โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    วิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดการพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักจริต ๖ ของนิสิตวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Components and Indicators in Personal Development acoording to Carita-6 for the Student of Buddhachinaraj Buddhist College
  • ผู้วิจัยพระพิทักษ์ จิตฺตทนฺโต (ปูแตน)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสิริรัตนานุวัตร, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.เจริญ มณีจักร์
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51244
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 97

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษา คือ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักจริต 6 (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้และบุคลิกภาพของนิสิต วิทยาลัยสงฆพุทธชินราช (3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชีวัดการพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักจริต 6 ของนิสิตวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาข้อมูลชั้นปฐมภูมิ จากพระไตรปิฎก ชั้นทุติยภูมิ หนังสือ เอกสาร และรายงานวิจัย เก็บข้อมูลจากการศึกษาโดยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อและการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 ราย  วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา (Description) พบว่า

การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักจริต 6 ในพระพุทธศาสนานั้น นิสิตวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราชจะศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยภาคทฤษฎีจะศึกษาในพระไตรปิฎกทั้งส่วนที่เป็นพระวินัยสงฆ์ทั้งธรรมครบ 3 ปิฎก เพื่อศึกษาอุปนิสัยของมนุษย์ตามจริตและศึกษาแนวทางปรับสมดุล กล่าวคือ ราคจริต ปรับด้วยอสุภารมณ์ โทสจริต ปรับด้วยเมตตารามณ์ โมหจริต ปรับด้วยปัญญา การศึกษาเรียนรู้ ศรัทธาจริต ปรับด้วยอนุสติ พุทธิจริต ปรับด้วยความตายและวิตกจริตปรับด้วยกสิน เพื่อนำแนวบุคลิกภาพเข้าสู่สายกลางหรือตามแนวมรรคมีองค์ 8 ในส่วนภาคปฏิบัตินั้น หลังจากนิสิตศึกษา 8 ภาคแล้วก็จะปฏิบัติตลอด 4 ปี ๆ ละ 10 วัน ซึ่งใช้ทฤษฎีสติปัฏฐาน 4 คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณากายในกายด้วยอารมณ์ 40 อย่างเป็นอารมณ์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานพิจารณาเวทยาในเวทนาใช้เวทนา 3 เป็นอารมณ์ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณาจิตในจิตว่าจิตมีผ่องแผ้วหรือเศร้าหมองและธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมใช้ไตรลักษณ์ ขันธ์ 5 เป็นอารมณ์

พฤติกรรมการเรียนรู้และบุคลิกภาคของนิสิตฯ นิสิตฯ มีจริตทั้ง 6 ต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง โดยหลัก ๆ แล้วนิสิตมีบุคลิกภาพทางกายที่ดี แต่งกาย ให้ถูกระเบียบของวิทยาลัย โดยพระนิสิตห่มดอง รัดอก นุ่งสบางครึ่งหน้าแข้ง ปลงผม โกนหนวดตามพระวินัย ส่วนนิสิตฆราวาส แต่งกายตามระเบียบ กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ผูกเนคไท ติดแข็ม หรือ เสื้อยืดแขนสั้น สีชมภู ซึ่งเป็นสีประจำวันอังคาร เป็นพระราชสมภพของผู้สถาปนามหาวิทยาลัยสงฆ์ นิสิตมีบุคลิกภาพทางใจ โดยมีทัศนคติที่ไฝ่รู้ ไฝ่คิด มีโลกทัศน์ที่ดีต่อนวลักษณ์ของสถาบันการศึกษา เคารพในพระรัตนตรัย

การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชีวัดการพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักจริต 6 ของนิสิตฯ มีองค์ประกอบตามแนวจริต ๖ โดยปรับสมดุลราคจริตด้วยอสุภะ โทสจริตด้วยเมตตา โมหจริตด้วยปัญญา ศรัทธาจริตด้วยอนุสติ 6 วิตกจริตด้วยอาณาปานสติ และปรับพุทธจริตด้วยมรณานุสติ นิสิตได้รับการชี้วัดด้วยนวลักษณ์ 9 ประการ ตามคำว่า MAHACHULA โดยคำว่า M – Morality  มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส A – Awareness  รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม H – Helpfulness   มีศรัทธา อุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา A – Ability  มีความสามารถในการแก้ปัญหา C – Curiosity มีความใฝ่รู่ใฝ่คิด H – Hospitality  มีน้ำใจเสียสละเพื่อส่วนรวม U – Universality  มีโลกทัศน์กว้างไกล L – Leadership มีความเป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา A – Aspiration  มีความมุ่งมั่นพัฒนาตนให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรม กำหนดเป็นโมเดลองค์ความรู้ว่า “ศึกษาจริต ๖, ปรับสมดุลจริต, พัฒนาความรู้, สู่จริยธรรมอันงามตามนวลักษณ์”

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The entitled thesis is consisted of following objectives;- (1) for the study of Personality, (2) for study of  learning behavior and personality of students in Buddhachinarja Sangha college and  (3) for the analysis of components and indicators in personal development according to Carita-6. It is the qualitative research. It is studied by the primary source as Tipiṭaka. The secondary source as books, research reports, journals including media variety. The data rare eviewed and keept from interview of informants tatal 25 and analysed by description.

The results of the research are as follows:-

The personal development through the six characters in Buddhism. In which, the students of this college study both theory and treatment. The theory will studied in Tipiṭaka. Concerning man’s character from Carita-6 and the way of equality, namely- Rãgacarita is adapted by dirty. Dosacarita is adapted by kindness. Mohacarita is adapted by wisdom, learning, the meeting of scholars. Saddhacarita is adapted by Memoriance. Buddhicarita is adapted by death and Vitakacata is adapted by any visualized image. The treatment of Carita, after study in classroom for 7 sections, they treat Dhamma for 4 years total 40 days. Its theory is Satipatthana-4, i.e. Kayanupassana, Vedana, Citta and Dhammanupassana. The Kaya is used to contemplate through 40 objects, Vedana is used to contemplate 3 feelings, Citta is used to contemplate through purification or impurification and Dhamma is used to contemplate Ariyasacca, Trilakkhana, Khanda-5 etc.

The students’ learning and personality, they take Carita-6, someone is less or someone is more. Mainly, the students regard good physical character, nice uniform, nince order of this college. In which, a monk student wear uniform as the monks i.e. the covering the metropolitan, shaved hair, beard following the disciple and the lay students garb in the uniform of student, i.e. a trouser, a shirt, necktide or t-shirt with pink coulor as the birthday of the king Rama -5 in Ratanakosin who builds Mahachula. The mental character of student is good vision, curiosity forward the nine identities and respect the Triple Gem.  

The analysis of components and indicators for personal character through Carita-6 of the student, the Carit-6 is used as the components being adapted toward balance, i.e. Ragacarita is adapted by dirty, Dosacarita adapted by kindness, Mohacarita adapted by wisdom, Saddacarita adapted by the memorial in Triple Gem, Vitakacarita adapted by breath in-out and Buddhicarita is adapted by death. The indicator is the nine identities in the words of  MAHACHULA, i.e.  M – Morality,   A – Awareness,   H – Helpfulness,  A – Ability, C – Curiosity, H – Hospitality, U – Universality, L – Leadership and A – Aspiration. Its model of knowledge factor is;- Carita-6 Study, the Balance of Carita, Knowledge Culture, Leading to Nice Morals in Navalaksana.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ