โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การส่งเสริมงานสาธารณะสงเคราะห์ช่วงสถานการณ์โควิด - 19 ของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPromotion of Public Welfare Work Duing Covid 19 Pandemics of Sangha at Muang District, Nakhon Ratchasima Province
  • ผู้วิจัยพระใบฎีกายุทธนา ยุทฺธนปญฺโญ (ปลอดกระโทก)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูขันติธรรมธารี, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร. สุริยะ มาธรรม
  • วันสำเร็จการศึกษา08/07/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51086
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 55

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื ่อ ๑) เพื ่อศึกษาระดับของการส ่งเสริมงานสาธารณะ สงเคราะห์ช ่วงสถานการณ์โควิด - ๑๙ ของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการส่งเสริมงานสาธารณะสงเคราะห์ช่วง สถานการณ์โควิด - ๑๙ ของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการ ส ่งเสริมงานสาธารณะสงเคราะห์ช ่วงสถานการณ์โควิด - ๑๙ ของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัด นครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการ เก็บข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๖๓ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน ที่มีอายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป จำนวน ๓๙๙ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบ สัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๑๐ รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เนื้อหา ประกอบบริบท สรุปเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ๑. ระดับการส่งเสริมงานสาธารณะสงเคราะห์ช่วงสถานการณ์โควิด - ๑๙ ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=๓.๘๐, S.D.=๐.๕๐) เมื่อจำแนก เป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค ่าเฉลี ่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ๑. ด้านการเกื้อกูลสาธารณสมบัติ (x̅=๓.๘๑, S.D.=๐.๕๓) ๒. ด้านการดำเนินกิจการเพื ่อช ่วยเหลือเกื้อกูล (x̅=๓.๘๐, S.D.=๐.๕๕) ๓. ด้านการเกื้อกูลประชาชน (x̅=๓.๘๐, S.D.=๐.๕๖) ๔. ด้านการช ่วยเหลือผู้อื ่นเพื่อ สาธารณประโยชน์ (x̅=๓.๗๙, S.D.=๐.๕๕) ตามลำดับ ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของการส ่งเสริมงานสาธารณะสงเคราะห์ช ่วง สถานการณ์โควิด - ๑๙ ของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ และอายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ การส่งเสริมงาน สาธารณะสงเคราะห์ช ่วงสถานการณ์โควิด - ๑๙ ของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มี ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ต่อเดือนต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการส่งเสริมงานสาธารณะสงเคราะห์ช่วงสถานการณ์ ข โควิด - ๑๙ ของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ๓. แนวการส่งเสริมงานสาธารณะสงเคราะห์ช่วงสถานการณ์โควิด - ๑๙ ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยการนำเอาหลักสังคหวัตถุ ๔ มาประยุกต์ใช้กับงานสาธารณ สงเคราะห์ตามหลักสังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ คือ ทาน (การให้) การแบ ่งปันเพื ่อประโยชน์แก่ ประชาชนทุกคน เป็นการแสดงถึงการมีไมตรีจิตที่ดีปิยวาจา (การพูดเพื่อให้กำลังใจ) การแสดงให้ ผู้อื่นรับรู้ว่าเป็นวาจาที่พูดจาดีมีอัธยาศัยไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใสสามารถให้คำปรึกษาต่าง ๆ ให้คำแนะนำ และรับฟังด้วยการเป็นผู้ฟ้งที่ดีอัตถจริยา (การช่วยเหลือกัน) ในช่วงของสถานการณ์โรคระบาดโรคโค วิด – ๑๙ พระสงฆ์ได้ทำงานเพื่อสังคม เป็นผู้ที่เสียสละเวลาส่วนตัวในการช่วยเหลือสังคม สมานัตตตา (การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ) สร้างสรรค์สิ่งที่ดีมีคุณประโยชน์แก่ส่วนรวม เป็นการคำนึงถึงประโยชน์ ร่วมกัน และการร่วมทุกข์ร่วมสุขของคนในสังคม 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study the level of public work promotion during the COVID-19 pandemics of Sangha at Muang District, Nakhon Ratchasima Province, 2.To compare people’s opinions on the peomotion of public swelfares work during Covid -19 pandemics of Sangha at Muang D istr ict, Nakhon Ratchasima Province, classified by personal factors, and 3. To present guidelines for promoting public work during the COVID-19 pandemics of Sangha at Muang District Sangha, Nakhon Ratchasima Province. The research methodology was the mixed methods.The quantitative research, data were collected by questionnaires with a confidence value of 0.963 from 399 samples who were the people 18 years old and over, analyzed the data using a ready-made social science program using descriptive statistics, percentages:, averages, standard deviations and inferential statistics: t-test, F test. The qualitative research, data were collected by in-depth-interviewing 10 key informants aalyzed by descriptive interpretation and presented in assay format. Findings were as follows: 1. The level of public welfare promotion during the COVID-19 situation of the Muang District Sangha, Nakhon Ratchasima Province, by overall, was at high level (x̅=3.80, S.D.=0.50). When considered each aspect by aspect in descending order of average, it was found that: 1). Assistance to the public domain (x̅=3.81, S.D.=0.53), 2). Operation to assist and share (x̅, =3.80,S.D.=0.55), 3). Public assistance (x̅,=3.80, S.D.=0.56), 4). Assistance to others for the public interest (x̅,=3.79,S.D.=0.55) respectively. ง 2. Results of opinion comparison of Public Welfare Promotion during the COVID-19 pandemics of Sangha at Muang District Sangha, Nakhon Ratchasima Province, classified by personal factors. It was found that people with different gender and age did not have different opinions on the promotion of public welfares work during the COVID-19 pandemics of Sagha at Muang District, Nakhon Ratchasima Province, rejected the set hypothesis As for people with different levels of education, occupation and monthly income. There was a statistically significant difference in the level of opinion on the promotion of public welfare work during the COVID-19 pandemics of Sangha at Muang District, Nakhon Ratchasima Province, at the statistically significant vlevel of 0.05, accepted the set hypothesis 3. Guidelines for promoting public welfare work during the COVID-19 spandemics of Sangha at Muang District, Nakhon Ratchasima Province by applying Sanghavattu 4 to public welfare work, namely, Dana; giving, sharing for the benefit of all people, showing good goodwill, Piyavaja; speaking to encourage, showing others that it is a well-spoken, hospitable, smiling, able to give advice, and being good listeners. Atthacariya; by being a good advocator during the COVID-19 pandemic, monks have been working for society, sacrificing their personal time to help society. Samanattata; by being equal treatment, creating good things that are beneficial to the community, taking into account the common benefits and sharing the suffering of people in society. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ