83) 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของกพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์เพื่อ ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ทีมีอายุ พรรษา และวุฒิการศึกษานักธรรม ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหาร กิจการคณะสงฆ์เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วน พระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาสามัญ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์เพื่อความมั่นคง ข ของพระพุทธศาสนา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการ วิจัย 3. แนวทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในอำเภอ เมือง จังหวัดนครนายก พบว่า หลักการบริหารจัดการ 4M ได้แก่ ด้านคน ด้านเงิน ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านการจัดการ ดังนั้น เมื่อหลักการบริหาร 4M เป็นตัวส่งเสริมทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์เพื่อ ความมั่นคงของพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นทั้ง 6 ด้าน ดังนี้ 1) การปกครอง ประกอบด้วยสร้างความ ตระหนักในหน้าที่อย่างชัดเจน ตระหนักถึงความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชน 2) ด้าน การศาสนศึกษา ประกอบด้วย ปรับประยุกต์ให้เหมาะกับยุคสมัย เรียนรู้หลักการบริหาร มีส่วนร่วมใน การรักษาศาสนา 3) ด้านการเผยแผ่ ประกอบด้วย จัดเทศนาสั่งสอนประชาชน สอนศาสนาไม่ คลาดเคลื่อนจากความจริง ไม่ยึดติดในแง่ใดแง่หนึ่งของหลักธรรม 4) ด้านการสาธารณูปการ ประกอบด้วย มีการบูรณะและการพัฒนาวัด การจัดการบริหารงานก่อสร้างอย่างเหมาะสม บริหารงานก่อสร้างอาคารสถานที่ 5) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ จัดการศึกษาตามหลักสูตร ให้ การศึกษาแก่พระสงฆ์ปลูกฝังศีลธรรม 6) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ประกอบด้วย สงเคราะห์ให้กิน อยู่แบบพอเพียง สงเคราะห์ให้เข็มแข็งจิตใจและกายและสงเคราะห์ให้ธรรมมากกว่าวัตถุ 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study the level of Sangha affairs administration for Buddhism stability, 2. To compare the monks’opinions on the Sangha affairs administration for Buddhism stability, classified by personal factors,and 3. To present guidelines for the Sangha affairs administration for Buddhism stability at Muang District. Nakhon Nayok Province. The research methodology was the mixed methods. The quantitative research, data were collected by distributing questionnaires with a confidence value of 0.898 from 227 samples who were monks at Muang District, analyzed the data with a ready-made social science program using descriptive statistics: percentages, averages, standard deviations and inferential statistics, t-test, F test. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 10 key informants, analyzed by content descriptive interpretation. Findings were as followst: 1 . T h e le v e l o f Sangha affairs administration for Buddhism stability at Muang District, Nakhon Nayok Province, by overall, was at a high level (x̅=4.07, S.D.=0.26) and when considered each aspect individually, it was found that the aspect with the highest average value was the field of education and welfare (x̅=4.15, S.D.=0.82), followed by the field of public utilities (x̅=4.11, S.D.=0.78) and the aspect with the lowest average value was the field of religious education (x̅=3.98, S.D.=0.83). 2. Comparison of the monks’ opinions on the Sangha affairs administration for Buddhism stability at Muang District, Nakhon Nayok Province, classified by personal factors, it was found that the monks with different age, Lents and Dhamma ง education qualification did not have different opinions on t h e Sangha affairs administration for Buddhism stability at Muang District, rejected the set hypothesis. The monks with different formal education qualification had different opinions on the Sangha affairs administration for Buddhism stability at Muang District, N akh o n Nayok Province at statistically significant level of 0.01, accepted the set hypothesis. 3. The guidelines for the Sangha affaires administration for Buddhism stability in Muang District, Nakhon Nayok Province were found that the 4M management principles, namely, Man, Money, Material and Management.These 4M management principle promoted the Sangha affair4es administration for Buddhism stability in all 6 aspects as follows: 1) Governing: creating a clear awareness of duties; Recognize responsibility and participate in community activities. 2) Religious education; consisting of adapting to the times. Learn the principles of management. 3) Mission; including organizing sermons to teach the people. Teaching religion is not far from the truth. Not to adhere to one aspect of Dhamma strictly 4) Public utilities include the restoration and development of temples, proper management of construction work, and proper management of construction work. 5) Education, Welfare; organizing education according to the curriculum, educating monks, and cultivating morality, 6) Public Welfare, consisting of helping to live self-sufficiently, Helping to strengthen the mind and body, and Helping to provide Dhamma rather than material things

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ