-
ชื่อเรื่องภาษาไทยสันตินวัตกรรมการพัฒนาการฟื้นคืนพลังในการทำงานสำหรับผู้นำ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPeace Innovation in Developing Resilience at Work for Leaders
- ผู้วิจัยนางสาวฐิตา ภัทรวรวิศิษฏ์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อุทัย สติมั่น
- วันสำเร็จการศึกษา18/08/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51227
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 35
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น ในการฟื้นคืนพลังในการทำงานสำหรับผู้นำ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ฟอร์มส อินดัส-ตรี้ จำกัด 2) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาการฟื้นคืนพลังในการทำงาน และพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาการฟื้นคืนพลังในการทำงาน และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอสันตินวัตกรรมการพัฒนาการฟื้นคืนพลังในการทำงานสำหรับผู้นำ ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสานวิธี แบบแผนเชิงทดลอง แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 กลุ่ม รวม 27 คน การทำสนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับรองเครื่องมือและหลักสูตร จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการทดลองกับกลุ่มผู้นำ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ฟอร์มส อินดัสตรี้ จำกัด จำนวน 12 คน ด้วยเครื่องมือแบบประเมินการฟื้นคืนพลัง 5 ด้าน ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสังเกตการณ์ การสะท้อนการเรียนรู้ และระยะที่ 3 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการเขียนบันทึกรายงานตนเอง การทำกิจกรรมกลุ่ม การถอดบทเรียน การวิเคราะห์และประเมินผลเชิงคุณภาพด้วยอุปนัยวิธี เชิงปริมาณด้วยสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ t-test สรุปผลแบบพรรณนาโวหาร
ผลการวิจัยพบว่า
1) ด้วยบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงเป็นโลกยุค (BANI World) ที่เปราะบาง เต็มไปด้วยความกังวล คาดได้เดายาก และยากที่จะเข้าใจได้ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ความสำเร็จขององค์กรกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่เปราะบาง ส่งผลกระทบต่อสภาพการทำงานของคนในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้นำองค์กรที่เผชิญกับการทำงานที่ท้าทาย เกิดความเครียดสะสม จนอาจจะนำไปสู่อาการหมดไฟในการทำงานได้ ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ พบว่า สภาพปัญหาของผู้นำองค์กร ได้แก่ การบริหารคนจำนวนมาก การดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง การเผชิญการเปลี่ยนแปลงในการทำงานเสมอ และ การเผชิญความเครียดในการทำงาน ผู้นำองค์กรจึงมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการฟื้นคืนพลังในการทำงาน ได้แก่ การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) ทัศนคติเชิงบวก มีทีมงานและคนรอบข้างที่สนับสนุนกัน การสื่อสารเชิงบวก ดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง และมีความยืดหยุ่น ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
2) แนวคิดศาสตร์สมัยใหม่ ได้แก่ แนวคิด ทฤษฎีการฟื้นคืนพลัง (Resilience) การเรียนรู้วัยผู้ใหญ่ (Adult Learning) และภาวะผู้นำ ร่วมกับหลักพุทธสันติวิธี คือ พละ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา สามารถนำมาใช้บูรณาการร่วมกันในการพัฒนาการฟื้นคืนพลังในการทำงานสำหรับผู้นำให้ฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้ แม้เผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก และรักษาสุขภาวะทางร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนส่งเสริมบรรยากาศการทำงานที่มีความสุขร่วมกัน
3) การสร้างสันตินวัตกรรมการพัฒนาการฟื้นคืนพลังในการทำงานสำหรับผู้นำ ด้วยการออกแบบหลักสูตรอบรมที่บูรณาการศาสตร์สมัยใหม่กับหลักพุทธสันติวิธีตรงกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้นำ ได้หลักสูตรอบรม Power Bank Leader ระยะเวลาอบรม 2 วัน และบ่มเพาะการผู้นำแห่งการชาร์จพลัง 21 วัน โดยมีเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย พลังสติ พลังคิด พลังใจ พลังกาย และส่งพลัง ผลการนำหลักสูตรไปใช้ทดลองนำร่องกับกลุ่มตัวอย่าง 12 คน พบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยการฟื้นคืนพลังในการทำงาน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านพลังคิด พลังใจ และพลังกาย ค่า t-test = 4.23 ที่ระดับ .05 สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพโดยผู้เข้าอบรมสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของตนเอง
องค์ความรู้จากงานวิจัย คือ 5 Powers Model ที่ใช้ในการพัฒนาการฟื้นคืนพลังในการทำงานสำหรับผู้นำ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation aims to research the following objectives: 1) To study the context, problem situations and necessary requirements related to Peace Innovation in Developing Resilience at Work for Leaders. 2) To analyze contemporary concept and theories and Buddhist Peaceful Means that support the developing Resilience at Work for Leaders. 3) To develop and present the Peace Innovation in Developing Resilience at Work for Leaders. This research using a Mixed Methods Research Design includes an Exploratory Sequential Design. In Phase 1, Qualitative data collection was conducted through in-depth interviews with 5 groups of Key Informants, totaling 27 people and through focus group discussions with 5 experts to validate the curriculum and tools. In Phase 2, Quantitative methods involve pre and post-experiment assessments using 5 Factors Resilience Evaluation Form and qualitative data is collected through observation and Self-reflection technique. And Phase 3, qualitative data is collected through journaling using qualitative inductive methods and quantitative statistical analysis conducted using t-test to compare mean values.
Research findings reveal:
1) With the context of the world changing into a BANI world that is Brittle, Anxious, Non-linier and Incomprehensible, especially the business sector, the success of organizations facing a brittle social situation. This can lead to accumulated stress and potentially burnout. The impact on physical and mental health is significant. The common problems faced by organizational leaders include: managing a large number of people, conducting business in a highly competitive environment, constantly facing changes in work, and experiencing work-related stress. Therefore, there is a critical need to develop resilience at work for organizational leaders, including: self-awareness, positive attitude, having a supportive team and network, positive communication, maintaining strong physical and mental health, and flexibility in adapting to change.
2) Contemporary theories such as the Resilience Theory, Adult Learning and Leadership combined with the Buddhist Peaceful Means of the Five Powers (Faith, Effort, Mindfulness, Concentration, and Wisdom), can be integrated to develop resilience at work for leaders. This integration helps leaders to bounce back to normal conditions even in difficult situations and maintain physical and mental well-being while promoting a happy work environment.
3) Developing Peace Innovation in Developing Resilience at Work for Leaders involves designing training curriculum that integrate contemporary theories with Buddhist Peaceful Means to meet the necessary requirements of leaders. The “Power Bank Leader” training curriculum lasts 2 days, followed by a 21-day cultivating period for Power Bank Leaders. The training content includes: Mindful Power, Thinking Power, Emotional Power, Physical Power, and Power Transmission. A pilot trial with a sample group of 12 people showed that the average score for resilience at work after the trial was significantly higher than before the trial in terms of Thinking Power, Emotional Power, and Physical Power, with a t-test value of 4.23 at the .05 level. This is consistent with qualitative research results where participants reflected on their personal changes.
The Body of knowledge from this research is the “5 Powers Model” in developing Resilience at Work for Leaders.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|