โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของโยนิโสมนสิการกับโลกธรรม ๘ ในพระพุทธศาสนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of Relation for Yonisomanasikãra with Lokadhamma 8 in Buddhism
  • ผู้วิจัยพระประเสริฐ ปิยสีโล (รอดดียิ่ง)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.เจริญ มณีจักร์
  • ที่ปรึกษา 2พระครูพิพิธจารุธรรม, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51243
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 114

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษา คือ (1)เพื่อศึกษาโยนิโสมนสิการ ในพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาโลกธรรม-8 ในพระพุทธศาสนา (1) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์โยนิโสมนสิการกับโลกธรรม-8 ใช้รูปแบบวิจัยเชิงเอการ จากแหล่งข้อมูลชั้นปฐมภูมิได้แก่พระไตรปิฎก ชั้นทุติยภูมิได้แก่ อรรถกถาหนังสือ ตำรา รายงานวิจัย วารสารรวมสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้อง มีขอบเขตศึกษาเนื้อหาโยนิโสมนสิการกับโลกธรรม-8 พร้อมแสดงความสัมพันธ์ทั้งสองประเด็น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

     โยนิโสมนสิการ คือกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยหรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา ความรู้จักคิด คิดถูกวิธี เป็นแหล่งความรู้ภายในตรงกันข้ามแหล่งความรู้ภายนอก (ปรโตโฆสะ) มาในโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น

บุพนิมิต ฉันใด โยนิโสมนสิการสัมปทาก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 ฉันนั้น” โดยเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ส่วนโลกธรรม-8 คือธรรมที่มีประจำโลก ธรรมดาของโลก ธรรมที่ครอบงำสัตวโลกและสัตวโลกก็เป็นไปตามมัน มี 8 อย่างคือ มีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ ธรรม 8 ประการที่ควรกำหนดรู้

     ความสัมพันธ์กันของธรรมทั้งสองประการนี้ โดยโยนิโสมนสิการจะมองโลกธรรมแต่ละข้อว่า เมื่อมีลาภก็มองภายในแยบคายว่า สิ่งนั้นเกิดให้เราได้อาศัย ได้ใช้ได้กินโดยไม่หลงว่ามีเสื่อมลาภได้ มียศก็มองภายในที่แยบคายว่ามียศด้วยความขยัน ทำดี ทำถูกต้อง ถ้าหากรักษาไม่ดีก็เสื่อมได้ มีนินทาก็ให้เข้าใจว่าเป็นธรรมดาของโลกที่คนมีจริตต่างกัน ถ้าตรงกันก็จะสรรเสริญ ยกย่อง เมื่อมีสุข ก็ให้เข้าใจว่าเรามีคุณสมบัติมีความพร้อมที่จะทำดี คล่องตัว มีสุขภาวะบริหารจัดการงาน หากเราประประมาทแล้วความทุกข์เข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตาม เราไม่ว่าจะประสบโลกธรรม-8 ทั้งบวกทั้งลบก็ให้เรามีสติกำหนดรู้ด้วยความเข้าใจสามัญลักษณ์หรือกฎไตรลักษณ์ที่ประกอบด้วยอนิจจัง ทุกข์ อนัตตา กำหนดเป็นโมเดลแห่งองค์ความรู้ว่า “มองโลกอย่างมีโยนิโส ตื่นรู้เบิกบานด้วยโลกธรรม ชี้นำสังคมด้วยปัญญา”

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The entitled thesis is consisted of following objectives;-(1) for the study of critical reflection (Yonisomanasikãra) in Buddhism, (2) for study of wordly conditions-8 Lokadhamma-8) in Buddhism and (3) for the analysis of relation between Yonisomanasikãra and Lokadhamma-8. It is documentary research studied from two resources, i.e. the primary resource means Tepitaka and the secondary resource means commentary, book, text, research report, journal including some online. Its scope is Yonisomanasikãra and Lokadhamma-8 with relation between the both and it is descriptive analysis.

The results of the research are as follows:-

Yonisomanasikãra is critical reflection in mind. It is careful thinking. It is reflection leading truth from cause to result until the cuase of that issue. It is viewed to divide elements until the sight of condition and the relation of cause and factor or the reflection of good or bad creating rightly good thing being free from ignorance and craving, thought, right thought as it is inter resource of knowledge opposite out resource (Paratoghosa) coming from Yonisomanasikãrasampadanasutta said by the Buddha to many Bhikkhus that “Bhikkus, it is like the sunshine arises, it lights before, likewise, Yonisomanasikãrasampada is leader, frondline for arising of noble path, i.e. the Eigthfold Path. This is cultured by Right View from peace, nonlust, end and it inclines to relax. and then Lokadhamma-8 means the worldly Dhamma, the nature of world, it covers all beings and the all beings follows this. It is the eight words, i.e. gain, loss, dignity, obscurity, blame, praise, happiness, pain. These should be known.

The reLation of the two, Yonisomanasikãra views Lokadhamma every words that the time of having gain, we have to critical reflection for any thing arising, we dependen on it without illusion in gain because it losses. The time of having dignity, twe have to view gain from my industrial, good action, right action. If we abandon good action. It negates. The time of blame, we have to understand it as the nature of world as any one is differen behavior. If it same, they praise us. The time of happiness, we have to understand, we have quality to do good, to be clear, to be helath to manage good. If we are carefull. The suffering comes soon instead. However, we may suffer both Lokadhamma-8 both positive and negative. We should have mindfulness to know the nature of characteristics or Trilaksana, i.e. Anicca, Dukkha, Anatta. It is designed as model “critical world view, Awake up in Lokadhamma, guideline society with wisdom”.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ