โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    วิเคราะห์การบูรณาการอิทธิบาท ๔ กับการปฏิบัติธรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Intergration of Iddhipãda IV with Dhamma Practice according to Buddhism
  • ผู้วิจัยพระครูอดุลธรรมสาร โอภาโส
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล
  • ที่ปรึกษา 2พระครูพิพิธจารุธรรม, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51239
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 133

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษา คือ (1) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา และ (๓) วิเคราะห์การบูรณาการอิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสาร ตำรา วารสาร รายงานวิจัยรวมถือสื่อออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

อิทธิบาท 4 คือแนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน เป็นกองแห่งจิตและเจตสิก เป็นที่ตั้งมั่นแห่งฉันทสมาธิและปธานสังขารทั้งหลาย เป็นเหตุเจริญงอกงาม เป็นเครื่องดำเนินแห่งความสำเร็จ ในการปฏิบัติธรรมสมาธิที่เกิดจากอิทธิบาทนั้น ไม่ลดละ ความเพียร อันเป็นเหตุให้จิตใจจมลงไปในฝ่ายอกุศล ไม่ต้องประคับประคองเกินไป คือไม่ฟุ้งซ่านไปตามเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งไปในอดีต ไม่ไปคิดถึงความสุขจากกามคุณทั้ง 5 หลักความสำเร็จในการปฏิบัติตธรรม คือ (1) ฉันทะ ความพึงพอใจต่อสิ่งนั้น ใจรักจะทำสิ่งนั้นและทำด้วยใจต้องการทำเพื่อผลสำเร็จอย่างแห่งกิจที่ทำ (2) วิริยะ คือความเพียร ใจสู้ ขยัน หมั่นประกอบหมั่นกระทำสิ่งนั้นด้วยความพยายามเข้มแข็งอดทน (3) จิตตะ รู้จักใส่ใจงาน คือความคิด อุทิศตัวต่องาน จริงจัง เอาจิตฝักใฝ่ตั้งจิต รับรู้ในสิ่งที่ทำและทำกิจหรืองานนั้นอย่างอุทิศตัวอุทิศใจ (4) วิมังสา รู้วิธีทำงานด้วยปัญญา คือต้องไตร่ตรอง พิสูจน์ ทดสอบ ตรวจตรา ปรับปรุงแก้ไข ใช้ปัญญาสอบสวน หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และคิดค้นหาวิธีแก้ไขปรับปรุง เพื่อจัดการและดำเนินงานนั้น ๆ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้นไป

การปฏิบัติธรรม คือการบริหารกาย บริหารจิต ปรับสภาพสมดุลแห่งชีวิตโดยใช้หลักปฏิบัติตามสติปัฏฐานสูตร 4 ประการ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ว่าตามหลักการใช้ชีวิตประจำวัน คือการเจริญสติตลอดเวลาในการเดิน การยืน การนอน การกิน การพูด โดยหลัก ๆ แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ การปฏิบัติธรรมเพื่อความดีงามในวิถีชีวิตแบบไม่มีรูปแบบเป็นทางการ และการปฏิบัติธรรมอย่างมีรูปแบบเป็นทางการโดยการเจริญสมาธิหรือเจริญปัญญา ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เรียกว่า การเจริญจิตตภาวนาหรือปัญญาภาวนา

การบูรณาการอิทธิบาท 4 คือการผสมผสานการสมาธิเป็นกระบวนการที่สำคัญในการเจริญพัฒนาทางจิตใจและสร้างคุณค่าในชีวิตประจำวัน ช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจถึงการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติอย่างที่เหมาะสมกับธรรมชาติของการเป็นมนุษย์ที่มุ่งหวังให้จิตใจสงบและบริสุทธิ์ขึ้นตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา คือ (1) การบูรณาการฉันทะะกับการปฏิบัติธรรม คือการปักใจ ต้องเป็นการปักใจรักในการปฏิบัติธรรมนี้จริง ๆ ดังนั้น เราจึงควรหมั่นทําให้ฉันทะของเราเกิดขึ้นบ่อย ๆ ให้น้อมไปในการปฏิบัติธรรมให้มาก เมื่อเริ่มต้นด้วยฉันทะอันดีงามแล้ว นั่นย่อมแสดงถึงความสําเร็จที่จะมาถึง เหมือนอาทิตย์อุทัย เป็นที่มาของแสงสว่างฉันนั้น (2) การบูรณาการวิริยะกับการปฏิบัติธรรม คือ ความบากบั่น ต้องเป็นความบากบั่นพากเพียรอย่างเอาจริงเอาจัง ขยันนั่งขยันทําใจ มีความเพียรทําอย่างสม่ำเสมอ เป็นความบากบั่นที่เพิ่มขึ้นในการทํา ไม่ยอมแพ้ต่อความเกียจคร้าน (3) การบูรณาการจิตตะกับการปฏิบัติธรรม คือ วิจารณ์ คือตรวจดูการปฏิบัติธรรมให้ถูกต้อง ตามแนวปฏิบัติ ซึ่งคนที่มีจิตตะอย่างสมบูรณ์ไม่ว่าจะกระทํากิจอันใด ก็จะพัฒนาแนวทางการทํากิจกรรมนั้น ๆ อย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะสําเร็จ (4) การบูรณาการวิมังสากับการปฏิบัติธรรม คือ การทดลอง ได้แก่หมั่นใคร่ครวญสอดส่องดูว่าวิธีการที่ทําไปนั้น มีอะไรขาดตกบกพร่องบ้าง รีบแก้ไขตรวจตราปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ มีโมเดลแห่งองค์ความรู้ว่า “ปักใจ วิจารณ์ บากบั้น ทดลอง”

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The entitled thesis is consisted of following objectives;-0 (1) to study of Iddhipãda IV in the Buddhist scriptures, (2) to study of Dhamma practice and (3) analytical integration of Iddhipãda IV and Dhamma practice according Buddhism. It is studied the primary source from Tipiṭaka and the secondary source from a text, journal, research report including medias. This is documentary research. Its analysis of data is descriptive.

The results of the research are as follows:

The word of Iddhipãda IV is the practicing way into success for working. It is a pile of thought. It is the stronghold of will-meditation and exertion. All things are the cause of prosperity, the execution of success for the Dhamma practice caused Iddhipãda without decreation. Perseverance causes the mind to sink into unwholesome. Don't be too supportive, don't get distracted by stories, don't let your mind get distracted by the past. Do not think about erotic pleasures. The 5 cores of success are (1) Chanda, love to do it, to do it with a passionate heart, to want to accomplish the good result of the work or work done, (2) Viriya, Preverance, fighting heart, diligence, diligently doing it with strong effort and patience (3) Citta, how to know for paying attention to work. that is the thought, dedication to work, seriousness (4) Vimaṁsã, to know how to work with wisdom that is to ponder, prove, test, monitor, improve. To use intelligence to investigate, to use wisdom to consider, meditate, investigate, find reasons and think of solutions to improve in order to manage and carry out such tasks to be more effective.

Dharma-practice is physical, mental administration, adjustment of balance for life according to foundations of mindfulness in 4 kinds; i.e. (1) the contemplation of the body, (2) the contemplation of feelings, (3) the contemplation of mind and (4) contemplation of mind-objects. Daily, it is called ‘to culture mindfulness all the time in walking, standing, sleeping, eating, speeking. Mainly, it is divided 2 ways; i.e. (1) formal, informal practice. This is any development called mental or intellectual development.

The Integrating of Iddhipãda IV to Dhamma practice is mixing of meditation. It is the main process in mental development and building value in daily life. It helps Dhamma practitioners understand how to live and act properly. It is the nature of human being with the aim of having a calmer and purerity according to Dhamma of Buddhism, i.e. (1) the Integrating of Chanda with Dhamma practice is the determination of the mind for Dhamma practicing only. Theforefore, we should make our mantha happen often and commit to practicing Dhamma a lot. When you begin with good intentions, that will indicate success to come like the rising sun making light, (2) the Integrating of perseverance with Dhamma practice is perseverance. It must be earnest perseverance. The diligenty for standing, for aspiration continuously and do your work by heart. To be diligent and do it regularly. It is an increased effort to do. Do not give up because of laziness, (3) the Integrating of mind with Dhamma practice is to criticize, to examine the Dhamma practice for correctness. To follow the teacher's teachings as best as possible. In which people who have complete citta no matter what activities they do (4) the Integrating of Vimaṁsã with Dhamma practice means experimenting, which means diligently contemplating and monitoring to see the methods used. If it is anything in lacking. Hurry to fix and check into improved methods. Its model of knowedge factor is “Determination, Criticism, Effort, Metitation Treatment”.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ