โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ทัศนคติทางการเมืองตามแนวพุทธในการเลือกตั้งท้องถิ่นของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเทศบาลนครนครราชสีมา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Political Attitudes on Local Elections of Voters in Nakhon Ratchasima Municipality
  • ผู้วิจัยพระรฤทธิ์ วริทฺธิญาโณ (เขียนโคกกรวด)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูปริยัติวิสุทธิบัณฑิต, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร. ไพวรรณ ปุริมาตร
  • วันสำเร็จการศึกษา08/07/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51091
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 76

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับทัศนคติทางการเมืองในการเลือกตั้ง ท้องถิ่นของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 2. เปรียบเทียบทัศนคติทางการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่นของ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. นำเสนอทัศนคติทางการเมืองตามแนว พุทธในการเลือกตั้งท้องถิ่นของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเทศบาลนครนครราชสีมา การวิจัยเป็น แบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.966 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งที่มี อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 387 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับทัศนคติทางการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่นของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งใน เทศบาลนครนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=4.01, S.D.=0.60) เมื่อจําแนกเป็นราย ด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการตัดสินใจ ในทางการเมือง (x̅=4.06, S.D.=0.66) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านการดำเนินการเลือกตั้ง (x̅=4.01, S.D.=0.68) และน้อยที่สุด ด้านการร่วมรณรงค์การเลือกตั้ง (x̅=3.96, S.D.=0.69) ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบทัศนคติทางการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่นของผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งในเทศบาลนครนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีทัศนคติทางการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่นของผู้มีสิทธิ ออกเสียงเลือกตั้งในเทศบาลนครนครราชสีมา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึง ยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ทัศนคติทางการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่นของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเทศบาล นครนครราชสีมา ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการดำเนินการเลือกตั้ง ด้านการร่วมรณรงค์การเลือกตั้ง ด้านการตัดสินใจในทางการเมืองเมื่อนำประยุกต์หลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อให้เกิดทัศนคติทาง การเมืองตามแนวพุทธในการเลือกตั้งท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพที่ควบคู่ไปกับหลักจริยธรรมได้ดังนี้ 1) ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์เป้าหมาย กฎเกณฑ์กติกาที่เกี่ยวข้อง นักการเมืองท้องถิ่น รู้หลักเกณฑ์การเลือกตั้งเป็นอย่างดี 2) อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล มีการวางแผน งานเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบการเลือกตั้ง รู้จักผลที่จะเกิดผลเนื่องจากการเลือกตั้ง สามารถวิเคราะห์ ผลจากการดำเนินโครงการ รู้จักเป้าหมายในการบริหารงานท้องถิ่น 3) อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน สร้างวิธีเป้าหมายในการบริหารงานท้องถิ่นให้มีความเจริญ เป็นผู้มั่นใจในศักยภาพของตนเองอย่างดี 4) มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ วางแผนการใช้งบประมาณ นึกถึงแต่ประโยชน์ส่วนร่วม ขจัดการ รับสินบน 5) กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาลเวลา จัดสรรเวลาอย่างเหมาะ ลำดับความสำคัญ 6) ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักชุมชน รู้จักพฤติกรรม เข้าใจปัญหา ให้ความสำคัญกับชุมชน 7) ปุคคลัญญุตา เป็นผู้รู้จัก เลือกบุคคล เคารพความแตกต่างทางการเมือง 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study political attitudes on local election of voters, 2. To compare the political attitudes on local elections of voters, classified by personal factors, and 3. To present the political attitude according to the Buddhist principle on local elections of voters in Nakhon Ratchasima Municipality. Research methodology was the mixed methods. The quantitative research, data were collected by questionnaires with a confidence value of 0.966. The statistics used in the data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviation, hypothesis testing by t-test, F- test and one-way variance. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 9 key informants and analyzed by analyzing content descriptive interpretation. Findings were as follows: 1. The level of political attitude in local elections of voters in Nakhon Ratchasima Municipality, by overall, was at high level (x̅=4.01, S.D.=0.60). When classified by each aspect, it was found that all aspects were at high level in descending order: Political decision-making (x̅̅=4.06, S.D.=0.66).was the highest, followed by election operations (x̅=4.01, S.D.=0.68). and the aspect with the leastaverage was election campaigning (x̅=3.96, S.D.=0.69) 2. Comparison of political attitudes on local elections of voters in Nakhon Ratchasima Municipality, classified by personal factors, it was found that the people with gender, age, education level, occupation, and monthly income had different political attitudes on the local elections of voters in Nakhon Ratchasima Municipality at statistically significant level of 0.01, accepted the set hypothesis. 3. Buddhist political attitudes on local elections of voters in Nakhon Ratchasima Municipality according to the principle of Sappurisa-dhamma 7, namely 1) Dhammanyuta; is the person who knows the causes, analyzes the causes of the situation, goals, relevant rules. Local politicians knew the election criteria very well. 2) Atthanyuta, knowing effects, there was a work plan to analyze the impact of the election, knowing the results that will be produced due to the election, being able to analyze the results of the project implementation, knowing the goals in local administration.3) Attanyuta, knowing self, creating the target for development, being strong self confidence 4) Mattanyuta is a person who knows how to estimate and plan the use of the budget, thinks only about the common good, eliminating bribery 5) Kalanyuta, knowing time, a person who knew the passage of time, allocated time appropriately, and prioritized the work 6) Prisanyuta, knowing communities, a person who knew the community and knew behavior. 7) Pukkalanyauta,knowing individual, a person who knes how to choose people and respect political differences.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ