โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Integration for Principles to Foster Participatory Political Cultureof the People Kaeng Sanam Nang District, Nakhon Ratchasima Province
  • ผู้วิจัยพระมหามรกต ธมฺมปาโล (พิรักษา)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.ไพทูรย์ มาเมือง
  • ที่ปรึกษา 2พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ, ผศ. ดร
  • วันสำเร็จการศึกษา14/07/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51109
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 26

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยเรื่อง “การกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อเปรียบเทียบการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยการประยุกต์ตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 353 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าทีเทส ค่าเอฟเทส และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.08) จำแนกเป็นรายด้านดังต่อไปนี้ คือ ด้านสถาบันครอบครัว (= 4.23) ด้านสถาบันทางการเมือง (= 4.21) ด้านสถาบันการศึกษา (= 4.06) ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อน (= 4.01) และด้านสถาบันศาสนา (= 3.92) ตามลำดับ  2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่า นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนนักเรียนที่มีอายุ และการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ผลการวิเคราะห์การนำเสนอการกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา พบว่า 1) ด้านสถาบันครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรมีการติดตามรับฟังข่าวสารทางการเมืองผ่านแหล่งข้อมูลและทางสื่อประเภทต่าง ๆ มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง 2) ด้านสถาบันการศึกษาตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง และสอดแทรกการอบรมสั่งสอนทางการเมืองการปกครอง 3) ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อนตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรมีความสนใจและติดตามข่าวสารทางการเมือง 4) ด้านสถาบันศาสนาตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรได้รับการปลูกฝังและการสอนให้ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยยึดถือความเป็นกลาง และ 5) ด้านสถาบันทางการเมืองตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรได้รับการถ่ายทอดความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of the research were 1) To study the level of the political refinement of the high school students Bua Yai District, Nakhon Ratchasima Province, 2) To compare the political refinement of the high school students Bua Yai District, Nakhon Ratchasima Province classified according to personal factors and 3) To present the political refinement according to Buddhism of the high school students Bua Yai District, Nakhon Ratchasima Province by applying the principles of Sangahavatthudhamma. The research methodology was the combined method. The qualitative research collected data from 9 key informants by in-depth interviewing and the quantitative research collected data with questionnaires from 353 samples. The tools were questionnaires and interview formats. The data analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypotheses were tested by t-test and F-test and the data were analyzed with descriptive interpretation.

Findings of the research were as follows:

1. The level of the political refinement of the secondary school students Bua Yai District, Nakhon Ratchasima District as a whole was high (= 4.08) when classified by side as follows: family institutions (= 4.23), political institutions (= 4.21), educational institutions (= 4.06), community and peer groups (= 4.01) and religious institutions (= 3.92) respectively.2. The comparative analyses found that the students with different genders had no different opinions on the political refinement of the secondary school students Bua Yai District, Nakhon Ratchasima Province. Whereas the students with different ages and education had different opinions on the political refinement of the secondary school students Bua Yai District, Nakhon Ratchasima Province with statistical significance at the level: 0.05. 3. The analyses of presenting the political refinement according to Buddhism of the secondary school students Bua Yai District, Nakhon Ratchasima Province found that 1) As for family institutions according to Sangahavatthudhamma, the students should follow political news through various sources and media outlets and participate in political activities. 2) As for educational institutions according to Sangahavatthudhamma, the students should join to have political activities and they should be taught about politics and government. 3) As for community and peer groups according to Sangahavatthudhamma, the students should have the interest in and follow political news. 4) As for religious institutions according to Sangahavatthudhamma, the students should be indoctrinated and trained to adhere to righteousness, goodness and neutrality. 5) As for political institutions according to Sangahvatthudhamma, the students should receive the transmission of ideas, beliefs, values and political ideologies.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ