-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาแนวคิดของพระนาคเสนกับสภาพสังคม (ที่ปรากฏ) ในคัมภีร์มิลินทปัญหา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Concept of Phra Nagasen and Social Condition (as shown) in the Milindapanhna Scripture
- ผู้วิจัยพระอธิการฉัตรชัย อุตฺตโร (มากสลุง)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสิริรัตนานุวัตร, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.เจริญ มณีจักร์
- วันสำเร็จการศึกษา06/08/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51242
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 132
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษา คือ (1) เพื่อศึกษาประวัติพระนาคเสนและพัฒนาการของคัมภีร์มิลินทปัญหา (2) เพื่อศึกษาสภาพสังคมที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา (3) เพื่อวิเคราะห์สภาพสังคมและการประยุกต์ใช้แนวคิดทางพระพุทธศาสนาของพระนาคเสน ใช้รูปแบบการวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
พระนาคเสน เป็นนักปราชญ์ภิกษุนิกายสรวาสติวาท เกิดบริเวณกัศมีร์ในปัจจุบัน แห่งบ้านเชิงเขาหิมาลัย มีชีวิตอยู่ราวพุทธศักราช 500 บิดานามว่า โสณุตตระ มีอุปนิสัยใฝ่รู้ เรียนจบไตรเพทแต่อายุยังน้อย ได้แรงดลใจเสื่อมใสในของปฎิปทาพระโรหณเถระและเรียนศิลปะขั้นสูงสุดกับท่าน พระนาคเสนเบื่อหน่วยต่อการเรียนพระเวทและศิลปะที่หาแก่นสารมิได้ จึงออกบวชเป็นสามเณรกับโรหณเถระในฐานะอุปัชฌาย์ สามเณรนาคเสนมีปัญญาดีสามารถศึกษาปรมัตถธรรมอภิธรรม 7 คัมภีร์และจำได้หมดแม้ได้ฟังการสาธยายเพียงครั้งเดียว เมื่ออายุ 20 ปีท่านก็ได้อุปสมบทกับพระอุปัชฌาย์โรหณเถระ พระนาคเสนสามารถทำให้พระยามิลินท์กษัตริย์แห่งเมืองสาคละหันมาเลื่อมใสพระโรหณเถระได้สำเร็จ จากนั้นท่านไปอยู่สำนักธรรมรักขิตเถระและได้เลื่อมใสในคำอุปมาธรรมของเจ้าสำนัก ท่านตั้งใจเจริญวิปัสสนาเป็นพระอรหันต์มีปฏิสัมภิทารับมอบหมายจากพระธรรมรักขิตเถระให้เป็นตัวแทนพระสงฆ์รับโต้ปัญหาธรรมกับพระยามิลินท์ผู้สำคัญตนว่ารู้ศาสนาและปรัชญากว่าใครอย่างมิจฉาทิฏฐิ ในที่สุดพระยามิลินท์เข้าใจและสละความเห็นผิด หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนา มีการบันทึกไว้อย่างสำคัญ เกิดมีคัมภีร์มิลินทปัญหาขึ้น เป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกในทางพระพุทธศาสนา เป็นบทบันทึกการสนทนาระหว่างท่านกับพระเจ้ามิลินท์กษัตริย์เชื้อสายอินโด-กรีกที่ปกครองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย คัมภีร์มิลินทปัญหาเป็นผลงานสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีความซาบซึ้งจากทรรศนะนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาที่ชี้ชัดว่า คัมภีร์มิลินทปัญหามีมาก่อนอภินวอรรถกถา นอกจากนี้ในคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกยังได้นําแนวคิดในคัมภีร์มิลินทปัญหานี้มาอธิบายความอีกด้วย
คัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นชื่อคัมภีร์ที่วงวิชาการระดับสูงศึกษาและนำมาอ้างอิงในสาระสำคัญระดับโลกในฐานะลักษณะบันทึกบทสนทนา (Milinda Panha Dialoque) คัมภีร์มิลินทปัญหานั้น มีพัฒนาการทั้งเนื้อหาและโครงสร้าง มีจัดวรรคตอน ฉบับภาษาบาลีกัณฑ์ที่ 1-7 ชื่อ พาหิรกถา ลักขณปัญหา วิมุตติเขทานปัญหา เมณฑกปัญหา อนุมานปัญหา ธุตังคปัญหา โอปัมมปัญหา กัณฑ์เหล่านี้ มีโครงสร้างเนื้อหาแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ (1) ปุพพโยค ว่าด้วยบุพพกรรมและประวัติของพระนาคเสนและพระเจ้ามิลินท์ (2) มิลินทปัญหาว่าด้วยปัญหาเงื่อนเดียว (3) เมณฑกปัญหา ว่าด้วยปัญหาสองเงื่อน (4) อนุมานปัญหา ว่าด้วยเรื่องที่รู้โดยอนุมาน (5) ลักขณปัญหา ว่าด้วยลักษณะแห่งธรรมต่าง ๆ (6) อุปมากถาปัญหา ว่าด้วยเรื่องที่จะพึงทราบด้วยอุปมา
สภาพสังคมในคัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นธรรมิกสังคม ใฝ่ใจใคร่ศึกษาในศาสนา ในประเด็นวิญญาณในภพนี้และภพหน้า มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยทุกวัย แนวทางประยุกต์ใช้โดยศึกษาประวัติศาสตร์ ศึกษาศาสนา ศึกษาปฏิปทาต่อศาสนาของท่านทั้ง 2 ตามคัมภีร์มิลินท์นำมาปลุกจิตสำนึกของอนุชนทุกวัย ทำนองเดียวกับชาวพุทธมีพุทธานุสสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสสติ ศึกษาเรียนรู้พระคุณของพุทธเจ้ามีพระกรุณาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณต่อชาวโลก เผยแผ่คำสอน ติดอาวุธทางปัญญานำพาปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ด้วยวิธีสร้างเครื่องมือเผยแผ่ดังนี้ (1) สร้างเป็นคู่มือ สำหรับนักเรียน ครูสอน (2) สร้างเป็นหนังสือพ็อกเกตบุ๊ก เพื่ออ่านเพลิดเพลิน สนุกสนาน (3) สร้างเป็นภาพนิ่ง และสื่อ เพื่อเผยแพร่ออนไลน์ มีโมเดลแห่งองค์ความรู้ว่า “ศรัทธา ศาสนา ปฏิปทา ปรากฏการณ์ประวัติศาสตร์ เข้าใจวิธีและการวิจัยทางพุทธศาสนา เข้าใจสภาพสังคม การประยุกต์ใช้ประวัติศาสตร์”
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The entitled thesis is consisted of following objectives;- (1) to study the history of Phra Nagasena and the updating of the Milinda Panha scripture, (2) to study the social conditions appearing in the Milinda Panha scriptures and (3) to analyze social conditions and application. It is the document research. The analysis is descriptivee.
The results of the research are as follows:-
Phra Nagasena was born in Kashmir, at the foot village of Himalaya, the northernmost point of India in the Buddhist Era 500. His father is named Sonuttar. In the youngest boy, he attends to know all things and achieves Triveda. He aspires to respect the behavior of Rohanathera and learns the highest arts from him. Phra Nagasena bores to unprofitable Veda and Arts and then he becomes Samanera to Rohanathera as a precetor. Samanera Nagasena is excellence in wisdom until learns the highest Dhamma as Aphidhamma of 7 scriptures and memorizes all from hearing them soon. After twenty years, He as Samanera becomes Bhikkhu under Rohanathera as the prector. Phra Nagasen is able to make the king Milinda in Sagala town pays respect to Rohanathera. After that, Phra Nagasen goes to study Dhamma in Phra Dhammarakkhita school and resptects Dhamma comparison. Phra Nagasen pays attention to Vipassanã becoming Arahant wirg discriminating knowledge. He agrees commitment from Phra Dhammarakkhita as Sangha represent to debate Dhamma issues with the king Milinda who is vain him as well knower about religion and philosophy more than any one being wrong view. Finally, the king Milinda understands and abandones the wrong view becoming acceptance of Buudhism. The Milinda is the Dialoque recorded between the King Milinda as Indo-Kreek nation coverning the northwest region of India and Phra Nagasen. This scripture is called Milindapanha as the excellent scripture of Buddhism, because of being older than Abhinava-atthakatha and some part of Tepiṭaka commentation also explained by the concept of Milindapanha.
The Milindapanha the most popular in the world refered in the high academic. The Milindapanha’s structure and each version are different. There are references to the contents classified in the 1st-7th editions of the Pali language, its names are;- Bahirakatha, Lakhanapanha, Vimuttikhedanapanha, Mentakapanha, Anumanapanha, Dhutangapanaha, Opammapanha. its structure is classified in 6 parts, namely;- (1) Puppyoga, which deals with the ancestors and history of Phra Nagasena and King Milinda, (2) Milindapanhã, which deals with sigle condition, (3) Mendakapanhã, which deals with two conditions, (4) Anumanapanhã, which deals with inference known, (5) Lakkhanapanhã, which deals with the nature of various dhama, (6) Uppamakathapanhã, which deals with matters to be known by parables.
The social condition in the Milindapanha scripture totally is Dhamma society. It is a leader of relious education concerning consciouseness in this world and the nexk
being influence to the way of life of Thai people for many generations. Its way of application done by learning history, religions behavior from the two ones appearing in Minlindapanha into conscious mind. In the same points of Buddha memorance, Dhamma memorance and Sangha memorance. The Buddhist people study the qualities of Buddha and receive the Buddha’s compassion, purification and wisdom for whe world. The Buddha gives teaching and intellectual tool into practice for freedom of suffering through communicated tool like this as follows;- (1) To created handbook for student, teacher, (2) to create pocket book for reading in enjoyment, cheerfulness. (3) to create photo or media for communication in form of lonline. Its model of knowledge factor is “Faith Buddhism Good Conduct, Historical Appearace, Understand of Research Method of Buddhism, Understanding of Society, Historical Application”.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|