โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    สันตินวัตกรรมการพัฒนาผู้นำพันธุ์ใหม่เพื่อเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPeace Innovation of the New Breed Leader for Organization Engagement Leverage
  • ผู้วิจัยนายสุภกิจ บุญเลี้ยง
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  • ที่ปรึกษา 2พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา15/06/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51224
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 29

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “สันตินวัตกรรมการพัฒนาผู้นำพันธุ์ใหม่เพื่อเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้นำพันธุ์ใหม่ที่เสริมสร้างความผูกพันในองค์กร 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้นำพันธุ์ใหม่ในการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอสันตินวัตกรรมการพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำพันธุ์ใหม่ในการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน แบบแผนเชิงทดลอง โดยใช้เครื่องมือ​วิจัยในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) แบบสอบถามปลายเปิดกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องบุคลากรและผู้บริหารหน่วยงานของธนาคารกรุงไทย จำนวน 43 คน  2) การทำสนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการทดลองอบรมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้นำองค์กรของธนาคารกรุงไทยจำนวน 44 คน  ใช้แบบสอบถามคุณลักษณะผู้นำพันธุ์ใหม่เพื่อเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร ในการประเมินผลก่อนและหลังการทดลองร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสังเกตการณ์ การสะท้อนคิด การทำกิจกรรมกลุ่ม การถอดบทเรียน และการติดตามเรียนรู้งานในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง (on the job training) การวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติวิเคราะห์ค่า t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัยวิธี

ผลการวิจัยพบว่า

1) ความผูกพันในองค์กรลดลงเนื่องจากพนักงานไม่ยอมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงและยึดกับวัฒนธรรมการทำงานแบบเดิม องค์กรจึงต้องการผู้นำพันธุ์ใหม่ที่มีคุณลักษณะที่ส่งเสริมความผูกพันในองค์กร ได้แก่ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เป็นต้นแบบในการนำพาความรักความผูกพันในองค์กร มีทัศนคติเชิงบวกที่จะนำพาทีมบรรลุเป้าหมายส่วนตนและเป้าหมายองค์กร สามารถให้แนวทางทีมงานในการพัฒนาช่วยเหลือกันและกัน สร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีมที่มีเมตตากรุณาต่อกัน สามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทีมงานให้ประสบความสำเร็จและมีความสุข

2) แนวคิดผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นแนวคิดสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะผู้นำพันธุ์ใหม่ในการพัฒนาตนให้เป็นแบบอย่างผู้มีความรักและผูกพันในองค์กร มีอิทธิพลต่อพนักงานเป็นผู้นำเชิงบารมี สร้างแรงบันดาลใจด้วยรู้จักวิธีการสื่อสารที่สร้างพลังบวก สามารถกระตุ้นปัญญาให้พนักงานได้เกิดการเรียนรู้พัฒนาตนเอง คำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีความแตกต่างกัน และมีสมรรถนะดิจิทัลที่สอดรับกับนโยบายขององค์กรในการให้บริการและบริหารงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งนี้สมรรถนะผู้นำพันธุ์ใหม่จะเสริมสร้างความผูกพันในองค์กรได้เมื่อผู้นำมีพรหมวิหาร 4 โดยแสดงถึงความรักและเมตตาต่อทีมงาน คอยให้ความช่วยเหลือแนะนำ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีความก้าวหน้า และวางใจให้เป็นกลาง

3) สันตินวัตกรรมการพัฒนาผู้นำพันธุ์ใหม่เพื่อเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร ด้วยการการอบรมเชิงปฏิบัติการ 1 วัน ร่วมกับวิธีการฝึกอบรมที่ให้ผู้นำได้เรียนรู้งานในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง (On the Job Training) 60 วัน โดยมีเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย Pre-Module เริ่มที่สติก่อนสตาร์ท, Module 1 โลกใบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม, Module 2 ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 4 แบบ Module 3 พรหมวิหาร 4 กับผู้นำต้นแบบ MEKMU, Module 4 พนักงาน 4 แบบกับความผูกพันต่อองค์กร, Module 5 Digital Competency 4 ด้าน และ Module 6 ผู้นำพันธุ์ใหม่ MEKMU สู่การนำไปปฏิบัติ ผลการทดลอง พบว่า ผู้นำที่เข้าร่วมอบรมมีค่าเฉลี่ยสมรรถนะการเป็นผู้นำพันธุ์ใหม่เพื่อเสริมสร้างความผูกพันในองค์กรทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง หลังการทดลองสูงกว่าการทดลอง ค่า t = 3.64 sig = .001 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้นำสามารถนำพาให้ทีมงานทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขและเกิดความผูกพันในองค์กร

องค์ความรู้การวิจัย คือ 3S MEKMU Model ประกอบด้วย Spiritual Leader with the Brahmavihara 4 (MEKMU Leader : Metta-Karuna-Mutita-Ubekkha) ผู้นำพันธุ์ใหม่ที่มีพรหมวิหาร 4 สร้างความผูกพันในองค์กร Strong Leader with Transformational Leadership-ผู้นำพันธุ์ใหม่ต้องเป็นผู้นำที่เข้มแข็งเต็มเปี่ยมด้วยการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง Skilled Leader with Digital Competencyผู้นำพันธุ์ใหม่ต้องมีทักษะด้าน Digital Competency โดยสรุปในความหมายภาษาไทย 3S MEKMU หมายถึง ผู้นำ MEKMU ที่มีความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีสมรรถนะด้านดิจิทัล นำพาการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรให้เกิดความผูกพันได้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The Dissertation Titled “Peace Innovation of the New Breed Leader for Organization Engagement Leverage” Employs a Mixed-Method Research Approach with three objectives: (1) To study the problems and needs in developing New Generation Leaders that enhance organizational commitment. (2) To analyze the concepts, modern theories, and Buddhist Peace Principles that contribute to the development of New Generation Leaders in enhancing organizational commitment. (3) To develop and present Innovative Leadership Development to become New Generation Leaders in enhancing Organizational Commitment. The research uses a mixed-method experimental design with qualitative data collection tools, Including Open-Ended Questionnaires with key informants from two groups, namely The Personnel Responsible for personnel and executives of Krung Thai Bank, totaling 43 people, and group discussions with six experts. For quantitative data collection, an experimental training operation was conducted with a group of organizational leaders from Krung Thai Bank, totaling 44 people. A questionnaire on the characteristics of new generation leaders to enhance organizational commitment was used to evaluate the results before and after the experiment, along with qualitative data from observations, reflections, group activities, lesson extraction, and on-the-job training follow-up learning.

The research found that organizational commitment is decreasing because employees are not willing to adapt to changes and stick to the old work culture. Therefore, the organization needs new generation leaders who have characteristics that enhance organizational commitment, such as being a role model in leading love and commitment in the organization, having a positive attitude that will lead the team to achieve personal and organizational goals, being able to guide the team in development, helping each other, creating a team working atmosphere with compassion for each other, and being able to use technology to enhance the efficiency of teamwork to achieve success and happiness.

The concept of Transformative leaders is an important concept in developing the attributes of new generation leaders in developing themselves to be role models of love and commitment in the organization, having influence on employees as charismatic leaders, creating inspiration by knowing how to communicate that creates positive power, being able to stimulate the intellect for employees to learn and develop themselves, considering the individuality that is different, and having digital competency that is compatible with the organization’s policy in providing services and managing work through online platforms.

These new generation leader competencies will enhance organizational commitment when leaders have the Four Divine Abidings (Metta-Karuna-Mutita-Ubekkha) by showing love and compassion to the team, providing help and advice, promoting and supporting progress, and trusting to be fair. The innovation in developing new generation leaders to enhance organizational commitment by training operations for 1 day, along with training methods that allow leaders to learn work in a real work environment (On the Job Training) for 60 days. The training content includes Pre-Module starting with mindfulness before starting, Module 1 The new world that is not the same, Module 2 Change leaders 4 types Module,  Module 3 Four Divine Abidings with MEKMU role model leaders, Module 4 Employees 4 types with organizational commitment, Module 5 Digital Competency 4 aspects, and Module 6 New generation leaders MEKMU to practice.

The experimental results found that the leaders who participated in the training had an average competency to be new generation leaders to enhance organizational commitment in all 3 aspects, including being a change leader, after the experiment was higher than before the experiment, t value = 3.64 sig = .001 statistically significant at the .05 level. Leaders can lead the team to work together happily and have organizational commitment.

The knowledge of the research is the 3S-MEKMU Model, consisting of Spiritual Leader with the Brahmavihara 4 (MEKMU Leader: Metta-Karuna-Mutita-Ubekkha)-A new breed of leaders who embody the four Brahmaviharas (loving-kindness, compassion, sympathetic joy, and equanimity) to foster organizational engagement. Strong Leader with Transformational Leadership-New breed of leaders must be strong and fully embrace transformational leadership. Skilled Leader with Digital Competency-New breed of leaders must possess skills in four areas of digital competency. In summary, the 3S-MEKMU refers to MEKMU leaders who exhibit transformational leadership, possess digital competencies, and drive organizational change to foster engagement.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ